หน้าแรก บทความสาระ
กรณีศึกษา - case study คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๑๕/๒๕๕๓ (กรณียุบพรรคประชาธิปัตย์) ตอนที่ 5 (หน้าที่ 3)
ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
5 มิถุนายน 2554 19:37 น.
 
◊◊  คำวินิจฉัย -ส่วนตน ของท่านชัช ชลวร (ประธานศาลรัฐธรรมนูญ)
       คำวินิจฉัย -ส่วนตน ของท่านชัช ชลวร (ประธานศาลรัฐธรรมนูญ) มีความยาวทั้งหมด ๒๓ หน้า  เป็นส่วนของ  ๓ ประเด็นหลัง (ประเด็นวินิจฉัยที่ ๓  ที่ ๔ และ ที่ ๕)  รวม ๑๕ หน้า (ตั้งแต่ หน้า ๘ - ๒๓) ; คำวินิจฉัย - ส่วนตน ของท่านชัช ชลวร (ประธานศาลรัฐธรรมนูญ)  เป็นคำวินิจฉัย  ที่วงการกฎหมายควรจะต้องอ่าน  ด้วยเหตุผลหลาย ๆ เหตุผล  ซึ่งผู้เขียนจะยังไม่ขอพูดในที่นี้  เพราะท่านผู้อ่านควรอ่านและ  “สัมผัส” ด้วยตัวของท่านเองก่อน
        
        ■■    ประเด็นวินิจฉัยที่ ๓  (ผู้ถูกร้องใช้จ่ายเงินที่ได้รับการอุดหนุนจากกองทุน ฯ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘  เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือไม่)  (หน้า ๘ - ๑๕  ยาว ๗ หน้าครึ่ง)
        
             ท่านชัช ชลวร เริ่มต้นด้วยการสรุป ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นวินิจฉัย ที่ ๓  ว่า(หน้า ๘ - ๙)  ในบรรดาโครงการต่าง ๆ ๒๑ โครงการ   พรรคผู้ถูกร้องขอรับการสนับสนุน จาก “กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง”  เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ”โครงการทำป้าย”  ๒ โครงการ คือ  (๑) โครงการทำป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ริมทางหลวง “บิลล์บอร์ด” วงเงิน ๑๐ ล้านบาท  ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๘ ถึงวันประกาศผลเลือกตั้ง   และ (๒) โครงการจัดทำป้ายแผ่นป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ “ฟิวเจอร์บอร์ด”  วงเงิน ๑๙ ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๘ ถึงวันประกาศผลเลือกตั้ง
                   ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘ พรรคผู้ถูกร้องขอปรับปรุงโครงการและแผนงานฯ  โดยโครงการ “บิลล์บอร์ด” เหลือ ๒ ล้านบาท และ โครงการ “ฟิวเจอร์บอร์ด” รวมเป็นเงิน ๒๗ ล้านบาท ;  คณะกรรมการกองทุนฯ ให้ความเห็นชอบ และแจ้งให้ผู้ถูกร้องทราบเป็นหนังสือ วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๘
                   ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๙  (หนังสือฯ  ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๙)  ผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์) ส่ง “เอกสารประกอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี ๒๕๔๘”  และ “รายงานการใช้จ่ายเงินกองทุน ฯ”  ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง   และ(ต่อมาอีก ๓ เดือน) วันที่  ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙  พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีหนังสือส่ง “งบการเงิน” พร้อมเอกสารค่าใช้จ่าย  ให้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบ ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายโครงการจัดทำป้ายทั้งสอง ;  สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง  ว่าจ้าง “บริษัทสำนักงานสอบบัญชีทรัพย์อนันต์ จำกัด”  เป็นผู้ตรวจสอบรายงานการเงิน ของพรรคผู้ถูกร้อง
         ๙)
            □  ท่านชัช ชลวร ตั้งประเด็นว่า  ปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำร้องประการแรก ที่ว่า (หน้  ผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์) ใช้จ่ายเงินที่ได้รับสนับสนุน ฯ  อย่างไร ;  โดยท่านชัช แยกอธิบายเป็น ๒  กรณี  คือ กรณีแรก  กรณีบริษัท เกิดเมฆ - นางวาศินี  และ กรณีที่สอง กรณีบริษัทเมซไซอะ  - นายคณาปติ (หรือ นายประจวบ) 
        
         ●●  กรณีบริษัท เกิดเมฆ - นางวาศินี  (ประเด็น  ในกรณี “ใบสำคัญจ่ายค่าจัดทำป้าย”  ซึ่งพรรคผู้ถูกร้องพรรคประชาธิปัตย์) จ่ายเช็ค ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยกระทรวงการคลัง  เลขที่ ๒๘๙๙๑๐๘  วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘ จำนวน ๒.๐๙ ล้านบาท)ว่า   เป็นไปตามโครงการ หรือไม่ (หน้า ๘ - ๑๑)
             ข้อเท็จจริง : ได้ความจากนางวาศีนี ทองเจือ  ว่า (หน้า ๙)  ประมาณเดือนกันยายน ๒๕๔๗ ก่อนมีการเลือกตั้งทั่วไป  ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘  นางวาศินี ติดต่อจัดทำป้ายหาเสียงให้กับพรรคผู้ถูกร้อง  และได้รับงานพิมพ์ป้ายโฆษณานโยบายพรรค รวม ๕๐,๐๐๐ แผ่น ; นางวาศินีได้รับ “เงินสด” เป็นเงินล่วงหน้า  เพื่อไปซื้อวัสดุในการจัดทำป้าย กับบริษัท ป็อปปูล่า / บริษัทอุตสาหกรรมอีโค่พลาส / บริษัทวินสันสกรีน ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ๒๕๔๗  และจากนั้น  นางวาศินี รับ “เงินสด” เป็นค่าจ้างมาเป็นระยะเวลา  จนส่งมอบงานหมดในปลายเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๗
               ประมาณกลางเดือนธันวาคม ๒๕๔๗  นายธงชัย คลศรีชัย (ไม่ระบุว่า เป็นใคร)   แจ้งนางวาศินี  ว่า ผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์)  ต้องการ “ใบเสร็จรับเงินค่าจ้างทำป้าย”  เพื่อนำไปแสดงค่าใช้จ่ายในทางบัญชีของพรรค  และเพื่อไม่ให้นางวาศินีต้องรับภาระเพิ่มในส่วนของภาษี  จึงให้บริษัทหรือผู้ประกอบการค้าวัสดุแก่นางวาศินี  เป็นผู้ออกใบเสร็จให้แก่ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์)โดยตรง  (คือ  บริษัท ป๊อปปูล่า ออกใบเสร็จรับเงิน ๑.๒๘ ล้านบาท /  บริษัทอุตสาหกรรมอีโคพลาส ๔.๖๗ ล้านบาท / บริษัทวินสันสกรีน  ๑.๐๑ ล้านบาท /  และสำหรับค่าแรงงาน  ให้บริษัท เกิดเมฆ  ออกใบเสร็จรับเงินค่าแรง  ๒.๐๙ ล้านบาท)   
                 ซึ่ง ภายหลัง(ไม่ได้ระบุว่า เมื่อใด)  นางวาศินี  ได้รับเช็คจากพรรคผู้ถูกร้อง  จำนวน ๔ ฉบับ สั่งจ่ายให้แก่บริษัทที่ออกใบเสร็จรับเงินดังกล่าวตามจำนวนเงินที่ระบุ
                 นางวาศินียืนยันว่า  บริษัทเกิดเมฆ  ไม่ได้รับงานโดยตรงจากพรรคผู้ถูกร้อง  แต่รับงานจากนางวาศินีบางส่วน จำนวน ๔ - ๕ แสนบาท ;  และได้ความจาก นายสุชาติ เกิดเมฆ  กรรมการผู้จัดการบริษัทเกิดเมฆ ว่า บริษัทไม่ได้รับงานจากพรรคผู้ถูกร้อง  แต่รับจ้างผลิตแผ่นป้ายจากนางวาศินี จำนวน ๕๐๐๐ แผ่น คิดค่าแรง ๕๐๐,๐๐๐ บาท ; บริษัทออกใบเสร็จรับเงิน วันที่ ๑๐ มกราคม [หมายเหตุ  ตามคำวิ. กลาง หน้า ๒๗  รายการที่ ๒  ใบเสร็จ / ใบกำกับภาษีของบริษัทเกิดเมฆ นี้  จำนวนเงิน  ๒.๐๙  ล้านบาท
        ;  ซึ่ง ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงในส่วนนี้
             □ ท่านชัชเห็นว่า  ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า  ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) จัดทำป้ายในช่วงปลายปี ๒๕๔๗  ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘  และก่อนโครงการ  “ฟิวเจอร์บอร์ด” ซี่งเริ่มดำเนินการวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๘)
        
                 ● ประเด็นว่า  “จัดทำป้ายก่อน” (ระยะเวลาเรี่มต้นของโครงการ)  เป็นความผิดหรือไม่ 
                  □□   ท่านชัช  วินิจฉัย ว่า(หน้า ๑๐)  แม้จะฟังได้ว่า จัดทำขึ้น “ก่อน” ระยะเวลาของโครงการ  “ฟิวเจอร์บอร์ด” ซี่งเริ่มดำเนินการวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๘   แต่ก็เห็นได้ว่า   อยู่ในช่วงระยะเวลาใกล้กับวันเลือกตั้ง  โดยการจัดส่งป้ายของนางวาศินี เสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๗   ก่อนเลือกตั้งประมาณ ๒ เดือนเศษ   จึงเป็นการกระทำตามปกติของพรรคการเมืองที่จะต้องมีการเตรียมการเลือกตั้ว   ถือได้ว่า  การจัดทำแผ่นป้ายป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์“ฟิวเจอร์บอร์ด” รวมอยู่ในระยะเวลาที่ผู้ถูกร้องเสนอไว้ในช่วงเดือนมกราคท ๒๕๔๘ ถึงวันเลือกตั้ง  การจัดทำแผ่นป้ายกรณีนางวาศินี  จึงเป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ
        
                ● ประเด็นว่า  “ขนาดของป้ายไม่ตรง”(กับที่ได้รับอนุมัติฯ)  ถือว่า  เป็นไปตามที่ขออนุมัติ หรือไม่  (หน้า ๑๑)  
                 □□ ท่านชัช  วินิจฉัย ว่า(หน้า ๑๑)  ได้ความจากนางวาศินีว่า  ขนาดของป้ายฟิวเจอร์บอร์ด( มีขนาด๑.๓ x ๓.๔ เมตร) แตกต่างกับขนาดของป้ายตามที่ขออนุมัติจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง    เฉพาะความกว้างของป้าย เพียง ๑๐ เซนติเมตร  ซึ่งถือว่ามีความแตกต่างเล็กน้อย และไม่ปรากฎว่า ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่การใช้จ่ายเงินของกองทุนฯ  จึงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯที่ได้รับอนุมัติ  แล้ว
        
        
                ●● กรณีบริษัทเมซไซอะ - นายคณาปติ (หรือ นายประจวบ)  ประเด็น  ผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์) ใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุน ฯ   (กรณี “ใบสำคัญจ่ายค่าจัดทำป้าย”  ที่พรรคผู้ถูกร้อง จ่ายเช็ค ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยกระทรวงการคลัง เลขที่  ๒๘๙๙๑๐๒  วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘  จำนวน  ๒๓.๓  ล้านบาท)  เป็นไปตามโครงการ หรือไม่  (หน้า ๑๑ - ๑๕ ยาว ๔ หน้า )
             ท่านชัช ชลวร ฟังข้อเท็จจริง (หน้า ๑๑ - ๑๒)ว่า  ได้ความจากนายคณาปติ  หรือ ประจวบ  สังขาว  กรรมการบริษัทเมซไซอะ ฯ  ตามบันทึกถ้อยคำยืนยันต่อศาลรัฐธรรมนูญ  (โดยถือเอาคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนต่อ “กรมการสอบสวนคดีพิเศษ” และ “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” เป็นส่วนหนึ่งของบันทึก) ว่า(หน้า ๑๑)   นายคณาปติ(พยาน)  ซึ่งเป็น “กรรมการผู้มีอำนาจ” ของบริษัทเมซไซอะ ฯ ได้รู้จักกับ นายธงชัย คลศรีชัย ประมาณต้นปี ๒๕๔๗   โดยได้ติดต่อเพื่อเสนองานของบริษัทเมซไซอะ ฯ  
              นายธงชัย คลศรีชัย  เป็นบุคคลที่ทำงานให้พรรคผูร้อง (พรรคประชาธิปัตย์) ในช่วงที่นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ เป็นเลขาธิการของพรรคผู้ร้อง  โดยมีหน้าที่จัดกิจกรรมของพรรค เช่น รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ประชาสัมพันธ์พรรค ฯลฯ  นายธงชัย  แจ้งว่า  มีงานสื่อพิมพ์โฆษณาจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน ให้นายคณาปติ  บริษัทเมซไซอะ)ทำ ; ภายหลัง ได้มีการว่าจ้างบริษัทเมซไซอะ ทำป้ายโฆษณาสินค้าของ บริษัท ทีพีไอ โพลีน  และได้มีการจ่ายเงินให้แก่นายคณาปติ (โดย)เข้าบัญชีของบริษัท เมซไซอะ ปลายปี ๒๕๔๗ (ไม่ได้ระบุจำนวน)
                นายธงชัย แจ้งว่า(หน้า ๑๒)  บริษัท ทีพีไอ โพลีน จะทำสัญญาจ้างบริษัทเมซไซอะ  แต่มีวิธีการที่แตกต่างออกไป คือ ทำสัญญาเพื่อรับเงินจากบริษัททีพีไอ โพลีน เท่านั้น  ส่วนรายละเอียดของ “เนื้องาน”  นายธงชัยจะประสานงานกับบริษัท ทีพีไอ โพลีน  โดยนายคณาปติมี “หน้าที่”นำเงินทั้งหมดไปมอบให้กับนายธงชัยตามวิธีการที่นายธงชัยกำหนด
               นายคณาปติ (บริษัทเมซไซอะ) ทำสัญญากับบริษัท ทีพีไอ โพลีน ประมาณ ๑๐๐ ล้านบาท  โดยไม่ได้ประกอบกิจการจริงตามสัญญา  แต่ได้ส่งมอบเงินให้กับนายธงชัยไป  นายธงชัย รับว่า จะเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับภาระด้านภาษี (หน้า ๑๒)
              ในช่วงเวลาดังกล่าว  นายคณาปติ ( บริษัทเมซไซอะ)  ได้ทำป้ายหาเสียงให้กับพรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์)  จำนวน ๓๓๖ เขต  แต่ละเขตผลิดจำนวน ๒๕๐ ถึง ๓๐๐ แผ่น ในราคาแผ่นละประมาณ ๒๖๐ บาท  (หมายเหตุ  ค่าจ้างจะอยู่ระหว่าง  ๒๑.๘  -  ๒๖.๒ บาท)  เริ่มผลิตตั้งแต่ปลายเดือน พฤศจิกายน ๒๔๕๗    โดยบริษัทเมซไซอะ ฯ ไม่ได้ทำสัญญากับพรรคผู้ร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) ;  “เงินที่ใช้ในการทำป้าย” มาจากยอดที่บริษัท ทีพีไอ โพลีน  โอนเข้ามาในบริษัท เมซไซอะฯ  และเมื่อใช้จ่ายอย่างไร  ก็เพียงแต่แจ้งให้นายธงชัยอนุมัติ; ป้ายที่ทำเสร็จแล้ว  นายธงชัยจะเป็นผู้สั่งให้นายคณาปติจัดส่งไปยังเขตต่าง ๆ  โดยเบิกจ่ายจาก “บัญชีบริษัท เมซไซอะ”  ที่บริษัท ทีพีไอ โพลีน โอนให้   
                นายคณะปติ (บริษัทเมซไซอะ) ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการจ่ายเงินโดยเฉพาะ (หน้า ๑๒) ;  ภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงใช้ไบกำกับภาษีของบริษัทชัยชวโรจน์ / บริษัท พีซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล / ห้างหุ้นส่วนจำกัด  สินวัฒนาเอเซีย
               พรรคประชาธิปัตย์ต้องการหลักฐานประกอบการใช้จ่ายเงิน (หน้า ๑๒) :  ต่อมา  ผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์)ต้องการหลักฐานประกอบการใช้จ่ายเงินจัดทำป้ายหาเสียง   จึงให้บริษัทเมซไซอะ  ออกใบเสร็จให้พรรคผู้ถูกร้อง  [หมายเหตุ  ตามคำวิ. กลาง หน้า ๒๗ ;  บริษัทเมซไซอะ ได้ออกใบแจ้งหนี้ ที่ ๒๖๗  / ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ที่ ๒๙๓  / ต้นฉบับใบกำกับภาษี ที่ ๓๐๑ ทั้ง ๓ ฉบับ  ลงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๔๘  ระบุจำนวนเงิน ๒๓.๙ ล้านบาท ฯลฯ ]
               พรรคผู้ร้อง (พรรคประชาธิปัตย์) สั่งจ่ายเช็ค จำนวนเงิน ๒๓.๓ ล้านบาท ให้แก่บริษัท เมซไซอะ ;  เงินที่ได้รับจำนวนดังกล่าวได้โอนและถอนไปยังบุคคลต่าง ๆ แล้วนำ “เงินสด” กลับไปคืนให้นายธงชัย
               □□ ท่านชัช ชลวร  วินิจฉัย  ว่า(หน้า ๑๒)   บรัษัทเมซไซอะ ได้รับเช็คจากพรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) เป็นเช็คธนาคารกรุงไทย ฯลฯ  สั่งจ่ายจำนวน ๒๓.๓ ล้านบาท ;  ซึ่งในข้อนี้  นายคณาปติยืนยันว่า  เช็คที่พรรคผู้ถูกร้องให้   เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการใช้จ่ายเงินของพรรคผู้ถูกร้องในการจัดทำป้ายหาเสียง   (แต่)นายคณาปติใช้เงินจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน
        
                ประเด็นว่า  บริษัทเมซไซอะ มี “รายได้” จาก บริษัท ทีพีไอ โพลีน อย่างไร (หน้า ๑๓)
                   ท่านชัช ชลวร  ได้ความจาก นายประชัย เลียวไพรัตน์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอโพลีน  พยานผู้ร้อง ว่า  บริษัททีพีไอ โพลีน  ได้ว่าจ้าง บริษัท เมซไซอะ ฯ จัดทำโครงการที่ปรึกษาและประชาสัมพันธ์ จำนวน ๘ โครงการ วงเงิน ๒๒๗.๐ ล้านบาท ;  การรับงานของบริษัทเมซไซอะ ต่อ บริษัท ทีพีไอ โพลีน กระทำในช่วงปลายปี ๒๕๔๗   ซึ่งเป็นเวลาไกล้เคียงกับที่  นายคณาปติ(บริษัทเมซไซอะ) ยืนยันว่า ตนเองรับทำป้ายหาเสียงให้กับพรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) ในปลายปี ๒๕๔๗
                    □□ ท่านชัช ชลวร  วินิจฉัย ว่า(หน้า ๑๓)  หากมีการทำป้ายประชาสัมพันธ์ให้พรรคผู้ถูกร้องแล้ว   โดยปกติ (บริษัทเมซไซอะ) ก็น่าที่จะมีการใช้จ่ายเงินในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการจัดทำป้าย / การจ้างค่าแรงทำป้าย / การขนส่งป้ายไปยังจุดต่าง ๆ ( ตามที่ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) กำหนด   โดยมีรายการการใช้จ่ายประกอบของการประกอบธุรกิจโดยปกติอยู่บ้างตามสมควร    แต่ในการสอบสวนไม่ปรากฎ  “รายการ”ใช้จ่ายของบริษัทฯในลักณะดังกล่าวให้เห็นชัดเจนอย่างใด
                   และเมื่อบริษัท เมซไซอะ รับเงิน ๒๓.๓ ล้านบาท ( เช็ค ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘) แล้ว  (หน้า ๑๓)
       ก็ปรากฎ “รายการการจ่ายเงิน” ให้แก่บุคคลต่าง ๆ  ใน ระหว่างวันที่ ๑๐ ถึงวันที่ ๑๗  มกราคม ๒๕๔๘    ตามตารางสรุปในคำร้องของนายทะเบียนพรรคการเมือง  (รายการผู้รับเงิน / หมายเลขเช็ค / วันที่สั่งจ่ายเงิน / จำนวนเงิน)  ประกอบกับบันทึกถ้อยคำยืนยันและความเห็นประกอบ ของผู้อำนวยการผ่ายตรวจสอบระบบบัญชีฯ ด้านกิจการพรรคการเมือง (นางวราภรณ์ ณ ป้อมเพชร์  ว่า  ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๗  มกราคม ๒๕๔๘   นายคณาปติ(นายประจวบ) ได้จ่ายเงินจากบริษัท เมซไซอะ ฯ  โดยเฉพาะให้แก่ กลุ่มของนายประจวบ(หรือนายคณาปติ)เอง และ กลุ่มของนายธงชัย คลศรีชัย  เป็นจำนวน ๑๘.๘ ล้านบาท    
        
               ● ประเด็นว่า  นายธงชัย คลศรีชัย และกลุ่มของนายธงชัย)  มี “มูลหนี้” ที่จะรับเงินจาก บริษัทเมซไซอะ หรือไม่ 
                 ท่านชัช ชลวร  ฟังข้อเท็จจริง  ว่า(หน้า ๑๓)   นายธงชัย (บุคคลที่ทำงานให้พรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงที่นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ เป็นเลขาธิการของพรรคผู้ร้อง)  ให้ถ้อยคำในบันทึกว่า    นายธงชัยรู้จักกับนายประจวบ(หรือ นายคณาปติ) ในช่วงเดือนสิงหาคม ๒๕๔๗    โดยนายประจวบ(หรือ นายคณาปติ) แจ้งว่า  ได้รับจ้างเหมาจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน ฯ ด้านประชาสัมพันธ์ / จัดหาโปสเตอร์และของชำร่วย   มูลค่า ๒๗.๕ ล้านบาท  แต่นายประจวบไม่สามารถทำงานได้ทันขอให้นายธงชัยรับงาน โดยนายประจวบขอหักร้อยละ ๑๕  ; นายธงชัยขอรับช่วงงาน ๒๓.๓ ล้านบาท  ; นายธงชัยส่งมอบงาน ๓ ครั้ง :  ครั้งแรก ประมาณกลางเดือน พฤศจิกายน   ครั้งที่สองปลายพฤศจิกายน  และครั้งที่สามกลางเดือนธันวาคม ๒๕๔๗
              นายประจวบ(หรือนายคณาปติ )แบ่งจ่ายเงินเป็น ๒ งวด  งวดแรก วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๗  จำนวน ๑๓.๗ ล้านบาท ; งวดที่สอง วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๘ จำนวน ๙.๕ ล้านบาท   ส่วนที่ขาดนายประจวบ(นายคณาปติ)ขอไปดำเนินการด้านภาษี (หน้า ๑๔)
              ในการชำระงวดที่สอง จำนวน ๙.๕ ล้านบาท (วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๘)   นายธงชัย รับเงิน โดยให้โอนโดยเข้าบัญชีของบุคคลอื่น  ๔ คน  คือ  บัญชีเงินฝากของนายโชคชัย คลศรีชัย ในธนาคารกสิกรไทย  สองบัญชี  สองสาขา(สาขารังสิต และสาขาซอยจารุรัตน์)   สาขาละ ๑.๙ ล้าน บาท (รวม ๓.๘ ล้านบาท)  และบัญชีเงินฝากของลูกน้องนายโชคชัย  ๓ คน (ได้แก่  นางสาวสิรินารถ  นารถเสวี และ นางสาววิรัลพัชร ชีวะวรนันท์ และนางสาวเบ็ญจวรรณ สุนทอมรรัตน์)  บัญชีละ ๑.๙ ล้านบาท (รวม ๕.๗ ล้าน ) รวมทั้งหมด  ๙.๕ ล้านบาท  โดยนายธงชัย อ้างว่า  เหตุที่ต้องรับเงิน ผ่านบัญชีผู้อื่น  เนื่องจากนายธงชัยเป็นหนี้บุคคลหลายราย  และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน ฟ้องเป็นคดีแพ่ง  นายธงชัยกลัวถูกอายัดเงิน   
               □□   ท่านชัช ชลวร  วินิจฉัย ว่า (หน้า ๑๔)   ข้ออ้างของนายธงชัยที่เกรงว่าจะถูกอายัดเงินจากเจ้าหนี้จนถึงต้องยืมบัญชีของผู้อื่น  เป็นการสร้างเงื่อนไขที่ไม่มีเหตุผลให้รับฟังได้  เพราะไม่ปรากฎว่านายธงชัยเคยถูกบังคับคดีใน “ทรัพย์อื่น ๆ” มาก่อน ; และนอกจากนี้  ระยะเวลาที่นายคณาปติ รับเช็คจากพรรคผู้ถูกร้อง และมีการจ่ายเงินให้แก่บุคคลภายนอกในทันที (โดยเฉพาะแก่กลุ่มบุคคลที่ใกล้ชิดนายธงชัย)  ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า   นายธงชัย จะมี“มูลหนี้”ระหว่างนายธงชัยกับนายคณาปติ(บริษัทเมซไซอะ)โดยการรับช่วงงาน  
                หากนายคณาปติ(บริษัท เมซไซอะ) สามารถรับงานทำป้ายให้กับพรรคผู้ร้อง(พรรคประชาธิปัตย์ได้ถึง ๓๓๖ เขต  เขตละ ๒๕๐ ถึง ๓๐๐ ป้าย  ก็ไม่มีเหตุผลใดที่นายคณาปติจะต้องช่วงงาน ฯ ให้แก่ นายธงชัย ฯ ;  ทั้งข้อเท็จจริง ก็ไม่ปรากฎว่า นายธงชัข เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านประชาสัมพันธ์มาก่อน
                และยังได้ความต่อไปว่า(หน้า ๑๔)   นายคณาปติ (บริษัท เมซไซอะ) ได้นำเอา ใบกำกับภาษีของบริษัท ๓ บริษัท คือ บริษัทชัยชวโรจน์ / บริษัท พีซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล / ห้างหุ้นส่วนจำกัด  สินวัฒนาเอเซีย  ซึ่งเป็นบริษัทที่อ้างว่ามีการรับช่วงงาน  มาใช้ในการยื่นแสดงรายการภาษีหัก ณที่ จ่าย ;  กรมสรรพากรยืนยันว่า บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทที่ถูกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ;  และจากการตรวจสอบ   ผู้ร้อง(นายทะเบียน) พบว่า ไม่มีการประกอบกิจการในช่วงปี ๒๕๔๗ ถึง ๒๕๔๘    
               ผู้ร้อง(นายทะเบียน) มี นางสาวมรกต อดีตหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด  สินวัฒนาเอเซีย  มาเบิกความให้การยืนยัน ว่า(หน้า ๑๔ - ๑๕)  ในช่วงเวลาดังกล่าว  ห้างฯ ไม่เคยประกอบกิจการใด ๆ ในนามของห้าง และไม่ได้ออก “ใบกำกับภาษีให้กับบริษัทเมซไซอะ 
                  ●● ประเด็น (ข้อยุติ) ว่า  กรณีบริษัทเมซไซอะ - นายคณาปติ (หรือ นายประจวบ)   ผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์) ใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุน ฯ   เป็นไปตามโครงการ หรือไม่  
                  □  ท่านชัช ชลวร เห็นว่า (หน้า ๑๕)  จากพยานหลักฐาน เกี่ยวกับ การรับงานของบริษัทเมซไซอะ จาก บริษัท ทีพีไอ โพลีน  / การรับเงินจากพรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘ จำนวน ๒๓.๓ ล้านบาท และจ่ายเงินให้แก่กลุมบุคคลที่เกี่ยวข้อง และนายธงชัย ในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๘ ในทันที  /  การแสดงรายการกำกับภาษีของบริษัทที่อ้างว่ารับช่วงงานจากบริษัทเมซไซอะ  โดยบริษัทดังกล่าวไม่มีการประกอบกิจการจริง //  จีงมีน้ำหน้กเพียงพอให้เชื่อได้ว่า  “การจ่ายเช็คของพรรคผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์)”   ไม่ได้เป็นการจ่ายเพื่อจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ตามโครงการฯ ที่ได้รับอนุมัติจากกองทุน ฯ
                  □□  ท่านชัช ชลวร วินิจฉัย  เป็น “ข้อยุติ” ว่า(หน้า ๑๕)  การกระทำของผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์)ในส่วนนี้(กรณีบริษัทเมซไซอะ)  จึงไม่เป็นการใช้จ่ายที่ได้รับการสนับสนุนของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ในปี ๒๕๔๘  ตามที่ได้รับอนุมัติตาม พรบ. ฯ ๒๕๕๐ มาตรา ๘๒  [หมายเหตุ  หรือ มาตรา ๖๒ (พรบ.  ๒๕๔๑) ประกอบกับ มาตรา ๖๕]
                  
        ■■  ระเด็นวินิจฉัยที่ ๔   ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์ จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุน(ปี  พ.ศ. ๒๕๔๘) ตรงตามความจริง  หรือไม่  (หน้า ๑๕ ถึง ๑๗) 
                  □  ท่านชัช ชลวร ตั้งประเด็นว่า  การจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ในรอบปีปฏิทินให้ถูกต้องตรงตามความจริง  ตามมาตรา ๘๒ (หมายเหตุ   หรือ มาตรา ๖๒  พรบ. ๒๕๔๑)  มีประเด็นสำคัญ ๒ ประการ  คือ  ประการแรก  ต้องมีการใช้จ่ายเงินให้ถูกต้องตามความเป็นจริง  และประการที่สอง  การใช้จ่ายเงินต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ  ;   และโดยที่ผู้ร้อง (นายทะเบียน)ไม่มี “ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง” และ “ข้อกำหนดเกี่ยวกับ การควบคุมราคากลางของการจัดซื้อจัดจ้าง”    ดังนั้น พรรคการเมืองที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก “กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง” จึงสามารถดำเนินการตามโครงการฯ กับบุคคลใด ๆ และจัดซื้อจัดจ้างมีราคาและใช้วัสดุราคาสูงต่ำอย่างไรก็ได้   ขอเพียงแต่ให้อยู่ใน “กรอบวงเงิน”ที่ได้รับอนุมัติ   และ ดังนั้น  การตรวจการใช้จ่ายเงิน จึงมีเพียงว่า พรรคการเมืองได้ใช้เงินไป “จริง” หรือไม่   และเป็นไปตาม “วัตถุประสงค์” หรือไม่
         
        
       ●● กรณีบริษัท เกิดเมฆ - นางวาศินี  :  
               □□  ท่านชัช ชลวร   วินิจฉัย ว่า(หน้า ๑๖) ข้อเท็จจริงตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้วว่า  การจัดทำป้ายเป็นไปตาม “วัตถุประสงค์”ของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ  แล้ว  ด้วยเหตุผลดังนี้
        
               ●ประเด็นว่า   ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) จ่ายเงินให้แก่นางวาศินี ถูกต้องตรงตามความจริง หรือไม่ ;   
               □ ท่านชัช ชลวร  เห็นว่า(หน้า ๑๖)   นางวาศินี ยืนยัน ว่า ตนเองรับงานพิมพ์ป้าย / ส่งมอบงานในปลายเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๗  / และรับเงินค่าจ้างแล้ว  ;  และพรรคผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์) ได้จ่ายเงินเป็นค่าจัดทำป้ายเป็นเช็ค  แก่บริษัทเกิดเมฆ จำนวน ๒.๐๙ ล้านบาท และจ่ายเช็คให้แก่บริษัทที่นางวาศินียืนยันว่าซื้อวัศดุอุปกรณการทำป้าย ๓ บริษัท คือ  บริษัท ป็อปปูล่า / บริษัทอุตสาหกรรมอีโค่พลาส / บริษัทวินสันสกรีน
             เมื่อนางวาศินีได้ทำงานในส่วนของตนครบถ้วนและรับเงินไปแล้ว  การที่นางวาศินีให้บริษัทต่างออกใบเสร็จรับเงิน  เป็นเพียงวิธีการปฏิบัติ  รับรองการมีหนี้ระหว่างนางวาศีนีกับพรรคผู้ถูกร้อง  เมื่อจำนวนเงินไม่เกินกว่างานที่นางวาศินีรับทำ   จึงไม่ถึงกับทำให้เกิดความเสียหายต่อการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกองทุน ฯ     
                 เมื่อปรากฎว่า นายทะเบียนไม่ได้วางข้อกำหนดให้พรรคการเมืองจะต้องดำเนินการในการจัดหาผู้ขายผู้รับจ้าง /การทำสัญญาฯ / การตรวจรับงาน  เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการตรวจสอบในการทำรายงาน   ดังนั้น  การออกใบเสร็จรับเงินของบริษัททั้งสี่ และการจ่ายเช็คของผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์)   จึงเป็นการรับรองความถูกต้องของการจ่ายเงินก่อนหน้านี้ระหว่างผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) กับนางวาศินี  (หน้า ๑๖)
              การที่พรรคผู้ถูกร้องได้จ่ายเงินให้แก่บริษัทเกิดเมฆ  มีเหตุควรเชือได้ว่า เป็นไปตาม “คำขอของนางวาศินี” เพื่อชำระหนี้ให้แก่นางสาววาศินี   ไม่ว่าจำนวนหนี้จะมีอยู่เท่าใด  เพราะเป็นข้อตกลงเฉพาะของนางวาศินีกับบริษัทเกิดเมฆ
             แม้การออกเช็คของผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์)  ให้แก่บริษัทเกิดเมฆ วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘  และให้แก่บริษัทอีก ๓ บริษัท จะกระทำ “ก่อน” ที่ “คณะกรรมการกองทุน ฯ”จะให้ความเห็นชอบ  แต่ก็ปรากฎว่า จำนวนเงินไม่เกิน ๑๙.๐ ล้านบาท ตามที่ได้รับอนุมัติจากกองทุน ฯลฯ  จึงยังไม่ปรากฎข้อที่กระทำโดยมิชอบ
                 ท่านชัช ชลวร  วินิจฉัยว่า(หน้า ๑๗)  ในกรณีของบริษัท เกิดเมฆ - นางวาศินี  การที่ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) อ้างหลักฐานเช็ค ที่(ผู้ถูกร้อง)จ่ายให้แก่ ๔ บริษัท   ไว้ใน “รายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมือง  ในปี ๒๕๔๘”    จึงถูกต้องตามความจริงแล้ว  
        
                  ●● ในกรณีของ บริษัทเมซไซอะ : การจ่ายเช็คชำระค่าจัดทำแผ่นป้าย  ให้แก่ บริษัทเมซไซอะ”  จำนวน ๒๓.๓ ล้านบาท
                 □  ท่านชัช ชลวร  เห็นว่า (หน้า ๑๗)    ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติ ว่า  บริษัท เมซไซอะ ฯ  ไม่ได้รับเงินมาจากพรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์)จำนวนดังกล่าว มาเพื่อจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ตามโครงการ “ฟิวเจอร์บอร์ด” ของพรรคผู้ถูกร้องในปี ๒๕๔๘  
               □□  ท่านชัช ชลวร  วินิจฉัยว่า(หน้า ๑๗)  การที่ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) นำ “รายการการใช้จ่ายเงินตามเช็ค” มาไว้ในรายงานไช้จ่ายเงินสนับสนุนฯ  แล้วยื่นต่อ “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๙    จึงฟังได้ว่า  ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์)  ไม่จัดทำรายงานการใช้เงินให้ถูกต้องตามความจริง ตาม พรบ. ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘๒
                กรณี จึงมีเหตุที่จะสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง ตาม พรบ. ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๙๓  [หมายเหตุ หรือ พรบ. ๒๕๔๑  มาตรา ๖๒ และ มาตรา ๖๕ ]
        
         ■■ ประเด็นวินิจฉัยที่ ๕  ในกรณีมีเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์)  หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค จะต้องถูกตัดสิทธิหรือถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง  ตามกฎหมาย หรือไม่
       ♦ [ หมายเหตุ  ข้อสังเกตของผู้เขียน  : แม้ว่าในการ “สรุป”สาระสำคัญ ในการพิจารณา “ประเด็นวินิจฉัยที่ ๕” ในคำวินิจฉัย - ส่วนตัวนี้  จะไม่ได้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ  เพราะไม่มี “กรณี” ที่จะนำมาใช้บังคับ ;  แต่การสรุปสาระสำคัญในประเด็นนี้  ยังได้ประโยชน์ในด้านการได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็น “ข้อเท็จจริง(ในสำนวนคดี)” เพิ่มเติมจากที่มีอยู่ในคำวินิจฉัย(กลาง)ของศาลรัฐธรรมนูญ  และได้ประโยชน์เพื่อการ ศึกษา “วิธีการเขียนคำพิพากษา”ของตุลาการแต่ละท่าน    ผู้เขียนจึงขอสรุปต่อไปให้ครบถ้วน ]
        
               ประเด็นวินิจฉัยที่ ๕ (หน้า ๑๗ - ๒๓ รวม ๖ หน้าครื่ง)  มีปัญหาว่า  ในกรณีมีเหตุให้ต้องยุบพรรค   ผู้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคจะต้องถูก “ตัดสิทธิ” หรือถูก “เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง”  ตาม พรบ.ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ / หรือ ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ ๒๗ ฯ / หรือตาม พรบ.ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือไม่ อย่างไร
              ท่านชัช ชลวร  พิจารณา(หน้า ๑๗)   มาตรา ๘๒  ( พรบ. ฯ  ๒๕๕๐ ) (ว่าด้วยหน้าที่ของพรรคการเมือง)  และ มาตรา ๙๓ วรรคสอง   ( พรบ. ๒๕๕๐ ) (กรณีที่ให้ยุบพรรคการเมือง) ดังนี้
                 ●●  ในกรณี บริษัท เมซไซอะฯ   ท่านชัช ชลวร  เห็นว่า(หน้า ๑๘)  นายประดิษฐุ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องในขณะนั้น  ให้ข้อเท็จจริงได้ความว่า    เช็คที่สั่งจ่ายให้แก่ บริษัท เมซไซอะ ฯ  จำนวนที่ ๒๓.๓ ล้านบาท เลขที่ ๒๘๙๙๑๐๒ ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๑๐ นั้น  มีผู้ลงนาม ๒ คน  คือ  นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ลงลายมือชื่อ ร่วมกับนายจุลินทร์ ลักษณวิศิษฐ์  ;  ท่านชัช ชลวร  ได้แยกพิจารณา เป็นรายบุคคล  ดังนี้ :  
        
                (๑) กรณี นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ :  ท่านชัช ชลวร  ฟังว่า ได้ความจาก นายคณาปติ (นายประจวบ สังขาว) (หน้า ๑๘)  ว่า  นายคณาปติ รู้จักกับ นายประดิษฐ์ ที่โรงแรมเพรสซิเด็นท์ และได้พบกับ นายประชัย เลียวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน หารือเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง ; แล้วต่อมา นายคณาปติได้ไปทำการติดต่อที่ที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องหลายครั้งและได้รู้จักกับนายธงชัย คลชัยศรี (หรือ นายทีซี)  ซึ่ง (นายคณาปติ) ทราบว่าเป็นน้องชายของนายประดิษฐ์
                  ต่อมา นายคณาปติ (บริษัทเมซไซอะ)  รับทำงานให้ บริษัท ทีพีไอ โพลีน  และรับออกแบบป้ายให้กับผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์  ; พรรคผู้ถูกร้องต้องการหลักฐานประกอบการจ่ายเงิน  จึงให้บริษัทเมซไซอะ (นายคณาปติ) ออกใบเสร็จรับเงิน   แล้วพรรคผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์)ได้จ่ายเช็ค จำนวน ๒๓.๓ ล้านบาท  ซึ่งภายหลังมีการโอนและถอน “เงินสด”กลับคืนไปให้ นายธงชัย
                  นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์   ยืนยันว่า ไม่รู้จักบริษัท  เมซไซอะ และนายคณาปติ เป็นการส่วนตัว เพียงแต่ทราบว่าประกอบกิจการด้านการโฆษณา ;  นายประดิษฐ์ยืนยันว่า  นายธงชัย คลชัยศรี  เป็นลูกพี่ลูกน้อง โดยเป็นบุตรของน้องสาวของบิดานายประดิษฐ์ ;โดยช่วงที่นายประดิษฐ์ ฯ ตำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคผู้ถูกร้อง  นายธงชัย ฯ เป็นอาสาสมัครช่วยงานที่พรรค ;  นายประดิษฐ์ ไม่ได้มอบหมายให้นายธงชัย ฯ เกี่ยวข้องกับการเงินและการจัดซื้อจัดจ้างของพรรคผู้ถูกร้อง
              □□  ท่านชัช ชลวร  วินิจฉัย ว่า (หน้า ๑๙)  นายคณาปติมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับนายธงชัย  เพราะเมื่อได้รับเช็คของพรรคผู้ถูกร้องในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘   นายคณาปติได้โอนเงินจำนวน ๙.๕ ล้านบาทไห้แก่กลุ่มญาติพี่น้องของนายธงชัย โดยไม่ปรากฏมูลหนี้  ; นายธงชัย กับนายประดิษฐ์มีความสัมพันธ์เป็นญาติพี่น้องไกล้ชิดกัน   และพฤติการณ์ระหว่างนายประดิษฐ์ /นายธงชัย / นายคณาปติ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในช่วงการเตรียมการเลือกตั้ง  กรณีมีเหตุสมควรเชื่อได้ว่า  นายประดิษฐ์ เลขาธิการพรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์)  มีส่วนรู้เห็นในการสั่งจ่ายเช็คของพรรคผู้ถูกร้อง  ให้แก่บริษัทเมซไซอะ ฯ โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน
                  ข้อโต้แย้งของพรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) ที่คัดค้าน  ว่า(หน้า ๑๙)    พยานปากนายคณาปติไม่มีเหตุที่จะรับฟัง  เนื่องจากนายคณาปติสมคบร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ “กรมสอบสวนคดีพิเศษ”  และ ส.ส.พรรคเพื่อไทยบางคนให้ไปร้องเรียน  และมีการเสนอผลประโยขน์ตอบแทนกับนายคณาปติ ;  และนอกจากนี้  บริษัทเมซไซอะ มีหนี้สินกับสถาบันการเงินและมีการฟ้องเป็นคดี  มีการยึดทรัพย์ของนายคนาปติขายทอดตลาด  และมี “บุคคลบางคนที่มีความใกล้ชิดกับพรรคการเมืองฝ่ายค้าน” ไปซื้อบ้านและที่ดินจากการขายทอดตลาด แล้วให้นายคณาปติครอบครองพักอาศัยต่อมา
                 ท่านชัช ชลวร  เห็นว่า(หน้า ๑๙)  ข้อต่อสู้ของผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) รับฟังไม่ได้   เพราะ ข้อคัดค้านเกี่ยวกับนายคณาปติ เป็น “เหตุการณ์” ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. ๒๕๔๘   และคำยืนยันของนายคณาปติ มี”หลักฐาน”ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ตามคำยืนยัน  เช่น   การรับเข็คจากพรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) /  การโอนเงินให้กับบุคคลต่าง ๆ ในวันรุ่งขึ้นหลังจากได้รับเช็ค  / การนำใบกำกับภาษีจากบริษัทที่เลิกการประกอบกิจการแล้วมาแสดงต่อกรมสรรพากร //  ซึ่งล้วนเป็นพยานเอกสาร  โดยไม่ปรากฎข้อที่เชื่อว่าได้มีการจัดเตรียมไว้ ;  คำคัดค้านของผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์)และการถามค้านพยานปากนายคณาปติเพื่อให้เห็น “มูลเหตุชักจูงใจ” ของการกล่าวหาพรรคผู้ถูกร้อง  จึงยังฟังไม่ได้ว่า นายคณาปติจงใจสร้างเรื่องเท็จขึ้นมาปรักปรำพรรคผู้ถูกร้อง
        
                 ● (๒) กรณี นายจุลินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ :  ท่านชัช เห็นว่า (หน้า ๒๐)  ไม่ปรากฎพยานบุคคลหรือพยานหลักฐานใด ที่ยืนยันว่า นายจุลินทร์ รู้เห็นเกี่ยวกับการออกเช็ค ให้กับบริษัทเมซไซอะ โดยไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง  
                □□  ท่านชัช ชลวร  เห็นว่า  การลงลายมือชื่อของนายจุลินทร์ เป็นการปฏิบัติไปตามหน้าที่ในฐานะรองหัวหน้าพรรคผ้ถูกร้อง
        
                 (๓) กรณี นายบัญญัติ บรรทัดฐาน (หัวหน้าพรรคในขณะนั้น): ท่านชัช ชลวร  เห็นว่า(หน้า ๒๐) นอกจากกรณีการออกเช็คให้แก่บริษัท เมซไซอะ ฯ แล้ว ยังปรากฎว่า นายบัญญัติ บรรทัดฐาน  หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้อง ได้ลงลายมือชื่อรับรองหล้กฐาน “ใบสำคัญรับเงิน” ของ บริษัท เมซไซอะ ฯ จำนวน ๒๓.๓ ล้านบาท  ซึงเป็นเอกสารประกอบ “การรายงานการใช้จ่ายเงินของพรรคผู้ถูกร้อง”  (เอกสาร หมาย ร.๒๖๒  หน้า ๒๐ ถึง ๒๖) ;  ในข้อนี้ นายบัญญัติ  ยืนยันว่า  ได้อนุมัติสั่งจ่ายเมื่อได้รับคำชี้แจงจากนางสาวอาภรณ์ รองเงิน  สมุห์บัญชีเลือกตั้ง ฯ ว่า  ผู้รับจ้างได้มีการส่งมอบป้ายประชาสัมพันธ์ เรียบร้อยและได้มีการวางบิลมาแล้ว  โดยจ่ายจากเงินในบัญชีเพื่อการเลือกตั้งของพรรคเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘  ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่พรรคผู้ถูกร้องถือปฏิบัติต่อผู้รับจ้างรายอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
               □□   ท่านชัช ชลวร  วินิจฉัย ว่า(หน้า ๒๐)  “การรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมือง”  ไม่ปรากฎว่ามีหลักฐานของ บริษัทเมซไซอะฯ เกี่ยวกับการจ้างงาน  ประกอบกับเงินที่ต้องจ่ายมีจำนวนสูง ถึง ๒๓ ล้านบาทเศษ   นายบัญญัติ  ในฐานะหัวหน้าพรรค ก็น่าที่จะต้องตรวจสอบรายละเอียดก่อน  เพราะหากไม่ถูกต้อง  พรรคย่อมเสียหาย  โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินในโครงการฯ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากภาษีอากรของประชายน   จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ;  การตรวจสอบ“โดยรับฟังคำบอกเล่า” ของบุคคลภายในพรรคย่อมไม่พอเพียง ;   กรณีจึงฟังได้ว่า  นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กระทำการปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบความถูกต้องของใบสำคัญรับเงิน ของบริษัท เมซไซอะ  ในฐานะที่ตนเป็น “หัวหน้าพรรต”
        
                □□  ท่านชัช ชลวร  วินิจฉัย เป็น “ข้อยุติ”  ว่า(หน้า ๒๐ -  ๒๑)   การออกเช็คให้แก่บริษัท เมซไซอะ  และการรับรองหลักฐานใบสำคัญรับเงิน ของ บริษัทเมซไซอะ  เป็นการกระทำของเลขาธิการพรรค (นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์) และหัวหน้าพรรค (นายบัญญัติ บรรทัดฐาน)   โดยจะนำไปใช้เป็นหลักฐาน ประกอบการรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนฯ ในปี ๒๕๔๘ ;   ซึ่งแม้ต่อมา บุคคลทั้งสองได้พ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘  และมีคณะผู้บริหารคณะใหม่เข้ามาบริหารงาน โดยมีนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  เป็นหัวหน้าพรรค และได้ลงลายมือชื่อ ใน “แบบรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนฯ”  ซึ่งมีหลักฐานการจ่ายเช็คและใบสำคัญรับเงินของ บริษัทเมซไซอะ  เป็นเอกสารประกอบการรายงาน ;  รายงานดังกล่าว  จึงเป็น “รายงานการใช้จ่ายเงินที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง”  ตาม มาตรา ๘๒ แห่ง พรบ. ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐
        
                      ●●  ประเด็น  ปัญหา(ข้อกฎหมาย)  การตัดสิทธิหรือการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของ “หัวหน้าพรรค และ กรรมการบริหารพรรค”  เป็นไปตามกฎหมายฉบับใด  (พรบ.ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ / หรือตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครอง ฯ ฉบับที่ ๒๗ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ / หรือ ตาม พรบ.ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐)  
               □□   ท่านชัช ชลวร วินิจฉัย ว่า(หน้า ๒๒)  พรบ.ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐  เป็นบทบัญญัติที่สามารถนำมาใช้บังคับได้ โดยไม่เป็นผลร้ายแก่พรรคผู้ถูกร้อง  โดยให้เหตุผล ดังนี้
                 ท่านชัช ชลวร เห็นว่า(หน้า ๒๑)   บทบัญญัติเกี่ยวกับ “การตัดสิทธิ” (การจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ / เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง / มีส่วนร่วมในการจดแจ้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่) สำหรับ “ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของพรรคการเมือง” นั้น   พรบ.ฯ พ.ศ. ๒๕๔๑ และ พรบ.ฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ ทั้งสองฉบับ  ได้บัญญัติไว้อย่างเดียวกัน  ; แต่บทบัญญัติเกี่ยวกับ “การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” ฯลฯ นั้น  บัญญัติไว้แตกต่างกัน  กล่าวคือ พรบ.ฯ พ.ศ. ๒๕๔๑ และประกาศคณะปฏิรูปการปกครอง ฯ ฉบับที่ ๒๗ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙  บัญญัติให้ “เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” (ของกรรมการบริหารพรรคการเมือง) โดยไม่คำนึงว่า จะมีส่วนร่วม / รู้เห็น / ปล่อยปละละเลย / หรือทราบถึงการกระทำดังกล่าวแล้วมิได้ยับยั้งหรือแก้ไข ; แต่  พรบ.ฯ พ.ศ. ๒๕๕๐  ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคการเมือง  เฉพาะผู้ที่มีส่วนร่วม / รู้เห็น / ปล่อยปละละเลย / หรือทราบถึงการกระทำดังกล่าวแล้วมิได้ยับยั้งหรือแก้ไข
               
               ●ประเด็นปัญหา  “การตัดสิทธิ ฯ ” ของ หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค  ตามมาตรา ๙๗  แห่ง พรบ.ฯ พ.ศ. ๒๕๕๐   กระทำได้  เพียงใด   
                  ท่านชัช ชลวร  เห็นว่า(หน้า ๒๒)  ตามมาตรา ๙๗  แห่ง พรบ.ฯ พ.ศ. ๒๕๕๐  บัญญัติว่า  ในกรณีที่พรรคการเมืองต้องยุบ เพราะเหตุฝ่าฝืน มาตรา ๔๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๘๒   ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมือง จะต้องถูก “ตัอสิทธิ ฯ ”  (การจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ / เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง / มีส่วนร่วมในการจดแจ้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่) ทั้งนี้ภายในกำหนด ๕ ปีฯ   ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถใช้ดุลพินิจสั่งการเป็นอย่างอื่น  เพราะบทบัญญัตมาตรานี้กำหนดผลของการฝ่าฝืนไว้
               □□  ท่านชัช ชลวร   วินิจฉัย ว่า ดังนั้น เมื่อพรรคการเมืองต้องถูกยุบเพราะเหตุมาจากการฝ่าฝืน มาตรา ๘๒  ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์) “ในขณะที่มีการใช้จ่ายเงินไม่ถูกต้อง” จึงต้องถูกตัดสิทธิ ตาม มาตรา ๙๗ แห่ง พรบ.ฯ พ.ศ. ๒๕๕๐  ; ส่วนผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์) “ในขณะที่มีการรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมือง” เป็นการรายงานตามเอกสารที่ปรากฎโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินที่รายงาน  จีงไม่อาจตัดสิทธิบุคคลดังกล่าว ตาม มาตรา ๙๗ แห่ง พรบ.ฯ พ.ศ. ๒๕๕๐  ได้
        
               ●ประเด็นปัญหา “การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ” ของ  หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค  ตามมาตรา ๙๘  แห่ง พรบ.ฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทำได้ เพียงใด  (หน้า ๒๒) 
             □□  ท่านชัช ชลวร  วินิจฉัย  ว่า ตามบทบัญญัติมาตรา ๙๘ (พรบ. ฯ ๒๕๕๐  ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเฉพาะกรรมการบริหารพรรคที่มีส่วนร่วม / รู้เห็น / ฯลฯ ;   เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ เลขาธิการพรรคผู้ถูกร้อง เป็นผู้รู้เห็นเกี่ยวกับการออกเช็คให้ บริษัทเมซไซอะ และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน  หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้อง  กระทำการปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของพรรคผู้ถูกร้องให้ถูกต้อง  มีผลทำให้ “รายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมือง” ในปี๒๕๔๘  ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง อันก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมือง  จึงมีเหตุให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลทั้งสอง  มีกำหนด ๕ ปีนับแต่วันที่มีคำสั้งให้ยุบพรรคการเมือง ตาม มาตรา ๙๘ พรบ. ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ ; ส่วนกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ถูกร้องคนอื่น  ในทางไต่สวนไม่ปรากฏว่า มีส่วนร่วม / ฯลฯ  จึงไม่มีเหตุให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
        
            □□  ท่านชัช ชลวร  วินิจฉัย เป็น “ข้อยุติ”  ว่า (๑) ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้อง ตาม มาตรา ๙๓ ประกอบด้วย มาตรา ๘๒ พรบ.ฯ ๒๕๕๐ ;  (๒)  ให้ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้อง “ในขณะที่มีการจ่ายเงินสนับสนุนไม่ถูกต้อง”   จะจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ / เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง /มีส่วนร่วมในการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่  อีกไม่ได้ มีกำหนด ๕ ปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรค ฯ ตามมาตรา ๙๗  : (๓) ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน และ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั้งให้ยุบพรรค ฯ  ตามมาตรา ๙๘ 
        
                                ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
        
       ◊◊  คำวินิจฉัย -ส่วนตน ของท่านบุญส่ง กุลบุบผา
                 ท่านบุญส่ง กุลบุบผา  พิจารณา ประเด็นวินิจฉัยที่ ๓ และประเด็นวินิจฉัยที่ ๔ รวมกันไป(คราวเดียวกัน)  และท่านบุญส่ง พิจารณาเฉพาะ “กรณีบริษัทเมซไซอะ - (นายคณาปติหรือนายประจวบ สังขาว) ” เพียงกรณีเดียว  โดยเห็นว่า เป็นการเพียงพอแล้วที่จะวินืจฉัยให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ได้  โดยไม่ต้องพิจารณา กรณีของนางสาว วาศินี ทองเจือ 
        
         ■■ ระเด็นวินิจฉัยที่ ๓ (ผู้ถูกร้องใช้จ่ายเงินที่ได้รับการอุดหนุนจากกองทุน ฯ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘  เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือไม่)  และ ประเด็นวินิจฉัยที่ ๔ ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์ จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุน(ปี  พ.ศ. ๒๕๔๘) ตรงตามความเป็นจริง  หรือไม่)   
                ท่านบุญส่ง กุลบุบผาพิจารณารวมกัน ๒ ประเด็น  (หน้า ๑๑ ถึง ๑๘   รวม ๗ หน้า ) :   ท่านบุญส่ง (หน้า ๑๒) ได้เริ่มต้นด้วยการ กล่าวถึง  “ข้อเท็จจริง” เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการจัดทำป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ของพรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์)ในช่วงที่มีการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๘    โดยได้ความจาก นายขาญชัย อิสระเสนารักษ์ ประธานคณะทำงานของพรรคในด้านการประชาสัมพันธ์  เบิกความรับว่า  มีบุคคล ๒ รายที่เข้ามารับจ้างทำป้าย  ได้แก่  (๑) นางสาววิศินี ทองเจือ  ทำป้ายฟิวเจอร์บอร์ด ๕๐,๐๐๐ ป้าย วงเงิน ๙.๐ ล้านบาท  และ (๒) บริษัทเมซไซอะ โดยนายประจวบ หรือคณาปติ สังขาว ผู้จัดการบริษัท  รับงานทำป้าย  ๙๑,๕๐๐ ป้าย วงเงินรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม  วงเงิน  ๒๓.๙ ล้านบาท ไม่รวมภาษีฯ หักแล้วคงเหลือ ๒๓.๓ ล้านบาท
                  ทั้งสองราย  มีการส่งมอบงานและตรวจสอบความถูกต้องแล้ว  พรรคผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธปัตย์) จึงดำเนินการชำระค่าจัดทำป้าย (ตามสำเนาเช็คเอกสาร แนบท้ายบันทึกคำให้การของนายชาญชัย  หมายเลข ๒๐ และ  ๒๑)
        
        
                 
                  ●●  ประเด็น ว่า  การตรวจสอบ“รายงานการใช้จ่ายเงินฯ” โดยสำนักงานตรวจสอบบัญชีทรัพย์อนันต์”  และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต  มีขอบเขตเพียงใด (กรณีของบริษัทเมซไซอะ - นายคณาปติ หรือ นายประจวบ) 
                ท่านบุญส่ง เห็นว่า(หน้า ๑๒)   นายชาญชัย เบิกความตรงกับหลักฐานใบเสร็จรับเงินที่บริษัทเมซไ.ซอะออกให้กับพรรคผู้ถูกร้อง   และ  “สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง” ได้ตรวจสอบ “รายงานค่าใช้จ่ายเงินสนับสนุนฯ ที่พรรคผู้ถูกร้องรายงานไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง  โดยได้ตั้ง “สำนักงานตรวจสอบบัญชีทรัพย์อนันต์” เป็นผู้ตรวจสอบ  ปรากฎข้อเท็จจริงว่า   ทางระบบเอกสาร  พรรคผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปปัตย์ ได้จัดทำ “งบการเงิน” และ “รายงานการใช้จ่ายเงินสนันสนุน ฯ โดยมีหลักฐานการจ่ายเงินครบถ้วนทุกรายการที่ได้รับการสนับสนุนเงินจาก “กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
              □□ ท่านบุญส่ง  วินิจฉัย ว่า (หน้า ๑๓)  การตรวจสอบของ “สำนักงานตรวจสอบบัญชี”  เป็นการตรวจสอบ “หลักฐานทางบัญชี” เป็นหลัก  มิได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า  มีการดำเนินการจัดทำป้ายจริง ตามที่ได้แสดงหลักฐานการใช้จ่าย หรือไม่
        
                  ●● ประเด็น  ปัญหาว่า  บริษัทเมซไซอะได้รับเงินเป็นค่าทำป้ายจากพรรคผู้ถูกร้องแล้ว  บริษัทเมซไซอะ ได้ทำป้ายให้พรรคผู้ถูกร้อง - จริง   หรือไม่
               □□ ท่านบุญส่ง  วินิจฉัย เป็น “ข้อยุติ” ว่า(หน้า ๑๘)   ข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลและพยานเอกสารในสำนวน  ฟังได้ว่า  เงินสนับสนุนพรรคการเมือง จำนวน ๒๓.๓ ล้านบาทที่พรรคผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์)  จ่ายให้บริษัทเมซไซอะ เป็นค่าจ้างทำป้าย  โดยที่บริษัทเมซไซอะ “ไม่ได้ทำป้ายให้” ตามที่พรรคผู้ถูกร้องว่าจ้าง - จริง  
        
                  ท่านบุญส่ง  ได้เรี่มต้นให้ความเห็น ว่า(หน้า ๑๓)  ในการตกลงทำป้าย  มีคู่กรณีอยูj ๒ ฝ่าย  คือ ผู้ว่าจ้าง ได้แก่พรรคผู้ถูกร้อง)   และผู้รับจ้าง ได้แก่ บริษัทเมซไซอะ 
                  ทางไต่สวนได้ความว่า   พรรคผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์)ยืนยันว่า ได้จ้างบริษัทเมซไซอะ   แต่ทางฝ่ายผู้ร้อง (นายทะเบียน)ได้นำ นายประจวบสังขาว (นายคณาปติ) ผู้จัดการบริษัทเมซไซอะ เบิกความ  และนายประจวบยืนยันว่า  ได้รับเงินจำนวน ๒๓ ล้านบาทเศษจากพรรคผู้ถูกร้องจริง  แต่มิได้เอาไปทำป้ายให้พรรคผู้ถูกร้องแต่อย่างใด  เมื่อบริษัทรับเงินมา  วันรุ่งขึ้นก็โอนไปให้บุคคลอื่น ตามที่นายธงชัย คลศรีชัย หรือนายทีซี  สั่งให้โอนเงินเข้าบัญชีในกลุ่มเครือญาติของนายธงชัย แทน ;  ข้อเท็จจริงนี้  ต่างฝ่ายต่างขัดแย้ง  ไม่ตรงกัน  
             □□ ท่านบุญส่ง วินิจฉัย (หน้า ๑๓) ว่า    นายประจวบสังขาว (นายคณาปติ) ผู้จัดการบริษัทเมซไซอะ ได้เคยให้การทำนองเดียวกันนี้ (ทั้งหมด ๕  ครั้ง) คือ  ตั้งแต่ชั้น”กรมสอบสวนคดีพิเศษ  รวม ๓ ครั้ง (ตั้งแต่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ / ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ /  ๒ มีนาคม ๒๕๕๒)   และต่อมาในชั้น “คณะกรรมการสืบสวนสอบสวน”  สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง  (วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒)  นายประจวบสังขาว  ก็ยืนยันทำนองเดียวกัน  และเมื่อมาเบิกความในชั้นศาล  ก็ยินยันคำให้การเช่นเดิมทุกประการ ;   นายประจวบ เป็นพยานสำคัญในคดี  ยืนยันหนักแน่นว่า  ไม่ได้นำเงินที่ได้รับจากพรรคผู้ร้อง(พรรคประชาธิปัตย์)ไปทำป้าย
                ข้อเท็จจริงในเรื่องเงินค่าทำป้าย จำนวน ๒๓ ล้านบาทเศษ  เป็นแต่เพียงอาศัย บริษัทเมซไซอะเป็นทางผ่าน เพื่อนำเงินที่เบิกจากกองทุนฯ  หมุนเวียนถ่ายเทไปสู่ประโยชน์ของกลุ่มบุคคลอื่น  อันเป็นพฤติการณ์ในทางทุจริตฉ้อราษฎรบังหลวง  
        
                ท่านบุญส่ง เห็นว่า  นอกจากคำเบิกความของนายประจวบ ฯ แล้ว  ยังมีพยานเอกสาร และพยานบุคคล เจือสม อีกด้วย  ดังเหตุผลอธิบายประกอบ  ดังนี้  (รวม ๓ ประการ)   
                ประการแรก (หน้า ๑๔)   เทียบเคียงกับ กรณีของนางสาววาศินี  ผู้รับจ้างทำป้ายฟิวเจอร์บอร์ด ของพรรคผู้ร้อง(พรรคประชาธิปัตย์)อีกรายหนึ่ง  ซึงเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกัน คือ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๗ 
                     นางสาววาศินี  ให้การยืนยันว่า  เป็นการจ้างเหมารวมที่นางสาววาศินีเอาไปให้ผู้รับจ้างรายอื่นช่วง  โดยมีนายธงชัย คลศรีชัย เป็นผู้ชำระเงินสดให้นางสาววาศินี   และต่อมาเมื่อนางสาววาศินีจัดทำป้ายเสร็จ ก็ได้มีการส่งมอบตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน ต่อเนื่องเดือนธันวาคม ;  เช่นเดียวกับ กรณีของบริษัทเมซไซอะ   ที่นายประจวบสังขาว (นายคณาปติ)  ได้ยืนยันว่า ได้ส่งมอบป้ายไป “ก่อน” ที่พรรคผู้ถูกร้องจะได้สั่งจ่ายเช็ค วันที่  ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘   และพรรคผู้ถูกร้องได้ให้บริษัทเมซไซอะ ออกใบเสร็จรับเงิน เพื่อนำไปเป็นหลักฐานการแสดงการใช้จ่ายเงินกับ “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” ; นายประจวบให้การว่า  เงินค่าป้ายที่ดำเนินกาไปแล้วนั้น   เป็นการนำเงินบางส่วนที่บริษัท ทีพีไอ โพลีน  โอนให้บริษัทเมซไซอะ ตามสัญญาว่าจ้างโฆษณาอันเป็นนิติกรรมอำพราง  ที่บริษัท ทีพีไอ โพลีน อาศัยบริษัทเมซไซอะ เป็นตัวรับเงินค่าจ้าง และให้บริษัทเมซไซอะ  ผ่านเงินไปให้บุคคลต่าง ๆ ตามที่นายธงชัย คลชัยศรี  เป็นผู้สั่ง
                 □□ ท่านบุญส่ง วินิจฉัยว่า(หน้า ๑๔)  จากข้อเท็จจริงนี้  จึงน่าเชื่อได้ว่า  พรรคผู้ร้องใช้เงินจากแหล่งอื่นไปก่อน  แล้วจึงมาทำหลักฐานการใช้จ่าย “เงินสนับสนุน กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง” ในภายหลัง   ถือว่า   พรรคผู้ถูกร้องใช้จ่ายเงินไม่เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ
        
                  ประการที่สอง (หน้า ๑๕)  ประเด็น  เส้นทางการโอนเงิน(ออก)  ของ บริษัท เมซไซอะฯ เมื่อตรวจสอบหลักฐานเส้นทางการโอนเงิน  ปรากฎว่า  พรรคถูกผู้ร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) จ่ายค่าทำป้ายให้แก่ บริษัท เมซไซอะฯ โดยเช็คธนาคารกรุงไทย จำนวน ๒๓.๓  ล้านบาท และบริษัท เมซไซอะ นำเข้าบัญชีของบริษัทฯ ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘  พบว่า  ในวันรุ่งขึ้น  วันที่ ๑๑ มกราคม  ๒๕๔๘   มีการทำธุรกรรมโอนเงินไปยังกลุ่มบุคคลของนายประจวบสังขาว (นายคณาปติ)  และนายธงชัย คลศรีชัย  โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน
                 พยานบุคคลจำนวนหลายปาก (ท่านบุญส่งไม่ได้ระบชื่อ) ที่อยู่ในกลุ่มของนายประจวบสังขาว (นายคณาปติ)  ซึงเป็นญาติกับนายประจวบให้การสอดคล้องกันว่า  เมื่อนายประจวบโอนเข้าบัญชีแล้ว  ก็ถอนเงินสดคืนให้นายประจวบ ;  นายประจวบสังขาว (นายคณาปติ)   นำเงินสดดังกล่าวไปส่งมอบให้นายธงชัย คลชัยศรี 
                   ท่านบุญส่ง เห็นว่า(หน้า ๑๕)   การที่นายประจวบสังขาว (นายคณาปติ)   นำเงินสดดังกล่าวไปส่งมอบให้นายธงชัย คลชัยศรี  เป็นพฤติการณ์ที่ส่อในในทางพิรุธ  ; โดยเฉพาะการโอนเงินจากบริษัทเมซไซอะ ฯ ไปให้กลุ่มบุคคลที่ใกล้ชิดกับนายธงชัย คลชัยศรี  เช่น  นายโชคชัย คลชัยศรี  พี่ชายของนายธงชัย ,  นางสาวสิรินารถ นารถเสวี  นางสาวเขมรัฎฐ์ ชัยอริยาพงษ์  นางสาวพิมพ์ชนก ชีวาวรนันท์  นางสาวเบญจวรรณ  สันทรอมรรัตน์   เป็นต้น   ซึ่งบุคคลดังกล่าว เป็นเจ้าหน้าที่ของ บริษัท อุสาโท จำกัด  ซึ่งนายโชคชัย และนายธงชัย คลชัยศรี เป็นเจ้าของบริษัทนี้   โดยที่บริษัท เมซไซอะ ฯ ไม่มีหนี้สินใด ๆ กับบุคคลเหล่านี้  ; ทั้งการโอนให้บุคคลดังกล่าว  ก็โอนให้เพียงคนละ ๑.๙ ล้านบาทเท่า ๆ กัน  ล้วนส่อเจตนาเป็นพิรุธ  ที่จะไม่ต้องรายงานธุรกรรมทางการเงินแจ้งต่อ “คณะกรรมการ ป.ป.ง.” ตามระเบียบของทางราชการ
        
                ประเด็นว่า  คำชี้แจงของ นายธงชัย คลชัยศรี  ที่กล่าวว่า  เงินที่ได้รับโอนจากนายประจวบ สังขาว (นายคณาปติ)  เป็น “เงินค่าจ้างรับช่วงงานจาก บริษัท เมซไซอะ ฯ”   จำนวน ๒๓.๓ ล้าน บาท  รับฟังได้เพียงใด
                 นายธงชัย คลชัยศรี   ชี้แจงว่า  เงินที่ได้รับโอนจากนายประจวบ สังขาว (นายคณาปติ  เป็น เงินค่ารับช่วงงานจากบริษัทเมซไซอะ จำนวน ๒๓.๓ ล้าน บาท  โดยนายประจวบ จ่ายค่าจ้างให้ ๒ งวด   งวดแรก วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ (๒๕๔๗ ?) จำนวน ๑๓.๗ ล้านบาท  โดย นายประจวบนำเช็คมามอบให้นายธงชัย  และนายธงชัย นำเช็คโอนเช้าบัญชีเงินฝากนางศิริลักษณ์ ไม้ไทย (ไม่ระบุว่า เป็นใคร) ในวันเดียวกัน (วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๘)  โดยระบุว่า เป็นการชำระหนี้ที่นาย โชคชัย (พี่ชายนายธงชัย) ยืมเงินไปจากนางศิริลักษณ์ฯ  ; งวดที่สอง  นายธงชัยสั่งให้นายประจวบ โอนเงินเข้าบัญชีบุคคลต่าง ๆ  รวม ๙.๕ ล้านบาท ในวันที่ ๑๑ มกราคม   ๒๕๔๘   และนายธงชัย ได้ขอให้เจ้าของบัญชีถอนเงินให้ทั้งหมดในทันที  โดยได้มอบให้ นายนพคุณ อ่วมแจ้ง (ไม่ได้ระบุว่า เป็นใคร)  นำไปชำระแก่ผู้จำหน่ายของชำร่วย ; นายธงชัย ระบุว่า   สาเหตุที่ต้องโอนเงินดังกล่าวชำระหนี้ทันที  เนื่องจากนายธงชัยเป็นหนี้แก่บุคคลหลายรายและถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งที่ศาลแพ่งพิพากษาให้ชำระเงิน ๑๖.๐  ล้านบาท
             □  ท่านบุญส่ง  เห็นว่า(หน้า ๑๖)  คำชี้แจงของนายธงชัยมีข้อพิรุธและขัดแย้งกัน  ไม่น่าเชื่อ  เพราะนายประจวบ สังขาว (นายคณาปติ  ผู้จัดการบริษัทเมซไซอะ) ไม่เคยให้การตอนใด ว่า ได้เคยแบ่งงานที่ได้รับการว่าจ้างจากบริษัท ทีพีไอ ให้แก่นายธงชัย นายธงชัยกล่าวอ้างขึ้นเอง ;  ทั้งเรื่องที่นายธงชัย ให้นายประจวบ โอน “เงินค่าจ้างงวดที่สอง” ผ่านบัญชีบุคคลต่าง ๆ    แล้วให้บุคคลต่าง ๆถอนเงินสดมาให้ เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดทรัพย์บังคับคดีแพ่ง ;   แล้วเหตุใด นายธงชัย ได้นำเช็ค “เงินค่าจ้างงวดแรก   จำนวนถึง ๑๓.๗ ล้าน เข้าบัญชีเงินฝากของนางศิริลักษณ์ ไม้ไทย  ทั้ง ๆ ที่ การโอนดังกล่าวง่ายต่อการตรวจสอบทางบัญชีเพื่อถูกยึดทรัพย์ชำระหนี้คดีแพ่งได้มากกว่า
        
               ประการที่สาม  (หน้า ๑๖) ประเด็นว่า ตามทางไต่สวน  พรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์ได้ยอมรับว่า ทำป้ายไป “ก่อน” ที่จะมีการขออนุมัติปรับปรุงโครงการจากคณะกรรมการกองทุน  แต่อ้างว่าเป็นแนวทางปฏิบีติที่จะต้องรีบดำเนินการไปก่อน  หากรอการอนุมัติของ “คณะกรรมการกองทุนฯ” ก็อาจไม่ทันการ  ทั้งโครงการที่ทำอยู่ก็อยู่ใน “แผนงาน”ที่ได้รับอนุมัติมาแล้วเพียงแต่ขอปรับปรุงแผนงานเดิมเท่านั้น(มิใช่เป็นการปฏิบัติที่ผิดระเบียบ ฯลฯ)  รับฟังได้เพียงใด 
                 □  ท่านบุญส่ง  เห็นว่า(หน้า ๑๖)  ข้อต่อสู้นี้ ไม่อาจรับฟังได้  เนื่องจาก พรบ.ฯ ว่าด้วยพรรคการเมือง ๒๕๔๐ มาตรา ๕๗ และประกาศคณะกรรมการกองทุนฯ  มี”เจตนารมณ์” ที่จะควบคุมการจัดทำโครงการและการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองให้เป็นไปโดยโปร่งใส  หากปล่อยให้แต่ละพรรคการเมืองดำเนินการโครงการและใช้จ่ายเงินโดยไม่มีการควบคุมแล้ว ย่อมจะก่อให้เกิดการแข่งขันกันโดยไม่เป็นธรรม ฯลฯ  ดังนั้น การที่พรรคผู้ถูกร้องดำเนินโครงการและใช้จ่ายเงินไปก่อนที่จะได้รับเงินในวงเงินดังกล่าว ถือเป็นการใช้จ่ายไม่เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ
               นอกจากนี้ (หน้า ๑๗การที่พรรคผู้ถูกร้อง  ขอการปรับปรุงโครงการจาก โครงการป้ายริมทางหลวง(บิลล์บอร์ด)  มาเป็น “ฟิวเจอร์บอร์ด”  พร้อมกับโยก “เงินงบประมาณ”มาใช้และให้บริษัทเมซไซอะ ฯ เป็นผู้รับงานนี้  กลับเห็นว่าเป็นพฤติการณ์ที่พรรคการเมืองผู้ถูกร้องดำเนินการเพื่อมุ่งหวังที่จะนำเงินกองทุนของรัฐ   ถ่ายเทเข้าบริษัทเมซไซอะก่อนการเปลี่ยนถ่ายเงินไปสู่กลุ่มบุคคลในพรรคผู้ถูกร้อง ;  เป็น “พฤติการณ์” มีวิธีการคล้ายคลึงเชื่อมโยงไปถึง กรณีที่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน ทำสัญญารับจ้างโฆษณาอำพราง  ตรงตามที่นายประจวบ สังขาว(นายคณาปติ) ให้การ  ส่อเจตนาไม่สุจริตและไม่โปร่งใส
              □ ท่านบุญส่ง  เห็นว่า (หน้า ๑๗)   หากมีการใช้ “เงินทดรองจ่าย”ของพรรคโดยวิธีการที่ถูกต้องไป”ก่อน”การขออนูมัติแล้ว   ในการขอเปลี่ยนแปลงโครงการ  ก็น่าจะระบุให้ชัดเจนว่า  เอาเงินส่วนใดของพรรคไปจัดทำ และเมื่อได้รับเงินกองทุนฯ  ก็นำไปใช้คืนเงินที่ทดรองจ่าย  ให้เห็นที่มาที่ไปโดยถูกต้องเช่นนี้   ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใด ๆ   เพราะเป็นการดำเนินการโดยโปร่งใส  ทุกฝ่ายตรสจสอบได้  ;  แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฎว่า   “เงินสนับสนุนพรรคการเมือง” ที่พรรคผู้ถูกร้องได้รับ  เปลี่ยนถ่ายไปอยู่ในกลุ่มบุคคลอื่น  โดยมีเงื่อนปมซับซ้อนส่อความเป็นพิรุธไม่โปร่งใส  
                  ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์)ไม่ได้นำสืบหักล้าง “เส้นทางการเงิน”  เพียงแต่ปฏิเสธลอย ๆ  พร้อมกับอ้างว่า   เป็นเรื่องของบริษัท เมซไซอะ ที่ได้รับเงินไปจากพรรคผู้ถูกร้อง  จะไปดำเนินการอย่างไรก็เป็นเรื่องของบริษัทเมซไซอะ   ไม่เกี่ยวกับพรรคผู้ถูกร้อง
        
                ประเด็นว่า นายธงชัย คลศรัชัย คือ ไคร ;  พรรคผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์) ปฏิเสธว่า  นายธงชัย ไม่มีดำแหน่งใด ๆ ในพรรค และพรรคไม่เคยมอบหมายให้ นายธงชัย  เข้าไปทำงานเกี่ยวกับป้ายหาเสียงของพรรคแต่อย่างใด
                ทางไต่สวนได้ความว่า(หน้า ๑๗ และ หน้า ๑๘)   นายธงชัย คลศรัชัย  เกี่ยวพันเป็นญาติลูกพี่ลูกน้องกับ นายประดิษฐ ภัทรประสิทธิ  เลขาธิการพรรคในขณะนั้น ;  และนางสาววาศินี และนายประจวบ สังขาว (นายคณาปติ)  ได้พูดถึงบทบาทของนายธงชัยในการสั่งการให้บุคคลทั้งสองดำเนินการในเรื่องจัดทำป้าย /  การจ่ายเงินรับเงินค่าทำป้าย /การโอนเงินจากบริษัทเมซไซอะ ฯ ไปให้บุคคลต่าง ๆ  ; นายประจวบยืนยันว่า นายธงชัยเป็นคนสั่งการ และได้พบกับนายธงชัยและนายประดิษฐ์ ณ ที่ทำงานพรรคผู้ถูกร้องหลายครั้งในช่วงไปติดต่อรับงานทำป้าย
               □ ท่านบุญส่ง  เห็นว่า (หน้า ๑๘)  ล้วนเป็นเหตุผลเชื่อมโยงให้เห็นว่า นายประดิษฐ์ ผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้อง  ต้องมีส่วนรับทราบหรือรู้เห็นการทำงานของนายธงชัยอยู่บ้าง  จึงได้เชิดให้นายธงชัย   เป็น ตัวแทนในการรับเงินและผลประโยชน์  แทนพรรคผู้ถูกร้อง
        
                  □□   ท่านบุญส่ง วินิจฉัยเป็น “ข้อยุติ” (ในประเด็นวินิจฉัย ที่ ๓) ว่า (หน้า ๑๘)  ข้อเท็จจริงได้ความจากนายประจวบ สังขาว(ผู้จัดการ บริษัท เมซไซอะ) ประกอบพยานบุคคลและพยานเอกสารในสำนวนฟังได้ว่า เงินสนับสนุน ฯ จำนวน ๒๓.๓ ล้านบาทที่พรรคผู้ถูกร้อง จ่ายให้บริษัทเมซไซอะเป็นค่าจ้างทำป้าย โดยที่บริษัทเมซไซอะ ไม่ได้ทำป้ายให้ตามที่พรรคผู้ถูกร้องว่าจ้าง - จริง   ถือได้ว่า  ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) ใช้จ่ายเงินที่ได้รับสนับสนุน จาก “กองทุนเพื่อการพัฒนาการเมือง” ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘  ไม่เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ 
                  □□ และวินิจฉัย เป็น “ข้อยุติ” (ในประเด็นวินิจฉัย ที่ ๔) ว่า (หน้า ๑๘)  การที่ผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) รายงานการใช้จ่ายเงิน โดยใช้เอกสารหลักฐานที่บริษัทเมซไซอะ ทำขึ้น  ย่อมเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้อง  ; เมื่อนำมาใช้ประกอบการจัดทำ “รายงานการใชจ่ายเงินสนับสนุนกองทุน ฯ รอบปี พ.ศ. ๒๕๔๘”  ย่อมมีผลทำให้รายงานดังกล่าว เป็น “รายงานเท็จหรือไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง”  อันเป็นฝ่าฝืน มาตรา ๖๒ แห่ง พรบ. ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ (
        
                 ●● สำหรับ กรณี นางสาววาศินี ทองเจือ  ที่พรรคผู้ถูกร้อง(พรรคประชาธิปัตย์) ว่าจ้างให้ทำป้ายและ ได้จ่ายเงินจากงบประมาณในโครงการไปแล้วนั้น  จะเห็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีก หรือไม่ นั้น
                    □□  ท่านบุญส่ง วินิจฉัยว่า ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
        
        ■■  ประเด็นวินิจฉัยที่ ๕  ในกรณีมีเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้อง   หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค จะต้องถูก “ตัดสิทธิ” หรือ ถูก “เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง”  ตามกฎหมาย (พรบ.ฯ พ.ศ.  ๒๕๔๑ / ประกาศคณะปฏิรูปการปกครอง ฯ พ.ศ. ๒๕๔๙ / พรบ.ฯ  พ.ศ. ๒๕๕๐)  หรือไม่ (หน้า ๑๘ - ๒๐)
                □  ท่านบุญส่ง  เห็นว่า(หน้า ๑๙)    มูลคดีนี้เกิดขึ้น ในระหว่างที่ พรบ.ฯ   ๒๕๔๑ ใช้บังคับ  แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล  ได้มีการประกาศใช้ พรบ.ฯ   ๒๕๕๐ ยกเลิก พรบ.ฯ ๒๕๔๑ ก็ตาม   ย่อมต้องใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้ถูกร้อง (พรรคประชาธิปัตย์)มากที่สุด    เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตามนัยแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗ และ มาตรา ๒๙
                      พรบ.ฯ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑   มาตรา ๖๕ วรรคสอง  ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจยุบพรรคการเมือง เมื่อมีเหตุกระทำการฝ่าฝืน มาตรา ๖๒   และ ตามมาตรา ๖๙  กรณีที่พรรคการเมืองถูกยุบเพราะพรรคการเมืองกระทำการฝ่าฝืน มาตรา ๖๒  “ ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร” ของพรรคการเมืองที่ต้องยุบ  จะขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ / เป็นกรรมการบริหารของพรรคการเมือง / มีส่วนร่วมในการขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ ตามมาตรา ๘  อีกไม่ได้ ฯลฯ   แต่ไม่ “เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” ของหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง ได้ ;  แต่  พรบ.ฯ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.  ๒๕๕๐  ในกรณีที่ต้องยุบพรรคการเมือง ตาม มาตรา ๙๓  เพราะเหตุพรรคการเมืองไม่ดำเนินการ ตาม มาตรา ๘๒  และ ถ้าปรากฎหลักฐานอันเชื่อได้ว่า หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่มีส่วนร่วมรู้เห็น / ปล่อยปละละเลย / ฯลฯ จะต้องถูกสั่ง “เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” มีกำหนด ๕ ปี
                   □□  ท่านบุญส่ง วินิจฉัยว่า(หน้า ๑๙)  พรบ. ประกอบ รธน. ฯ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑  (มาตรา ๖๕ ประกอบกับ มาตรา ๖๙ )  เป็นคุณกว่า การใช้บังคับ พรบ. ประกอบ รธน. ฯ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.  ๒๕๕๐ (มาตรา ๘๒ ประกอบด้วยมาตรา ๙๓)   
                 และไม่อาจนำประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ ๒๗  ข้อ ๓ (พิจารณา “เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” ของกรรมการบริหารพรรค) มาใช้บังคับกับกรณีนี้ ได้ (หน้า ๒๐)   เนื่องจากกรณีนี้  เป็นกรณีที่พรรคการเมือง “ไม่ดำเนินการ ตามที่กฎหมายกำหนด” (มาตรา ๖๒)   มิใช่เป็น  “กรณีที่เป็นข้อห้ามมิให้พรรคการเมืองกระทำการตามมาตรา ๖๖ อันเป็นการกระทำที่มีความร้ายแรง หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง ฯลฯ
        
                 □□  ท่านบุญส่ง วินิจฉัย เป็น “ข้อยุติ”  ว่า(หน้า ๒๐)  (๑) มีคำสั่งให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้อง  ตามมาตรา ๖๕ วรรคสอง ประกอบกับมาตรา ๖๙  ตาม พรบ. ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑  และ (๒) ให้ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ต้องยุบไป  จะขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ / เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง  ตาม มาตรา ๘  อีกไม่ได้  ทั้งนี้ ภายในกำหนด ๕ ปีฯ   (๓) คำขออื่นของผู้ร้อง(นายทะเบียน)นอกนี้ให้ยก
        
                  ================================================
        
        บทสุดท้าย ของ ข้อ ๔.๒        
                   เมื่อท่านผู้อ่าน อ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายของบทความตอนนี้  ก็จะเป็นการจบ  “ข้อ ๔.๒”  (ของ ตอนที่หนึ่ง  ของ“ส่วนที่สาม) ว่าด้วย การสรุปสาระสำคัญ ของ “คำวินิจฉัย - ส่วนตน” ของตุลาการทุกท่าน  ที่ทำการวินิจฉัย คดีประวัติศาสตร์ของศาลรัฐธรรมนูญ  คำวินิจฉัย ที่ ๑๕ / ๒๕๕๓ (คดียุบพรรคประชาธิปัตย์)  
                  ข้อ ๔.๒  เป็นหัวข้อสุดท้าย ของการรวบรวมข้อเท็จจริง(ทั้งหมด)  ทั้งที่ปรากฎอยู่ในคำวินิจฉัย (กลาง) ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๑๕ / ๒๕๕๓ (คดียุบพรรคประชาธิปัตย์) ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓  และที่อยู่ในคำวินิจฉัย - ส่วนตน ของตุลาการทุกท่าน   พร้อมทั้งมีการสรุป จัดระบบการเก็บ”ข้อเท็จจริง”และการกำหนด”ประเด็น”  ที่พร้อมจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ “ความสมบูรณ์”ของการวินิจฉัยคดีของตุลาการได้  ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ “ตุลาการเป็นรายบุคคล” หรือ เป็นการวิเคราะห์โดยรวม
        
               ตัวอย่างเช่น  ถ้าผู้เขียน ต้องการทราบความคิดเห็นและพฤติกรรมของ “ตุลาการ” รายบุคคล   ผู้เขียนก็จะนำ
        “ข้อเท็จจริง”ที่มีอยู่ใน คำวินิจฉัย (กลาง)ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ผู้เขียนได้รวมไว้ให้ในข้อ ๔.๑  มารวมกับ “ข้อเท็จจริง” (รวมทั้งการรับฟังพยาน)  ที่ปรากฎอยู่ใน คำวินิจฉัย -ส่วนตน ของตุลาการทุกท่าน (แต่ไม่มีในคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญ)  และเมื่อรวมกันแล้ว   ผู้เขียนก็จะมี “ข้อเท็จจริง (ในคดี) ” ที่สมบูรณ์ (มากที่สุด เท่าที่ผู้เขียนและบุคคลภายนอกจะสามารถเข้าถึง - access ได้ )  และ  ผู้เขียนก็จะทราบได้ว่า  คำวินิจฉัย (กลาง) ของศาลรัฐธรรมนูญ  ได้ “ตกหล่น” ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญใดไปบ้าง  มากน้อยเพียงใด  ;   และ ต่อจากนั้น ผุ้เขียนก็จะนำเอา “ประเด็น” ต่าง ๆ  (ที่ผู้เขียนได้จัด “แยก” ไว้แล้วในการสรุปสาระสำคัญ) ของตุลาการทุกท่าน  มาเขียนรวมไว้ด้วยกัน   ผู้เขียนก็จะได้ทราบว่า ใน “ประเด็นเดียวกัน”  ท่านตุลาการแต่ละท่าน(ที่แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม)  มี “ความเห็น” ในการวินิจฉัยแตกต่างกันอย่างไร  และมี “เหตุผล” ต่างกันอย่างไร
                 เมื่อผู้เขียนตรวจดู “ข้อเท็จจริง”ตามที่มีอยู่ในคำวินิจฉัย - ส่วนตน ของตุลาการแต่ละท่าน  เปรียบเทียบกับ “ข้อเท็จจริง” รวม (ที่ได้รวบรวมไว้)  และ พิจารณาเปรียบเทียบการให้ “เหตุผล” ใน“ประเด็น” เดียวกันของท่านตุลาการ ๒ กลุ่ม     ผู้เขียนก็จะสามารถ “เขียนวิเคราะห์”  และมองเห็น  “พฤติกรรม” ของตุลาการ (ที่แสดงออกให้เห็นได้ จากการวินิจฉัยชี้ขาดคดี) ได้  เป็นรายบุคคล  ; แต่อย่างไรก็ตาม  โดยที่ บทความนี้  มิได้มีความมุ่งหมายที่วิเคราะห์ “พฤติกรรม” ของท่านตุลาการเป็นรายบุคคล;  ดังนั้น  ถ้าท่านผู้อ่าน ต้องการทราบความคิดเห็นและพฤติกรรมของ “ท่านตุลาการ” เป็นรายบุคคล   ท่านผู้อ่านคงต้องทำเอง
          
                     ผู้เขียนเขียนบทความนี้  มีความมุ่งหมายเพียงที่จะเตือนให้สังคมไทย  ทราบถึง   สาเหตุสำคัญ  ที่ทำให้คำพิพากษา(คำวินิจฉัย)ของศาลของเรา ไม่สามารถสร้างบรรทัดฐาน ให้เป็น “หลักกฎหมายทั่วไป” หรือเป็นกฎเกณฑ์ให้สังคมยึดถือได้   และสิ่งนั้น  ก็คือ  “พฤติกรรม” ของผู้พิพากษา (ตุลาการ)ที่วินิจฉัยชี้ขาดคดี ;  ปัญหา “พฤติกรรม” ของผู้พิพากษา (ตุลาการ)ของเรา  เป็นปัญหาสำคัญและเป็นปัญหาใหญ่  ที่มองไม่เห็นและซ่อนตัวอยู่ในสังคมที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา  เช่น ประเทศไทย    และมีส่วนสำคัญที่ทำให้สังคมไทย  ไม่สามารถพัฒนาไปข้างหน้าให้ทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้
                   ในหัวข้อต่อไป (ช้อ ๔.๓)  จะเป็นการวิเคราะห์ ถึง ปัญหาพฤติกรรม” ของผู้พิพากษา(ตุลาการ)  โดยจะเป็นการวิเคราะห์ในภาพรวมของสภาพปัญหา   พร้อมทั้ง จะพิจารณา หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์ คำพิพากษา(คำวินิจฉัย)ของศาลที่มีลักษณะ  “ผิดปกติ”   โดยจะใช้ตัวอย่าง จาก คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ  ที่ ๑๕ / ๒๕๕๓ (คดียุบพรรคประชาธิปัตย์)  เป็น  case study  
        
                                                                                                                                        ๓๑  พฤษภาคม  ๒๕๕๔
       (จบ    ข้อ ๔.๒  ของตอนที่หนึ่ง  ของ“ส่วนที่สาม” ;  บทความนี้ยังไม่จบ)
        
                              ==========================================
        


 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544