[1] อันที่จริง หลักความเสมอภาคก็ดี หลักความได้สัดส่วนก็ดี ถือเป็นหลักการย่อยของหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล อันเป็นหลักพื้นฐานอย่างหนึ่งของหลักนิติรัฐหรือหลักนิติธรรม แต่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญ สมควรนำมากล่าวแยกไว้เป็นอีกหัวข้อหนึ่งให้เห็นเด่นชัด; โปรดดู วรเจตน์ ภาคีรัตน์,
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม, เรื่องเดิม;และชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์,
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง, (กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์, 2540) น. 28 - 29.
[2] เป็นการอธิบายตามแนวคิดของ Gerhard Leibholz ซึ่งได้รับการยอมรับโดยศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน; Gerhard Leibholz, Die Gleichheit vor dem Gesetz, 1. Aufl., 1925, อ้างถึงใน บรรเจิด สิงคะเนติ,
เรื่องเดิม, น. 159; และโปรดดู Kenneth W. Simons,
The Logic of Egalitarian Norms, Boston University Law Review, (Vol. 80, June, 2000, น. 693 - 771) น. 706 - 709; Thomas Fleiner และ Lidija R. Basta Fleiner,
Constitutional Democracy in a Multicultural and Globalised World, (Heidelberg: Springer-Verlag, 2009) น. 170 - 171.
[3] เรียกว่า ความเสมอภาคของการใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน โปรดดู บรรเจิด สิงคะเนติ,
เรื่องเดิม, น. 183; และโปรดดู รัฐธรรมนูญ, ม. 4, ม. 26, และ ม. 27; อนึ่ง ในทางกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้มีการแยกคำอธิบายระหว่างหลักความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย (Equal before the law) ออกจาก การได้รับความคุ้มครองอย่างเสมอภาคตามกฎหมาย (Equal protection of the law) ซึ่งในกรณีหลังนี้รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายที่ส่งผลกระทบในทางลบ (adverse effect) ด้วย; โปรดดู Nihal Jayawickrama,
Judicial Application of Human Rights Law : National, Regional, and International Jurisprudence, (Cambridge: Cambridge University Press) น. 824 - 825; ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า การพิพากษาคดีโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงเฉพาะรายเป็นการละเมิดหลักการได้รับความคุ้มครองอย่างเสมอภาคตามกฎหมาย.
[4] คดีพรรคชาติไทย,
เรื่องเดิม, น. 93 (คำชี้แจงของผู้ถูกร้อง) ซึ่งแม้แต่ศาลเองก็ระบุว่า
เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจอยู่มาก; โปรดดู น. 99.
[5] อันที่จริง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งคือ นายจรัญ ภักดีธนากุล ซึ่งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย ก็เคยจำแนกความแตกต่างของพฤติการณ์เหล่านี้เทียบไว้ต่อที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550; โปรดดู สมคิด เลิศไพฑูรย์,
การยุบพรรคการเมืองในประเทศไทย หนังสือที่ระลึก 68 ปี รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร, อ้างแล้ว, น. 56 - 57;
[6] ความจำเป็นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมนั้นถือเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่า การเลือกปฏิบัติใด เป็นการเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรม หรือไม่เป็นธรรม ผู้สนใจ โปรดดู สมคิด เลิศไพฑูรย์,
กฎหมายรัฐธรรมนูญ: หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548) น. 79.
[7] โปรดดู รัฐธรรมนูญ, ม. 237 วรรคสอง, พรบ. พรรคการเมือง 2550, ม. 98, และ พรป. การเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550, ม. 137, ม. 139 - 145, ม. 148, ม. 151 - 152, และ ม. 156 - 157.
[8] โปรดเทียบกรณีการจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ หรือยื่นบัญชีที่มีข้อความเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ซึ่งต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 263.
[9] คดีพรรคชาติไทย,
เรื่องเดิม, น. 97; และคดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย,
เรื่องเดิม, น. 15; หรือการตีความคำว่า ให้ถือว่า เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด แม้ศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ ก็เป็นการตีความตามลายลักษณ์อักษรเช่นกัน; โปรดดู คดีพรรคชาติไทย,
เรื่องเดิม, น. 98, และ 100; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย,
เรื่องเดิม, น. 16 และ 19; คดีพรรคพลังประชาชน,
เรื่องเดิม, น. 23 และ 26.
[10] คดีพรรคชาติไทย,
เรื่องเดิม, น. 96, และ 100 โดยลำดับ; คดีพรรคมัชฌิมาธิปไตย,
เรื่องเดิม, น. 14 และ 19 โดยลำดับ; คดีพรรคพลังประชาชน,
เรื่องเดิม, น. 20, และ 26 โดยลำดับ; และโปรดเทียบ คำอภิปรายของนายประพันธ์ นัยโกวิท รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และนายจรัญ ภักดีธนากุล ต่อที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550 ใน สมคิด เลิศไพฑูรย์,
การยุบพรรคการเมืองในประเทศไทย หนังสือที่ระลึก 68 ปี รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร, เรื่องเดิม, น. 47 - 57.
[11] วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และคณะ,
แถลงการณ์ของคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 6, ข้อ 5; ผู้สนใจเกี่ยวกับนิติวิธีการตีความกฎหมายมหาชน โปรดดู วรเจตน์ ภาคีรัตน์,
การใช้และการตีความกฎหมายมหาชน, วารสารวิชาการศาลปกครอง, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม) 2551.
[12] วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และคณะ,
เรื่องเดิม, ข้อ 4.
[13] เรื่องเดียวกัน, ข้อ 7.
[14] BVerfGE 14, 32 (1) [Southwest State Case] อ้างถึงใน Donald P. Kommers,
เรื่องเดิม, น. 199.
[15] David P. Currie,
The Constitution of the Federal Republic of Germany, (Chicago: University of Chicago Press, 1994), น. 218 - 219.
[16] Heinz Klug,
South Africa: From Constitutional Promise to Social Transformation, ใน Jeffrey Goldsworthy,
Interpreting Constitutions - A Comparative Study, (New York: Oxford University Press, 2007) น. 301 - 302.
[17] S. P. Sathe,
India: From Positivism to Structuralism, ใน Jeffrey Goldsworthy,
Interpreting Constitutions - A Comparative Study, (New York: Oxford University Press, 2007) น. 242 - 248.
[18] เช่น คดี McCulloch v. Maryland (1819) 17 US 316 และคดี National League of Cities v. Usery (1976) 426 US 833; โปรดดู Donald P. Kommers,
เรื่องเดิม, น. 199; และ Mark Tushnet,
The United States: Eclecticism in the Service of Pragmatism, ใน Jeffrey Goldsworthy,
Interpreting Constitutions - A Comparative Study, (New York: Oxford University Press, 2007) น. 30 - 32.
[19] คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 6/2543, น.; นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญยังอาศัยจารีตประเพณีมาอธิบายประกอบการวินิจฉัยดังกล่าวด้วย
[20] แม้ไม่ปรากฎชัดแต่ก็สะท้อนจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 และมาตรา 195.
[21] สมมุติต่อไปอีกว่า หากศาลรัฐธรรมนูญตีความอย่างเคร่งครัดตามลายลักษณ์อักษรให้ ทุกพระองค์ซึ่งล้วนแล้วแต่มี สภาพบุคคล ต้องมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว ก็คงนำมาซึ่งผลการตีความกฎหมายที่พิลึก และดึงดูดคำวิพากษ์วิจารณ์ที่รุนแรงหนักหน่วงเป็นแน่
[22] หรือ
Ewigkeitsklausel ในภาษาเยอรมัน; การเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติถาวรตลอดกาลนี้ แม้จะกระทำโดยกระบวนการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญก็มิได้ กระทำได้เพียงอย่างเดียวคือ การยกเลิกรัฐธรรมนูญ และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่; อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลสูงสุดของหลายประเทศ เคยวินิจฉัยว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการลิดรอนหลักการพื้นฐานของบทบัญญัติถาวรนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เป็นอันใช้บังคับมิได้.
[23] ตำราวิชาการหลายต่อหลายเล่มก็อธิบายเช่นนั้น อาทิ งานเขียน Ronald Dworkin, John Rawls, TRS Allen ฯลฯ หนังสือภาษาไทยก็เช่น บรรเจิด สิงคะเนติ,
เรื่องเดิม, น. 19; วรพจน์ วิศรุตพิชญ์,
นิติรัฐ: หลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญเสรีประชาธิปไตย, ใน
ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานในกฎหมายมหาชน, (กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2540) น.1 - 7; นอกจากนี้ยังมีหลักการปลีกย่อยอื่น ๆ อีก เช่น หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักความมั่นคงแน่นอนของกฎหมาย หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยศาล ทั้งนี้ โดยสารัตถะแล้วจะคล้ายคลึงกัน ต่างกันตรงที่การจัดหมวดหมู่และกำหนดชื่อหัวข้อเท่านั้น
[24] เช่น บรรเจิด สิงคะเนติ,
เรื่องเดิม, น. 19 - 32.
[25] บวรศักดิ์ อุวรรณโณ,
กฎหมายมหาชน เล่ม 3: ที่มาและนิติวิธี, (กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2538) น. 19 - 22.
[26] David P. Currie,
เรื่องเดิม, น. 219
[27] ยิ่งรัฐธรรมนูญฉบับนั้นมีอายุยาวนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการยืนยันข้อสังเกตุข้อนี้ เช่นที่ในระบบกฎหมายอเมริกันมีข้อถกเถียงเรื่องนี้อย่างมาก; ผู้สนใจโปรดดู David A. Strauss,
The Living Constitution, (New York: Oxford University Press, 2010) หรือ Walter F. Murphy, et al.,
American Constitutional Interpretation, (New York: Foundation Press, 3
rd edition, 2003) น. 385 - 439.
[28] ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญ 2540, ม. 287 เทียบมาตรา 286 รัฐธรรมนูญ 2550.
[29] ผู้สนใจเกี่ยวกับช่องทางการนำหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนในกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้อ้างอิงในระบบกฎหมายและศาลไทย โปรดดู รัฐธรรมนูญ มาตรา 257 และโปรดดู บรรเจิด สิงคะเนติ,
การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชน,
วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2553).
[30] ส่วนทฤษฎีเอกนิยม (Monism) ถือว่า กฎหมายระหว่างประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกฎหมายภายใน เมื่อสนธิสัญญาได้รับการให้สัตยาบันโดยถูกต้องแล้ว สนธิสัญญาดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเสมือนหนึ่งเป็นกฎหมายภายในโดยทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีการออกฎหมายอนุวัติการ และเมื่อมีข้อพิพาทไปสู่ศาล ศาลก็จะนำเนื้อความในสนธิสัญญามาบังคับใช้โดยตรงกับข้อเท็จจริงในคดี; โปรดดู บวรศักดิ์ อุวรรณโณ,
กฎหมายมหาชน เล่ม 3: ที่มาและนิติวิธี, (กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2538), หน้า 55 - 73; อย่างไรก็ดี ศาลไทยก็เคยอ้างถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเป็นเหตุผลประกอบการพิพากษาคดี แม้มิใช่ในฐานะบทกฎหมายที่ศาลใช้บังคับแก่คดีก็ตาม; โปรดดู คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 607 - 608 / 2549 วันที่ 16 พฤษภาคม 2549.
[31] โปรดดู รธน. 2550, ม. 190 [รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190]; รธน. 2540, ม. 224; รธน. 2534, ม. 178; รธน. 2521, ม. 162; รธน. 2517, ม. 195; รธน. 2511, ม. 150; รธน. 2475 แก้ไข 2495, ม. 192; รธน. 2492, ม.154; รธน. ชั่วคราว 2490, ม. 84; รธน. 2489, ม.76; รธน. 2475, ม. 54.
[32] อนึ่ง ด้วยเหตุที่รัฐไทยมิได้ลงนามและให้สัตยาบันที่จะผูกพันตามพิธีสารทางเลือกฉบับที่ 1(First Optional Protocol) ซึ่งเปิดช่องให้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Committee - HRC) ตาม ICCPR พิจารณาและทำความเห็นเกี่ยวกับคำร้องส่วนบุคคล (Individual Complaints) ได้ ดังนั้น ปัจเจกชนจึงไม่อาจยื่นคำร้องให้ HRC พิจารณาข้อร้องเรียนว่า รัฐไทยละเมิดสิทธิเสรีภาพในประการต่าง ๆ ตาม ICCPR ได้; โปรดดู เว็ปไซต์ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (HRC) ที่ ; และโปรดดู Dominic McGoldrick,
The Human Rights Committee: Its Role in the Development of the International Covenant on Civil and Political Rights, (Oxford: Clarendon Press, 1991) น. 120 - 127.
[33] รธน. 2549, ม. 3 [รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549] บัญญัติว่า
ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้
[34] ศาลอื่นก็เช่นกัน กรณีศาลปกครอง ดูมาตรา 257 (3) กรณีศาลยุติธรรม ดูมาตรา 257 (4) แต่ทั้งนี้ ตามตัวบทไม่รวมถึงศาลทหาร
[35] (ร่าง) รัฐธรรมนูญ ฉบับรับฟังความคิดเห็น (26 เมษายน 2550), ม. 4
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลทั้งที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญนี้ ตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ย่อมได้รับความคุ้มครอง ซึ่งข้อความที่ขีดเส้นใต้นี้ ถูกตัดทิ้งทั้งหมด โปรดดู รัฐธรรมนูญ 2550, ม. 4 ประกอบ.
[36] กรณีศาลปกครอง ต้องมี (ก) (ข) และ (ค.1) หรือ (ค.2) ส่วนกรณีศาลยุติธรรม ต้องมี (ก) (ข) และ (ค.3)
[37] รัฐไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ (Accession) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลใช้บังคับในวันที่ 30 มกราคม 2540 นอกจากนี้ ยังมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ไทยเป็นภาคีและมีการรับรองเสรีภาพในการรวมกลุ่ม อาทิ มาตรา 7 (c) แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women - CEDAW) มาตรา 15 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC). โปรดดู เว็บไซต์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ [www.nhrc.or.th]
[38] โปรดดู บทสรุปเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยกรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร. บรรเจิด สิงคะเนติ จำแนกออกเป็น 3 แนวทางได้ใน
การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชน,
วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2553) น. 54 - 55.
[39] แม้ว่ามาตรา 22 (1) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งบัญญัติรับรองเสรีภาพในการรวมกลุ่มจะมิได้กล่าวถึงพรรคการเมืองไว้อย่างชัดแจ้งเหมือนการรวมกลุ่มในรูปสหภาพแรงงาน แต่เมื่อพิเคราะห์รายงานการประชุมการจัดทำยกร่างบทมาตราดังกล่าวแล้วสามารถอนุมานถึงเจตนารมณ์ของผู้ร่างได้ว่า เสรีภาพในการรวมกลุ่มตามมาตรานี้ครอบคลุมถึงการจัดตั้งพรรคการเมืองด้วย; โปรดดู K.J. Partsch,
Freedom of Conscience and Expression, and Political Freedom, ใน L. Henkin (ed
.) The International Bill of Rights. The Covenant on Civil and Political Rights, (New York/ Guildford: Columbia University Press, 1981),น. 235, อ้างถึงใน Eva Brems,
Freedom of Political Association and the Question of Party Closures, ใน Wojciech Sadurski (ed.),
Political Rights under Stress in 21st Century Europe, (Oxford: Oxford University Press, 2006), น. 121.
[40] เช่น คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนเคยตั้งข้อสังเกตว่า ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียวของเวียดนามนั้นขัดต่อเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามมาตรา 22 ของ ICCPR. โปรดดู
Concluding Observations of the Human Rights Committee: Viet Nam, 26 July 2002, CCPR/CO/75/VNM, §20,
[41] Human Rights Committee, General Comment No. 25: The Right to Participate in Public Affairs, Voting Rights, and the Rights of Equal Access to Public Service (Art.25), 12 July 1996, CCPR/C/21/REV.1/Add.7. §26,
.
[42] Human Rights Committee, Communication No. 628/1995,
Tae Hoon Park v. Republic of Korea, 20 October 1998; อ้างถึงใน Eva Brems,
เรื่องเดิม, น. 122 - 123.
[43] โปรดดู เว็ปไซต์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
[44] Concluding Observations of the Human Rights Committee: Republic of Moldova, 26 July 2002, CCPR/CO/75/MDA, §16.
< http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/0/7945fe5e4947c21bc1256c3300339d88?Opendocument>
[45] Human Rights Committee,
Communication No. 34/1978 of 8 April 1981 [CCPR/C/12/D/34/1978. (Jurisprudence)], § 8.4;
[46] รัฐธรรมนูญ, ม. 257 (1); และ พรบ. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2542, ม. 15 (6).
[47] มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2548 ได้มอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมและสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานในการจัดทำรายงานประเทศตามพันธกรณีภายใต้ ICCPR; โปรดดู
จดหมายข่าวกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ฉบับที่ 71/2553
[48] รายงานฉบับที่สองของไทยถึงกำหนดวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2009; ICCPR, art. 40; ผู้สนใจโปรดดู Dominic McGoldrick,
เรื่องเดิม, น. 62 - 119.