หน้าแรก บทความสาระ
เปิดร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร ฉบับประชาชน
คุณชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ
2 มกราคม 2554 18:59 น.
 
กระแสของการต่อต้านการรวมศูนย์อำนาจได้แผ่ขยายไปทั่วทุกภูมิภาค มีการเรียกร้องให้ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคมากขึ้นอย่างหนาตา ในทำนองกลับกันก็มีการพยายามยื้อยุดมิให้มีการรณรงค์ดังกล่าว จนถึงกับมีการป้ายสีไปว่าเป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดนไปเลยก็มี ผมจึงอยากจะนำเสนอร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร ฉบับประชาชนที่ผมได้ยกร่างขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบของจังหวัดอื่นอีก 74 จังหวัดเพื่อนำไปสู่การถกแถลงและปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ และนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงดังนานาอารยประเทศทั้งหลาย
       
       
       ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
       เชียงใหม่มหานคร พ.ศ. .......
       ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
       มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ เชียงใหม่มหานคร พ.ศ. 2528"
       
       มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
       
       มาตรา 3 ให้ยกเลิก……………….. พ.ศ. ................
       
       มาตรา 4 บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดอ้างถึง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอ ตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้น อ้างถึงเชียงใหม่มหานคร เขตหรือแขวง ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัตินี้
       
       มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
       
       หมวด 1
       การจัดระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร
       __________
       มาตรา 6 ให้เชียงใหม่มหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วน ท้องถิ่น มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้และมีอาณาเขตท้องที่ตามที่เชียงใหม่มหานครมี อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่เชียงใหม่มหานครให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
       มาตรา 7 ให้แบ่งพื้นที่การบริหารเชียงใหม่มหานครเป็นเขตและแขวงตามพื้นที่อำเภอ และตำบลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
       การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศของกระทรวง มหาดไทย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       ในเขตหนึ่งถ้าเห็นสมควรอาจแบ่งพื้นที่การบริหารออกเป็นแขวงก็ได้ การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงให้ทำเป็นประกาศของเชียงใหม่มหานคร และให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
       
       มาตรา 8 บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงเขตท้องที่จังหวัดให้หมายถึงเชียงใหม่มหานคร อ้างถึงเขตท้องที่อำเภอให้หมายถึงเขต อ้างถึงเขตท้องที่ตำบลให้หมายถึงแขวง อ้างถึงหัวหน้าเขตให้หมายถึงผู้อำนวยการเขตตามพระราชบัญญัตินี้
       
       หมวด 2
       การบริหารเชียงใหม่มหานคร
       __________
       มาตรา 9 การบริหารเชียงใหม่มหานคร ประกอบด้วย
       (1) สภาเชียงใหม่มหานคร
       (2) ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร
       
       ส่วนที่ 1
       สภาเชียงใหม่มหานคร
       ___________
       มาตรา 10 สภาเชียงใหม่มหานครประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมีจำนวน ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 11
       มาตรา 11 การเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครจะกระทำได้เมื่อได้มี พระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
       การกำหนดเขตเลือกตั้ง ให้ถือเกณฑ์ราษฎรหนึ่งแสนคนเป็นประมาณโดย พยายามจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ต้องไม่เป็น การนำเอาพื้นที่ของเขตหนึ่งไปรวมกับเขตอื่นหรือนำเอาพื้นที่เพียงบางส่วนของแขวงหนึ่ง ไปรวมกับแขวงอื่น
       ในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้มีสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครได้หนึ่งคน ถ้าเขตใดมีจำนวน ราษฎรไม่พอที่จะจัดให้เป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง ก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร ในเขตนั้นหนึ่งคนและให้ถือเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่ง
       การกำหนดเขตเลือกตั้งให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรตามหลักฐานการ ทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร และให้ทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
       หลักเกณฑ์และวิธีการของการกำหนดเขตเลือกตั้ง จำนวนแตกต่างของราษฎรใน แต่ละเขตเลือกตั้ง และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา เชียงใหม่มหานคร และผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 12 บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
       (1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้อง ได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
       (2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
       
       (3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
       
       มาตรา 13 บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคล ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร คือ
       (1) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
       (2) ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
       (3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
       (4) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
       
       มาตรา 14 ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครต้องมี คุณสมบัติดังต่อไปนี้
       (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
       (2) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ
       (3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเชียงใหม่มหานครเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวัน สมัครไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเชียงใหม่มหานครและ ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุง ท้องที่ให้เชียงใหม่มหานครในปีที่สมัครหรือปีก่อนที่สมัครหนึ่งปี
       
       มาตรา 15 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร คือ
       (1) ติดยาเสพติดให้โทษ
       (2) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
       
       (3) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 13 (1) (3) หรือ (4)
       (4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
       (5) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง ห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
       (6) เป็นบุคคลหูหนวกและเป็นใบ้
       (7) เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
       (8) เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
       (9) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
       (10) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของ ราชการส่วนท้องถิ่น
       (11) เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจไล่ออก ปลดออก ให้ออกหรือ เลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
       (12) เป็นผู้ถูกถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครถึงวัน สมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบสี่ปี
       (13) เป็นผู้ถูกให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครตามมาตรา 23 (8) ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบสี่ปี
       (14) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะ ร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
       
       มาตรา 16 อายุของสภาเชียงใหม่มหานครมีกำหนดคราวละสี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง สมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร
       เมื่ออายุของสภาเชียงใหม่มหานครสิ้นสุดลง ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภา เชียงใหม่มหานครขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่อายุของสภาเชียงใหม่มหานครสิ้นสุดลง และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกัน ทั่วเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 20 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งและ อยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภาเชียงใหม่มหานคร เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราว ออกตามอายุของสภาเชียงใหม่มหานครหรือมีการยุบสภาเชียงใหม่มหานคร ให้มีการเลือกตั้งสมาชิก สภาเชียงใหม่มหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน เว้นแต่อายุของสภาเชียงใหม่มหานครจะเหลือ ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน สมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครผู้เข้ามาแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของ สภาเชียงใหม่มหานครที่เหลืออยู่
       
       มาตรา 21 สมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของเชียงใหม่มหานคร หรือบริษัท ซึ่งเชียงใหม่มหานครถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
       
       มาตรา 22 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครสิ้นสุดลงด้วยเหตุใด เหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
       (1) ถึงคราวออกตามอายุของสภาเชียงใหม่มหานครหรือมีการยุบสภาเชียงใหม่มหานคร
       (2) ตาย
       (3) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภาเชียงใหม่มหานครและให้มีผล นับแต่วันถัดจากวันยื่นหนังสือลาออก
       (4) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 14 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 15 เว้นแต่ กรณีตามมาตรา 15 (4)
       (5) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 20
       (6) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ
       (7) ขาดการประชุมสภาเชียงใหม่มหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลา ไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาเชียงใหม่มหานคร
       
       (8) สภาเชียงใหม่มหานครวินิจฉัยให้ออกเพราะเห็นว่า ได้กระทำการอันเป็นการ เสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง มติของสภาเชียงใหม่มหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาเชียงใหม่มหานคร ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่ วันที่สภาเชียงใหม่มหานครลงมติ
       (9) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเชียงใหม่มหานครได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจาก ตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร ท้องถิ่น และถ้าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งหมดเพราะเหตุ ดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการยุบสภาเชียงใหม่มหานคร
       ในกรณีตาม (8) ให้กระทำเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร้องขอ หรือเมื่อ สมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอเป็น ญัตติให้สภาเชียงใหม่มหานครพิจารณา
       
       มาตรา 23 ในกรณีที่มีข้อกล่าวหาว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร สิ้นสุดลงเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 22 (4) (5) หรือ (7) ให้ประธานสภากรุงเทพ มหานครดำเนินการสอบสวน ถ้าประธานสภาเชียงใหม่มหานครรายงานว่าสมาชิกภาพของสมาชิก คนนั้นสิ้นสุดลงตามข้อกล่าวหานั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วย ให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
       การพ้นจากตำแหน่งตามมาตรานี้ ให้นำมาตรา 53 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
       
       มาตรา 24 ให้สภาเชียงใหม่มหานครเลือกสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครเป็น ประธานสภาเชียงใหม่มหานครคนหนึ่งและรองประธานสภาเชียงใหม่มหานครไม่เกินสองคน โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
       ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อประธานสภาและรองประธาน สภาเชียงใหม่มหานครผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา
       ประธานสภาและรองประธานสภาเชียงใหม่มหานครดำรงตำแหน่งตามวาระ คราวละสองปี
       
       มาตรา 25 ประธานสภาหรือรองประธานสภาเชียงใหม่มหานครพ้นจากตำแหน่ง ก่อนถึงวาระด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร (2) ลาออกจากตำแหน่งโดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก (3) เมื่อสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเข้าชื่อเสนอญัตติให้สภาเชียงใหม่มหานครมีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธาน สภาเชียงใหม่มหานครใหม่ และสภาเชียงใหม่มหานครมีมติตามนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดโดยให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อได้มีการเลือกตั้งประธานสภาหรือ รองประธานสภาเชียงใหม่มหานคร แล้วแต่กรณี ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้สภาเชียงใหม่มหานครเลือกประธานสภาหรือรองประธาน สภาเชียงใหม่มหานครคนใหม่ขึ้นแทน แล้วแต่กรณี และให้ผู้ได้รับเลือกนั้นอยู่ในตำแหน่ง ตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
       
       มาตรา 26 ประธานสภาเชียงใหม่มหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของ สภาเชียงใหม่มหานครให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภาเชียงใหม่มหานคร
       รองประธานสภาเชียงใหม่มหานครมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการแทนประธาน สภาเชียงใหม่มหานครเมื่อประธานสภาเชียงใหม่มหานครไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือ ตามที่ประธานสภาเชียงใหม่มหานครมอบหมาย
       เมื่อประธานสภาและรองประธานสภาเชียงใหม่มหานครไม่อยู่ในที่ประชุมหรือ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้สมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครเลือกสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครคนหนึ่ง ทำหน้าที่ประธานเฉพาะในการประชุมคราวนั้น
       
       มาตรา 27 ให้มีเลขานุการประธานสภาเชียงใหม่มหานครหนึ่งคน และเลขานุการ รองประธานสภาเชียงใหม่มหานครไม่เกินจำนวนรองประธานสภาเชียงใหม่มหานคร โดยประธาน สภาเชียงใหม่มหานครเป็นผู้แต่งตั้ง
       
       มาตรา 28 สภาเชียงใหม่มหานครมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของ สมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร ข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของ ประธานสภาเชียงใหม่มหานคร รองประธานสภาเชียงใหม่มหานคร และคณะกรรมการสามัญหรือ วิสามัญของสภาเชียงใหม่มหานคร วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติ การเสนอ ญัตติ การปรึกษา การอภิปราย การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษา ระเบียบ และความเรียบร้อยของกิจการอื่นอันเป็นหน้าที่ของสภาเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 29 ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครอันเป็น การเลือกตั้งทั่วไป ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมสภาเชียงใหม่มหานครเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
       ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของสภาเชียงใหม่มหานครไม่น้อยกว่าสองสมัย แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย จำนวนสมัยประชุมสามัญและวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีแต่ละสมัย ให้สภาเชียงใหม่มหานครกำหนด
       สมัยประชุมสามัญของสภาเชียงใหม่มหานครสมัยหนึ่ง ๆ ให้มีกำหนดเวลา สามสิบวัน แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภาเชียงใหม่มหานครสั่งขยายสมัยประชุมสามัญออกไป อีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
       การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน จะกระทำได้แต่โดย ความเห็นชอบของสภาเชียงใหม่มหานคร
       ให้ประธานสภาเชียงใหม่มหานครเป็นผู้เรียกประชุมสภาเชียงใหม่มหานครตาม สมัยประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
       
       มาตรา 30 นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อมีกรณีเป็นการจำเป็นเพื่อ ประโยชน์ของเชียงใหม่มหานคร ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครหรือสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด อาจทำคำร้องยื่นต่อประธานสภา เชียงใหม่มหานคร ขอให้เรียกประชุมสภาเชียงใหม่มหานครเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้ ให้ประธานสภาเชียงใหม่มหานครเรียกประชุม โดยกำหนดวันประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่ วันได้รับคำร้อง
       สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธาน สภาเชียงใหม่มหานครสั่งขยายสมัยประชุมวิสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกิน สิบห้าวัน
       
       การปิดสมัยประชุมวิสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน จะกระทำได้แต่โดย ความเห็นชอบของสภาเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 31 การประชุมสภาเชียงใหม่มหานครทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
       ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร รองผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร และหรือผู้ที่ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครมอบหมาย มีสิทธิเข้าประชุมสภาเชียงใหม่มหานคร และมีสิทธิแถลง ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลง คะแนน
       
       มาตรา 32 การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ เว้นแต่ที่มี บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้ หรือในข้อบังคับการประชุมสภาเชียงใหม่มหานคร
       สมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
       
       มาตรา 33 ห้ามมิให้สภาเชียงใหม่มหานครประชุมปรึกษาหารือในเรื่องนอกเหนือ อำนาจหน้าที่
       
       มาตรา 34 การประชุมของสภาเชียงใหม่มหานครย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะ ที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมสภาเชียงใหม่มหานคร แต่ถ้าหากผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร หรือสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร้องขอ ให้ประชุมลับก็ให้ประชุมลับ
       
       มาตรา 35 ในที่ประชุมสภาเชียงใหม่มหานคร สมาชิกย่อมมีสิทธิตั้งกระทู้ ถามผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของเชียงใหม่มหานคร แต่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้น ๆ ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 36 สมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวน สมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร ญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานสภาเชียงใหม่มหานคร และให้ประธาน สภาเชียงใหม่มหานครแจ้งไปยังผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร เพื่อกำหนดวันเวลาสำหรับการเปิด อภิปรายทั่วไป ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครได้รับแจ้ง การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้สภาเชียงใหม่มหานครจะลงมติในปัญหา ที่อภิปรายมิได้
       
       มาตรา 37 สภาเชียงใหม่มหานครมีอำนาจเลือกสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครตั้ง เป็นคณะกรรมการสามัญของสภาเชียงใหม่มหานคร และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภา เชียงใหม่มหานครหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของ สภาเชียงใหม่มหานคร เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ใน อำนาจหน้าที่ของเชียงใหม่มหานคร แล้วรายงานต่อสภาเชียงใหม่มหานคร
       ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครหรือ บุคคลผู้มิได้เป็นสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร ให้สภาเชียงใหม่มหานครตั้งเป็นกรรมการในคณะ กรรมการวิสามัญได้ จำนวนกรรมการที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครมีสิทธิเสนอนั้นให้เป็นไป ตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภาเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 38 คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ ให้มี กรรมการจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาเชียงใหม่มหานคร และผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร ให้สภาเชียงใหม่มหานครตั้งเป็นกรรมการได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการ ทั้งคณะ
       
       มาตรา 39 การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา 37 และมาตรา 38 ต้องมี กรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม และให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภาเชียงใหม่มหานครโดยอนุโลม
       
       มาตรา 40 คณะกรรมการของสภาเชียงใหม่มหานครมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ ของเชียงใหม่มหานครมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่อง ที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ ทั้งนี้ จะกระทำนอกสมัยประชุมของสภากรุงเทพ มหานครก็ได้ และถ้ามีความจำเป็นคณะกรรมการแต่ละคณะ อาจตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นพิจารณา รายละเอียดในเรื่องที่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการแล้วเสนอรายงานต่อคณะกรรมการก็ได้
       
       มาตรา 41 คณะกรรมการสามัญของสภาเชียงใหม่มหานคร ให้มีวาระการปฏิบัติ หน้าที่คราวละสองปี
       คณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา 37 และมาตรา 38 ให้สิ้นสภาพไปหลังจากที่ได้ ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายและเสนอรายงานต่อสภาเชียงใหม่มหานครเรียบร้อยแล้ว
       
       มาตรา 42 ให้ประธานสภาเชียงใหม่มหานคร รองประธานสภาเชียงใหม่มหานคร และสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร รวมทั้งคณะกรรมการที่สภาเชียงใหม่มหานครตั้งขึ้น หรือคณะ อนุกรรมการที่คณะกรรมการตั้งขึ้นได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทน อื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของเชียงใหม่มหานคร
       ส่วนที่ 2
       ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร
       ___________
       มาตรา 43 ให้เชียงใหม่มหานครมีผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครคนหนึ่งซึ่งราษฎร เลือกตั้งขึ้น โดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
       การเลือกตั้งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
       หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครและผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร
       ผลของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       
       มาตรา 44 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครต้องมีคุณสมบัติตาม มาตรา 12 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 13
       
       มาตรา 45 ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครต้องเป็น ผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 14 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 15
       
       มาตรา 46 ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่ วันเลือกตั้ง
       เมื่อผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้จัดการเลือกตั้งขึ้น ใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครว่างลงโดย เหตุอื่น ให้ทำการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในเก้าสิบวัน และให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งโดย เริ่มนับวาระใหม่
       
       มาตรา 47 ให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง
       ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครภายในเจ็ดวัน นับแต่วันเลือกตั้ง
       
       มาตรา 48 ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
       (1) กำหนดนโยบายและบริหารราชการของเชียงใหม่มหานครให้เป็นไปตาม กฎหมาย
       (2) สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของเชียงใหม่มหานคร
       (3) แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการ เชียงใหม่มหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรง คุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครหรือ เป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ
       (4) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
       (5) วางระเบียบเพื่อให้งานของเชียงใหม่มหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย
       (6) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานคร
       (7) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น
       
       มาตรา 49 ให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการเชียงใหม่มหานครและลูกจ้างเชียงใหม่มหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของเชียงใหม่มหานคร และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
       
       มาตรา 50 ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร
       (1) ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงาน ของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของเชียงใหม่มหานครหรือบริษัทซึ่งเชียงใหม่มหานคร ถือหุ้นหรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
       (2) ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการหรือหน่วยงาน ของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของเชียงใหม่มหานครหรือบริษัทซึ่งเชียงใหม่มหานคร ถือหุ้นนอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ หรือบริษัทปฏิบัติกับบุคคลอื่นในธุรกิจการงานตามปกติ
       (3) ต้องไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับเชียงใหม่มหานครหรือ การพาณิชย์ของเชียงใหม่มหานครหรือบริษัทซึ่งเชียงใหม่มหานครถือหุ้น เว้นแต่กรณีที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครได้เป็นคู่สัญญาหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาอยู่ก่อนได้รับการเลือกตั้ง
       บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญหรือเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครรับเงินตอบแทน เงินค่าเบี้ยประชุม หรือเงินอื่นใด เนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภาหรือวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร หรือสภา เชียงใหม่มหานครหรือสภาท้องถิ่นอื่น หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง
       
       มาตรา 51 ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
       (1) ถึงคราวออกตามวาระ
       (2) ตาย
       
       (3) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และให้มี ผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
       (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 ยกเว้น ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 15 (4)
       (5) กระทำการอันต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50
       (6) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ
       (7) มีการยุบสภาเชียงใหม่มหานคร
       (8) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ออกจาก ตำแหน่งเมื่อมีกรณีแสดงให้เห็นว่า ได้กระทำการอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหรือ ปฏิบัติการหรือละเลยไม่ปฏิบัติการอันควรปฏิบัติในลักษณะที่เห็นได้ว่าจะเป็นเหตุให้เสียหายอย่าง ร้ายแรงแก่เชียงใหม่มหานครหรือแก่ราชการโดยส่วนรวมหรือแก่การรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ สวัสดิภาพของประชาชน
       (9) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเชียงใหม่มหานครได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจาก ตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร ท้องถิ่น
       ในกรณีมีพฤติการณ์ดังที่ระบุไว้ตาม (8) สภาเชียงใหม่มหานครจะมีมติขอให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก็ได้ มติของสภาเชียงใหม่มหานคร ในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาเชียงใหม่มหานคร ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งมติของสภาเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 52 เมื่อปรากฏกรณีตามมาตรา 51(4) หรือ (5) ให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยสั่งให้มีการสอบสวนก่อนมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง แต่ผู้ถูกสั่งให้พ้นจาก ตำแหน่งมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ให้พ้นจากตำแหน่ง
       ในระหว่างรอคำพิพากษาของศาล ให้ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งพักการปฏิบัติ หน้าที่นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจนกว่าศาลจะพิพากษา
       
       ในกรณีผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งไม่ยื่นฟ้องต่อศาล หรือศาลพิพากษาให้เป็นไป ตามคำสั่ง ให้ผู้ถูกสั่งนั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกคำสั่ง วันที่ได้รับคำสั่งให้ออกจากตำแหน่งให้หมายถึงวันที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ได้รับคำสั่งดังกล่าว
       
       มาตรา 53ให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 51 (1) คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ แต่ ในกรณีพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นใดนอกจากการออกตามวาระ ให้ปลัดเชียงใหม่มหานครเป็น ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ถ้าไม่มีปลัดเชียงใหม่มหานครหรือมีแต่ไม่ อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งรองปลัดเชียงใหม่มหานคร หรือข้าราชการเชียงใหม่มหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในตำแหน่งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 54 ให้มีรองผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครจำนวนไม่เกินสี่คนตามลำดับที่ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครจัดไว้ ช่วยผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครในการบริหารราชการของ เชียงใหม่มหานครตามที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครมีคำสั่งมอบหมาย
       คำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       
       มาตรา 55 ให้มีเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครไม่เกินจำนวนรองผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 56 ในกรณีมีการแต่งตั้งประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และคณะที่ปรึกษา ของผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ตามมาตรา 48 (3) ตำแหน่งดังกล่าวจะมีจำนวนรวมกัน ทั้งหมดเกินเก้าคนไม่ได้
       
       มาตรา 57 ให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร รองผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร เลขานุการ ประธานสภาเชียงใหม่มหานคร เลขานุการรองประธานสภาเชียงใหม่มหานคร ประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษาเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
       
       ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่ง ตามวรรคหนึ่งเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร หรือประธานสภาเชียงใหม่มหานคร แล้วแต่กรณี มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร เลขานุการประธานสภาเชียงใหม่มหานคร เลขานุการรองประธาน สภาเชียงใหม่มหานคร ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา จากบุคคลซึ่งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร หรือประธานสภาเชียงใหม่มหานคร แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นสมควร และจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ที่จะเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และให้นำบทบัญญัติ มาตรา 51 มาใช้บังคับแก่บุคคลดังกล่าวด้วย
       เมื่อผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร หรือประธานสภาเชียงใหม่มหานคร ผู้แต่งตั้ง ข้าราชการการเมือง แล้วแต่กรณี พ้นจากตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตาม วรรคสองพ้นจากตำแหน่งด้วย นอกจากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว บุคคลดังกล่าวต้องพ้นจาก ตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง หรือเมื่อกระทำการต้องห้ามตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 51 หรือถูกสั่งให้ออกตามคำสั่งของผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร หรือ ประธานสภาเชียงใหม่มหานครไม่ว่าจะเป็นไปโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
       
       มาตรา 58 ให้ข้าราชการการเมืองตามมาตรา 57 และคณะกรรมการที่ผู้ว่า ราชการเชียงใหม่มหานครแต่งตั้ง ได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น สำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของเชียงใหม่มหานคร
       หมวด 3
       การจัดระเบียบราชการของเชียงใหม่มหานคร
       __________
       
       ส่วนที่ 1
       ส่วนราชการของเชียงใหม่มหานคร
       _________
       มาตรา 59 ให้จัดระเบียบราชการเชียงใหม่มหานคร ดังนี้
       
       (1) สำนักงานเลขานุการสภาเชียงใหม่มหานคร
       (2) สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร
       (3) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานคร
       (4) สำนักปลัดเชียงใหม่มหานคร
       (5) สำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
       (6) สำนักงานเขต
       การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงสำนัก หรือการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน ตามวรรคหนึ่ง จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานคร โดยทำ เป็นประกาศของเชียงใหม่มหานคร และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       
       มาตรา 60 สำนักงานเลขานุการสภาเชียงใหม่มหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ ราชการประจำของสภาเชียงใหม่มหานคร มีเลขานุการสภาเชียงใหม่มหานครซึ่งเป็นข้าราชการ เชียงใหม่มหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการเชียงใหม่มหานคร และลูกจ้างเชียงใหม่มหานคร ขึ้นต่อปลัดเชียงใหม่มหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการสภา เชียงใหม่มหานครขึ้นต่อประธานสภาเชียงใหม่มหานคร และมีผู้ช่วยเลขานุการสภาเชียงใหม่มหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการเชียงใหม่มหานครสามัญ เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการสภา เชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 61 สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครมีอำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร มีเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการเชียงใหม่มหานคร และลูกจ้างเชียงใหม่มหานคร รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ขึ้นต่อผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร และมีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ซึ่งเป็น ข้าราชการการเมือง เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร และมีหัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการเชียงใหม่มหานคร สามัญเป็นผู้ช่วยของเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร และของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการ เชียงใหม่มหานคร ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร และ ในการบังคับบัญชาข้าราชการเชียงใหม่มหานครและลูกจ้างเชียงใหม่มหานครขึ้นต่อเลขานุการ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ปลัดเชียงใหม่มหานคร และผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ตามลำดับ
       
       มาตรา 62 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานครมีอำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานคร มีหัวหน้าสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการเชียงใหม่มหานครสามัญเป็นผู้บังคับ บัญชาข้าราชการเชียงใหม่มหานคร และลูกจ้างเชียงใหม่มหานครขึ้นต่อปลัดเชียงใหม่มหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานคร ขึ้นต่อประธานคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานคร และจะให้มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการเชียงใหม่มหานครสามัญคนหนึ่งหรือ หลายคน เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพ มหานครก็ได้
       
       มาตรา 63 สำนักปลัดเชียงใหม่มหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำ ทั่วไปของเชียงใหม่มหานคร และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ มีปลัดเชียงใหม่มหานครซึ่งเป็นข้าราชการเชียงใหม่มหานครสามัญ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ เชียงใหม่มหานครและลูกจ้างเชียงใหม่มหานคร รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัด เชียงใหม่มหานคร และจะให้มีรองปลัดเชียงใหม่มหานครซึ่งเป็นข้าราชการเชียงใหม่มหานครสามัญ คนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนปลัดเชียงใหม่มหานครก็ได้
       
       มาตรา 64 นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 63 ให้ปลัด เชียงใหม่มหานครมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนดและตามคำสั่งของผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของเชียงใหม่มหานครให้เป็นไปตามนโยบาย ของเชียงใหม่มหานคร กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเชียงใหม่มหานคร รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการเชียงใหม่มหานคร และลูกจ้างเชียงใหม่มหานคร รองจากผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 65 สำนักตามมาตรา 59(5) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการตามที่กำหนด ไว้ในประกาศเชียงใหม่มหานคร โดยมีผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการเชียงใหม่มหานครสามัญ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการเชียงใหม่มหานครและลูกจ้างเชียงใหม่มหานคร รับผิดชอบในการปฏิบัติ ราชการของสำนัก และจะให้มีรองผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการเชียงใหม่มหานครสามัญ คนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
       
       มาตรา 66 นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ให้ผู้อำนวยการ สำนักมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร และปลัดเชียงใหม่มหานคร และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของสำนักที่รับผิดชอบให้ เป็นไปตามนโยบายของเชียงใหม่มหานคร กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของสำนักที่ รับผิดชอบ
       ส่วนที่ 2
       เขตและสภาเขต
       _________
       มาตรา 67 สำนักงานเขตมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการเชียงใหม่มหานครและลูกจ้างเชียงใหม่มหานคร รับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต และจะให้มีผู้ช่วย ผู้อำนวยการเขตคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
       
       มาตรา 68 ให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
       (1) อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เว้นแต่ พระราชบัญญัตินี้จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
       (2) อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขต
       (3) อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร หรือปลัดเชียงใหม่มหานคร มอบหมาย
       
       มาตรา 69 ในกรณีที่เป็นการสมควร ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครอาจสั่ง ให้สำนักงานเขตใดปฏิบัติหน้าที่ใดแทนสำนักงานเขตอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ และจะให้ ผู้อำนวยการเขตใดเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ได้ แต่ต้องประกาศการสั่งการ ดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
       
       มาตรา 70 ในเขตหนึ่ง ๆ ให้มีสภาเขต ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งมาจากการ เลือกตั้งมีจำนวนอย่างน้อยเขตละเจ็ดคน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคน ให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาเขตในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสน ถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
       
       จำนวนสมาชิกสภาเขตที่แต่ละเขตจะพึงมี ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎร แต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวัน ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศ จำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขต
       คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเขต ให้นำบทบัญญัติมาตรา 12 มาตรา 13 มาตรา 14 และมาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
       หลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานคร
       การประกาศตามวรรคสองและผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้กระทำเป็น ประกาศเชียงใหม่มหานคร และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       
       มาตรา 71 อายุของสภาเขตมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
       เมื่ออายุของสภาเขตสิ้นสุดลง ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่เป็นการ เลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่อายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
       
       มาตรา 72 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเขตเริ่มแต่วันเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่ง ตามอายุของสภาเขต
       เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาเขตในเขตใดว่างลงถึงกึ่งจำนวนของสมาชิกสภาเขตที่เขต นั้นจะมีได้ตามประกาศในมาตรา 70 วรรคห้า สมาชิกภาพของสภาเขตแห่งนั้นเป็นอันสิ้นสุดลงและ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่ ภายในเก้าสิบวันนับแต่มีกรณีดังกล่าว
       
       มาตรา 73 ให้สภาเขตเลือกสมาชิกสภาเขตเป็นประธานสภาเขตคนหนึ่ง และ รองประธานสภาเขตคนหนึ่ง โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
       ให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครประกาศชื่อประธานสภาเขต และรองประธาน สภาเขตผู้ได้รับเลือก
       ประธานสภาเขต และรองประธานสภาเขตดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละหนึ่งปี
       
       มาตรา 74 ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้ผู้อำนวยการเขต นัดประชุมสมาชิกสภาเขตเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก ให้สภาเขตกำหนดให้มีการประชุมสภาเขตอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง และจะ ประชุมในวันใด เวลาใด ให้เป็นไปตามมติของสภาเขต
       
       มาตรา 75 ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และหรือผู้ที่ผู้อำนวยการเขต มอบหมายมีหน้าที่เข้าประชุมสภาเขต และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ งานในหน้าที่ต่อที่ประชุมสภาเขต แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
       
       มาตรา 76 ให้ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของ เชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 77 ให้ผู้อำนวยการเขตอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการประชุมและกิจการ อื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเขต
       
       มาตรา 78 ให้สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
       (1) ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขต และ สภาเชียงใหม่มหานคร
       (2) จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติ เชียงใหม่มหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย
       (3) สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขต เพื่อให้เกิด ประโยชน์แก่ราษฎร
       (4) ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขต เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือ แก้ไขการบริการประชาชนภายในเขต หากผู้อำนวยการเขตไม่ดำเนินการใด ๆ โดยไม่แจ้งเหตุผล ให้ทราบ ให้สภาเขตแจ้งให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครพิจารณาดำเนินการต่อไป
       (5) ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ
       (6) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษา เรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับการงานของสภาเขต ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานคร ว่าด้วยการนั้น
       
       (7) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายหรือที่สภาเชียงใหม่มหานครมอบหมาย
       ให้เชียงใหม่มหานครจัดให้มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขตตามความเหมาะสม ซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาจัดสรรจากสภาเขตตาม (2)
       
       มาตรา 79 ให้นำความในมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 25 (1) และ (2) โดยขอลาออกต่อสภาเขต มาตรา 26 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาตรา 31 วรรคหนึ่ง มาตรา 32มาตรา 33 และมาตรา 34 มาใช้บังคับแก่สภาเขต สมาชิกสภาเขต รองประธาน สภาเขต และประธานสภาเขต โดยอนุโลม
       
       หมวด 4
       การรักษาราชการแทน และการปฏิบัติราชการแทน
       ___________
       มาตรา 80 อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการ เชียงใหม่มหานคร ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครมีคำสั่งมอบหมาย
       ในกรณีที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองผู้ว่า ราชการเชียงใหม่มหานครตามลำดับที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครจัดไว้ตามมาตรา 54 เป็น ผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดเชียงใหม่มหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีปลัดเชียงใหม่มหานครหรือมีแต่ไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 81 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
       อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้ว่าราชการ เชียงใหม่มหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือ คำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติหรือ คำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครก็ได้ แต่ถ้าจะมอบให้ปลัดเชียงใหม่มหานคร รองปลัดเชียงใหม่มหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะ เป็นสำนัก หรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       
       มาตรา 81 ในกรณีที่มีรองปลัดเชียงใหม่มหานคร การสั่งหรือการปฏิบัติราชการ ของรองปลัดเชียงใหม่มหานคร ให้เป็นไปตามที่ปลัดเชียงใหม่มหานครมีคำสั่งมอบหมาย ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเชียงใหม่มหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการ ได้ ให้รองปลัดเชียงใหม่มหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดเชียงใหม่มหานครหลายคน ให้รองปลัดเชียงใหม่มหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการ แทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดเชียงใหม่มหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ว่า ราชการเชียงใหม่มหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมี ฐานะเป็นสำนักคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ปลัด เชียงใหม่มหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือ คำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือ คำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้บัญญัติในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น ปลัดเชียงใหม่มหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองปลัดเชียงใหม่มหานครเป็นผู้ปฏิบัติ ราชการแทนปลัดเชียงใหม่มหานครก็ได้ แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากองหรือผู้ดำรง ตำแหน่งเทียบเท่าปฏิบัติราชการแทนในนามปลัดเชียงใหม่มหานคร ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
       
       มาตรา 82 ในกรณีที่มีรองผู้อำนวยการสำนัก การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของ รองผู้อำนวยการสำนักให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักมีคำสั่งมอบหมาย
       ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได ้ให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้อำนวยการสำนักหลายคน ให้ รองผู้อำนวยการสำนักผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดเชียงใหม่มหานครแต่งตั้ง ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้นคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษา ราชการแทน
       อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการ สำนักจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
       
       ผู้อำนวยการสำนักจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้ปฏิบัติราชการ แทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้ แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้น ปฏิบัติราชการแทนในนามผู้อำนวยการสำนัก ให้ทำเป็น คำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       มาตรา 83 ในกรณีที่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการเขตมีคำสั่งมอบหมาย ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหลายคน ให้ผู้ช่วย ผู้อำนวยการเขตผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้า ไม่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดเชียงใหม่มหานครแต่งตั้ง ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากองหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้รักษาราชการ แทน อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติหรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการเขต จะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือ มติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น ผู้อำนวยการเขตจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือหัวหน้า ส่วนราชการของสำนักงานเขตปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
       มาตรา 84 การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการสภาเชียงใหม่มหานคร ให้เป็นไปตามที่เลขานุการสภาเชียงใหม่มหานครมีคำสั่งมอบหมาย
       ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการสภาเชียงใหม่มหานครหรือมีแต่ไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ช่วยเลขานุการสภาเชียงใหม่มหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วย เลขานุการสภาเชียงใหม่มหานครหลายคน ให้ประธานสภาเชียงใหม่มหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ ผู้ช่วยเลขานุการสภาเชียงใหม่มหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ช่วย เลขานุการสภาเชียงใหม่มหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ประธานสภาเชียงใหม่มหานคร แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการสภาเชียงใหม่มหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของ ทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
       
       มาตรา 85 การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการ เชียงใหม่มหานคร ให้เป็นไปตามที่เลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครมีคำสั่งมอบหมาย ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครหรือมีแต่ ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครหลายคน ให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครมีคำสั่ง มอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ว่า ราชการเชียงใหม่มหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
       
       มาตรา 86 ในกรณีที่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานคร การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ เชียงใหม่มหานคร ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานครมี คำสั่งมอบหมาย
       ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานคร หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ เชียงใหม่มหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ เชียงใหม่มหานครหลายคน ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานครแต่งตั้งผู้ช่วย หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติ ราชการได้ ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการเชียงใหม่มหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็น ผู้รักษาราชการแทน
       
       มาตรา 87 ให้ผู้รักษาราชการแทนตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจ หน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
       ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นมอบหมาย หรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่ เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ
       ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจ หน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจ หน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในระหว่างที่รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย แล้วแต่กรณี
       
       หมวด 5
       อำนาจหน้าที่ของเชียงใหม่มหานคร
       __________
       มาตรา 88 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น ให้เชียงใหม่มหานครมีอำนาจหน้าที่ ดำเนินกิจการในเขตเชียงใหม่มหานครในเรื่องดังต่อไปนี้
       (1) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้ตามข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานคร และตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเชียงใหม่มหานคร
       (2) การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
       (3) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
       (4) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
       (5) การผังเมือง
       (6) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
       (7) การวิศวกรรมจราจร
       8) การขนส่ง
       (9) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ
       (10) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
       (11) การควบคุมอาคาร
       (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
       (13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (14) การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
       (15) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรม อันดีของท้องถิ่น
       (16) การสาธารณูปโภค
       
       (17) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
       (18) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
       (19) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
       (20) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
       (21) การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยใน โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ
       (22) การจัดการศึกษา
       (23) การสาธารณูปการ
       (24) การสังคมสงเคราะห์
       (25) การส่งเสริมการกีฬา
       (26) การส่งเสริมการประกอบอาชีพ
       (27) การพาณิชย์ของเชียงใหม่มหานคร
       (28) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เทศบาลนคร หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทยมอบหมาย หรือที่กฎหมายระบุเป็นหน้าที่ของเชียงใหม่มหานคร
       บรรดาอำนาจหน้าที่ใด ซึ่งเป็นของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาค จะมอบให้เชียงใหม่มหานครปฏิบัติก็ได้ โดยให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ทำเป็นข้อบังคับหรือประกาศต้องได้รับความเห็นชอบจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
       
       มาตรา 89 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 88 ให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร รองผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ปลัดเชียงใหม่มหานคร รองปลัดเชียงใหม่มหานคร หัวหน้า ส่วนราชการที่เป็นสำนักหรือเทียบเท่าสำนัก ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และข้าราชการ เชียงใหม่มหานคร ที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครแต่งตั้ง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติหน้าที่ ดังกล่าว และให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามความหมายของประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
       
       ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือบริเวณที่ตั้ง อาคารที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติดังกล่าว ใน เวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น และเพื่อการนี้ ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือสั่งให้แสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องจากบุคคลที่อยู่ หรือทำงานในสถานที่นั้น และให้มีอำนาจยึดหรืออายัดเอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะ หรือสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งให้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดได้ด้วย
       ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดตามวรรคสอง ถ้าผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ปลัดเชียงใหม่มหานคร ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่ง มีฐานะเป็นสำนัก ผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษจำคุกให้มีอำนาจ เปรียบเทียบกำหนดค่าปรับได้ เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว กำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกัน
       ถ้าผู้ต้องหาไม่ยอมตามที่ปรับ หรือเมื่อยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลา ดังกล่าว ให้ข้าราชการเชียงใหม่มหานครที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครแต่งตั้งมีอำนาจในการ สอบสวนและมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
       เงินค่าปรับตามมาตรานี้ให้เป็นรายได้ของเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 90 ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร รองผู้ว่าราชการ เชียงใหม่มหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร เลขานุการประธานสภาเชียงใหม่มหานคร เลขานุการรองประธานสภาเชียงใหม่มหานคร ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และข้าราชการเชียงใหม่มหานคร เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมาย อาญา
       
       มาตรา 91 เชียงใหม่มหานครอาจให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงาน ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น โดยเรียกค่าบริการได้โดยตราเป็นข้อบัญญัติ เชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 92 เชียงใหม่มหานครอาจดำเนินกิจการนอกเขตเชียงใหม่มหานครได้ เมื่อ
       (1) การนั้นจำเป็นต้องกระทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตาม อำนาจหน้าที่ที่อยู่ในเขตเชียงใหม่มหานครหรือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในเชียงใหม่มหานคร และ
       
       (2) ได้รับความเห็นชอบจากสภาเชียงใหม่มหานคร และ
       (3) ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด ราชการส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
       
       มาตรา 93 เชียงใหม่มหานครอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัทหรือ ถือหุ้นในบริษัทได้ เมื่อ
       (1) บริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจการเป็นสาธารณูปโภค แต่ทั้งนี้ไม่กระทบ กระเทือนถึงกิจการที่เชียงใหม่มหานครได้กระทำอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และ
       (2) เชียงใหม่มหานครต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินร้อยละห้าสิบของทุนที่บริษัทนั้น จดทะเบียนไว้ ในกรณีที่มีเชียงใหม่มหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ ราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกัน ให้นับหุ้นที่ถือนั้นรวมกัน และ
       (3) สภาเชียงใหม่มหานครมีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของ จำนวนสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครทั้งหมด และ
       (4) ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
       การเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่เชียงใหม่มหานครถืออยู่ต้องได้รับอนุมัติจาก สภาเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 94 ถ้ากิจการใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของเชียงใหม่มหานคร เชียงใหม่มหานครอาจดำเนินการนั้นร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการ ส่วนท้องถิ่นอื่นได้โดยจัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า สหการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการ บริหารประกอบด้วยผู้แทนของเชียงใหม่มหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและ ราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
       การจัดตั้งสหการจะกระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกา นั้นให้กำหนดชื่อ อำนาจหน้าที่ และวิธีดำเนินงาน เมื่อจะยุบเลิกสหการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย
       
       มาตรา 95 ในกรณีจำเป็น เชียงใหม่มหานครอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการ ซึ่ง อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเชียงใหม่มหานครและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนที่ เกี่ยวข้องแทนเชียงใหม่มหานครได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาเชียงใหม่มหานคร และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน
       
       หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้กระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไป ตามระเบียบเชียงใหม่มหานคร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภาเชียงใหม่มหานคร และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย
       สิทธิในการกระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไปมิได้
       หมวด 6
       ข้อบัญญัติ
       _________
       มาตรา 96 ข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานครจะตราขึ้นได้โดยความเห็นชอบของ สภาเชียงใหม่มหานคร ในกรณีดังต่อไปนี้
       (1) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของเชียงใหม่มหานคร
       (2) เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เชียงใหม่มหานครมีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติ เชียงใหม่มหานคร
       (3) การดำเนินการพาณิชย์ของเชียงใหม่มหานคร
       (4) การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จาก ทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ
       ในข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานครจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
       
       มาตรา 97 ร่างข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานครจะเสนอได้ก็แต่โดยผู้ว่าราชการ เชียงใหม่มหานคร สมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเชียงใหม่มหานครตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ในกรณีสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครเป็นผู้เสนอต้องมีสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครลงนามรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า ของจำนวนสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครทั้งหมด
       ร่างข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน สมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 98 ร่างข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน หมายความถึง ร่างข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานครว่าด้วยข้อความต่อไปนี้ทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง (1) การตั้งขึ้นหรือยกเลิก หรือลด หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือผ่อนหรือวาง ระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีอากร (2) การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินของเชียงใหม่มหานคร หรือการโอน งบประมาณรายจ่ายของเชียงใหม่มหานคร (3) การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้ (4) การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จาก ทรัพย์สิน การจ้างและการพัสดุ (5) การพาณิชย์ของเชียงใหม่มหานคร (6) การออกพันธบัตรของเชียงใหม่มหานคร ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างข้อบัญญัติใดเป็นร่างข้อบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้อง มีคำรับรองของผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครหรือไม่ ให้ประธานสภาเชียงใหม่มหานครเป็นผู้วินิจฉัย
       
       มาตรา 99 เมื่อสภาเชียงใหม่มหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานคร และลงมติเห็นชอบแล้ว ให้ประธานสภาเชียงใหม่มหานครส่งให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครภายใน เจ็ดวันนับแต่วันที่สภาเชียงใหม่มหานครมีมติเห็นชอบ และให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครลงนาม ในร่างข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานครที่ผ่านความเห็นชอบของสภาเชียงใหม่มหานครแล้วประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติจาก ประธานสภาเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 100 ในกรณีที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครไม่เห็นชอบด้วยกับสภา เชียงใหม่มหานคร ให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครส่งร่างข้อบัญญัตินั้นพร้อมด้วยเหตุผลที่ ไม่เห็นชอบด้วยให้สภาเชียงใหม่มหานครภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภาเชียงใหม่มหานครเพื่อให้สภาเชียงใหม่มหานครพิจารณาใหม่ ถ้าผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครไม่ส่งให้สภาเชียงใหม่มหานครภายในเวลาดังกล่าว ให้ถือว่า ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครเห็นชอบด้วย และให้ประธานสภาเชียงใหม่มหานครลงนามในร่าง ข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็น กฎหมาย
       
       ในกรณีที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครไม่เห็นชอบด้วยและส่งให้สภาเชียงใหม่มหานครพิจารณาใหม่ สภาเชียงใหม่มหานครจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาได้ล่วงพ้นไป สามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครส่งกลับให้สภาเชียงใหม่มหานคร นอกจากร่าง ข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน สภาเชียงใหม่มหานครอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที
       ในกรณีที่สภาเชียงใหม่มหานครมีมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครทั้งหมด ให้ประธานสภาเชียงใหม่มหานครส่งร่าง ข้อบัญญัติดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครต้องดำเนินการ ต่อไปตามมาตรา 99 ถ้าผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครไม่ดำเนินการตามกำหนด ให้ประธานสภา เชียงใหม่มหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครแล้วประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
       
       มาตรา 101 ร่างข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานครที่สภาเชียงใหม่มหานครไม่เห็นชอบ ด้วยให้เป็นอันตกไป ยกเว้นร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
       ร่างข้อบัญญัติที่ตกไปตามวรรคหนึ่ง ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครหรือสมาชิก สภาเชียงใหม่มหานครจะเสนอใหม่ได้เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่สภาเชียงใหม่มหานคร ไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัตินั้น
       
       มาตรา 102 งบประมาณรายจ่ายของเชียงใหม่มหานครให้ทำเป็นข้อบัญญัติ เชียงใหม่มหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครเป็นผู้เสนอ ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปี งบประมาณที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
       ถ้าปีใดจำนวนเงินซึ่งได้กำหนดไว้ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณไม่พอสำหรับการใช้จ่ายประจำปีก็ดี หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่าย ขึ้นใหม่ในระหว่างปีก็ดี ให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
       
       มาตรา 103 ภายใต้บังคับมาตรา 105 ในกรณีที่สภาเชียงใหม่มหานครเห็นชอบด้วย กับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ให้สภาเชียงใหม่มหานครเลือกคณะกรรมการวิสามัญตาม มาตรา 38 เพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นตามข้อบังคับของสภาเชียงใหม่มหานคร และให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
       
       มาตรา 104 ภายใต้บังคับมาตรา 105 ในกรณีที่สภาเชียงใหม่มหานครไม่เห็นด้วย กับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ให้สภาเชียงใหม่มหานครตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร จำนวนแปดคน และผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครตั้งบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร จำนวนเจ็ดคน ประกอบเป็นคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งในสาระสำคัญที่ บัญญัติไว้ในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย แล้วรายงานผลการพิจารณาต่อสภาเชียงใหม่มหานคร ภายในสิบวันนับแต่วันที่สภาเชียงใหม่มหานครตั้งคณะกรรมการร่วม ถ้าสภาเชียงใหม่มหานครยังไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ร่วมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครทั้งหมด ให้ ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเป็นอันตกไป และให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายใน ปีงบประมาณปีที่แล้วนั้นไปพลางก่อน ในกรณีเช่นว่านี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งยุบสภาเชียงใหม่มหานครถ้ามีข้อเสนอของผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 105 ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณและร่าง ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สภาเชียงใหม่มหานครจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสี่สิบห้า วันนับแต่วันที่สภาเชียงใหม่มหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นเป็นครั้งแรก
       ถ้าสภาเชียงใหม่มหานครพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นไม่เสร็จ ภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าสภาเชียงใหม่มหานครได้ให้ความเห็นชอบใน ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้น และให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครลงนามและประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
       
       มาตรา 106 ในกรณีที่สภาเชียงใหม่มหานครสิ้นอายุหรือมีการยุบสภาเชียงใหม่มหานคร บรรดาร่างข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานครที่สภาเชียงใหม่มหานครยังมิได้ให้ความเห็นชอบ หรือที่สภาเชียงใหม่มหานครให้ความเห็นชอบแล้วแต่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครยังมิได้ลงนาม และประกาศใช้เป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันรับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภาเชียงใหม่มหานครให้เป็นอันตกไป
       
       มาตรา 107 ในระหว่างที่ไม่มีสภาเชียงใหม่มหานคร หรือในกรณีฉุกเฉินที่มีความ จำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะและจะเรียก ประชุมสภาเชียงใหม่มหานครให้ทันท่วงทีมิได้ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครโดยอนุมัติรัฐมนตรี
       
       ว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกข้อกำหนดเชียงใหม่มหานครให้ใช้บังคับดังเช่นข้อบัญญัติ และ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
       ในการประชุมสภาเชียงใหม่มหานครคราวต่อไป ให้นำข้อกำหนดเชียงใหม่มหานคร นั้นเสนอต่อสภาเชียงใหม่มหานครเพื่ออนุมัติ ถ้าสภาเชียงใหม่มหานครอนุมัติแล้ว ให้ข้อกำหนด เชียงใหม่มหานครนั้นใช้บังคับเป็นข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานครต่อไป ถ้าสภาเชียงใหม่มหานคร ไม่อนุมัติให้ข้อกำหนดเชียงใหม่มหานครนั้นเป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการ ที่ได้กระทำไประหว่างที่ใช้ข้อกำหนดเชียงใหม่มหานครนั้น
       การอนุมัติหรือไม่อนุมัติข้อกำหนดเชียงใหม่มหานคร ให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีไม่อนุมัติให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
       
       หมวด 7
       การคลังและทรัพย์สินของเชียงใหม่มหานคร
       __________
       มาตรา 108 ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้ายอากรการฆ่าสัตว์ และผลประโยชน์อื่นอันเนื่องในการฆ่าสัตว์ในเขตเชียงใหม่มหานคร ให้เชียงใหม่มหานครจัดเก็บ เป็นรายได้ของเชียงใหม่มหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
       
       มาตรา 109 ภาษีและค่าธรรมเนียมรถหรือรถยนต์ หรือล้อเลื่อนที่จัดเก็บได้ในเขต เชียงใหม่มหานครให้เป็นรายได้ของเชียงใหม่มหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
       
       มาตรา 110 ให้เชียงใหม่มหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำรุงเชียงใหม่มหานคร สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน และก๊าซ ปิโตรเลียม ซึ่งสถานการค้าปลีกในเขตเชียงใหม่มหานครเป็นผู้จำหน่ายได้ไม่เกินลิตรละห้าสตางค์ ราคาขายปลีกที่สูงเพิ่มขึ้นไม่เกินจำนวนภาษีที่เรียกเก็บตามมาตรานี้ไม่ถือว่าเป็นการต้องห้ามตาม กฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด
       
       มาตรา 111 เชียงใหม่มหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากรและ ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของภาษี และค่าธรรมเนียมประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือทุกประเภท ดังต่อไปนี้ (1) ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร (2) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา (3) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง ภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นภาษีอากรและค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
       
       มาตรา 112 เชียงใหม่มหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โดย ให้กำหนดเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
       (1) ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละศูนย์ให้ เชียงใหม่มหานครเก็บในอัตราร้อยละศูนย์
       (2) ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราอื่น ให้ เชียงใหม่มหานครเก็บหนึ่งในเก้าของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร
       ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
       
       มาตรา 113 กิจการใดที่กฎหมายมอบหน้าที่ให้เทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ถ้ากิจการนั้นอยู่ในเขตเชียงใหม่มหานครให้เชียงใหม่มหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมาย นั้น และบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาตและค่าปรับเนื่องในกิจการเช่นว่านั้น ให้เป็นรายได้ของ เชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 114 เชียงใหม่มหานครอาจออกข้อบัญญัติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้ซึ่งใช้หรือได้ประโยชน์จากบริการสาธารณะที่เชียงใหม่มหานคร จัดให้มีขึ้นได้เมื่อได้รับความ เห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
       
       มาตรา 115 ในการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร รองผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ปลัดเชียงใหม่มหานคร รองปลัด เชียงใหม่มหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติการตามกฎหมาย เว้นแต่กฎหมาย ว่าด้วยการนั้นจะได้กำหนดไว้เป็นประการอื่น ในการบังคับเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระ ให้ปลัดเชียงใหม่มหานคร หรือ ผู้อำนวยการเขต โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร มีอำนาจสั่งยึด และสั่งขาย ทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรได้ โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง วิธียึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในวรรคสอง ให้ปฏิบัติตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยอนุโลม เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด เมื่อหักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายในการยึด และ ขาย และเงินภาษีอากรค้างชำระออกแล้ว ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน
       
       มาตรา 116 เชียงใหม่มหานครจะมอบให้กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บ ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียม เรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมเพื่อเชียงใหม่มหานครก็ได้ ใน กรณีเช่นนี้เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแล้ว ให้กระทรวง ทบวง กรม นั้น ส่งมอบให้แก่เชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 117 เชียงใหม่มหานครอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้
       (1) รายได้จากทรัพย์สินของเชียงใหม่มหานคร
       (2) รายได้จากการสาธารณูปโภคของเชียงใหม่มหานคร
       (3) รายได้จากการพาณิชย์ของเชียงใหม่มหานคร การทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่น หรือจากสหการ
       (4) ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นของเทศบาล หรือมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของเชียงใหม่มหานครโดยเฉพาะ
       (5) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้
       (6) ค่าบริการตามมาตรา 91
       (7) รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และตราเป็นข้อบัญญัติเชียงใหม่มหานคร
       
       (8) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ ซึ่งได้รับ ความเห็นชอบจากสภาเชียงใหม่มหานคร
       (9) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่วนราชการ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นและเงิน สมทบจากรัฐบาล
       (10) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศหรือองค์การระหว่าง ประเทศ
       (11) เงินกู้จากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภาเชียงใหม่มหานคร
       (12) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
       (13) เงินช่วยเหลือหรือเงินค่าตอบแทน
       (14) รายได้จากทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการเพื่อมุ่งแสวงหา กำไรในเชียงใหม่มหานครตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
       (15) รายได้จากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินหรือค่าธรรมเนียมพิเศษตามที่จะมี กฎหมายกำหนด
       (16) รายได้อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของเชียงใหม่มหานคร
       มาตรา 118 เชียงใหม่มหานครอาจมีรายจ่ายดังต่อไปนี้
       (1) เงินเดือน
       (2) ค่าจ้างประจำ
       (3) ค่าจ้างชั่วคราว
       (4) ค่าตอบแทน
       (5) ค่าใช้สอย
       (6) ค่าสาธารณูปโภค
       (7) ค่าวัสดุ
       (8) ค่าครุภัณฑ์
       (9) ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
       (10) เงินอุดหนุน
       (11) รายจ่ายอื่นตามที่กฎหมายหรือระเบียบของเชียงใหม่มหานครกำหนดไว้
       (12) รายจ่ายตามข้อผูกพัน
       
       มาตรา 119 การจ่ายเงินของเชียงใหม่มหานครให้เป็นไปตามที่ได้อนุญาตไว้ใน ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม การจ่ายเงินซึ่ง มิได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ ในกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติว่าด้วยการนั้น
       
       มาตรา 120 ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชี การเงิน และทรัพย์สินอื่น ๆ ของเชียงใหม่มหานคร
       เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครประกาศรายงานการรับจ่าย เงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงนั้นในราชกิจจานุเบกษา โดยมิชักช้า
       รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีตามวรรคสอง เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบแล้ว ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครเพื่อเสนอ สภาเชียงใหม่มหานคร
       
       หมวด 8
       ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับเชียงใหม่มหานคร
       __________
       มาตรา 121 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอื่นนอกเหนือจากที่ พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเชียงใหม่มหานคร ถ้ากระทรวง ทบวง กรมใดเห็นสมควรส่งข้าราชการมาประจำเชียงใหม่มหานครเพื่อปฏิบัติราชการในหน้าที่ ของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ ก็ย่อมกระทำได้ โดยทำความตกลงกับเชียงใหม่มหานคร
       
       มาตรา 122 การตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนในเชียงใหม่มหานคร ให้รัฐบาล ตั้งให้เชียงใหม่มหานครโดยตรง
       ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่เชียงใหม่มหานครนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกระเบียบกำหนดการใช้จ่ายเงินดังกล่าวก็ได้
       
       มาตรา 123 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุม ดูแลการปฏิบัติราชการของเชียงใหม่มหานคร เพื่อการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจ สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง หรือสั่งให้ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครชี้แจงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ การปฏิบัติราชการของเชียงใหม่มหานคร ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าการ ปฏิบัติใด ๆ ของผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครขัดต่อกฎหมาย มติของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นไปใน ทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของเชียงใหม่มหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะยับยั้ง หรือสั่งการตามที่เห็นสมควรก็ได้
       บทเฉพาะกาล
       __________
       มาตรา 124 ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ ้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลม
       
       มาตรา 125 ให้ดำเนินการให้มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร และผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
       
       มาตรา 126 ให้เชียงใหม่มหานครจัดให้มีส่วนราชการตามมาตรา 59 ภายใน เก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
       
       มาตรา 127 ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานคร ผู้ว่าราชการ เชียงใหม่มหานครและสมาชิกสภาเขตให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ
       
       มาตรา 128 ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครและผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามกฎหมายนั้นเป็น อำนาจหน้าที่ของปลัดเชียงใหม่มหานคร ในการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเขตแต่ละเขตเป็นเขตเลือกตั้ง และให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละ เขตนั้น จำนวนสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครที่แต่ละเขตจะพึงมี ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวน ราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อน วันประกาศพระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครในราชกิจจานุเบกษา โดยถือเกณฑ์หนึ่งแสนคนต่อสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครหนึ่งคน เขตใดมีราษฎรไม่ถึงหนึ่งแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครในเขตนั้นได้หนึ่งคน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสน คนก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎร ทุกหนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน การประกาศตามวรรคสอง และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครให้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       
       มาตรา 129 ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 58 ให้นำบัญชี อัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร รองผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร เลขานุการผู้ว่า ราชการเชียงใหม่มหานคร และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 มาใช้บังคับ
       
       มาตรา 130 นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันเลือกตั้งสมาชิก สภาเชียงใหม่มหานครตามมาตรา 127 ให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงมีวาระอยู่ในตำแหน่งต่อไปและทำหน้าที่สมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครไปพลางก่อน ในระหว่างระยะเวลา ดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ทั้งคณะหรือแต่ละบุคคลพ้นจากตำแหน่ง และจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
       
       ในกรณีที่สมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครว่างลงในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
       
       มาตรา 131 ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งตามมาตรา 127 จะเข้ารับหน้าที่ ในระหว่าง ระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ้นจากตำแหน่งและจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
       
       มาตรา 132 ให้ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันในเขตเชียงใหม่มหานครที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงมีอยู่ต่อไป โดยขึ้นการบังคับบัญชากับผู้อำนวยการเขตและผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครตามลำดับ
       
       มาตรา 133 ให้บรรดาเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหลายยังคงอยู่ต่อไปและให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่เป็นอันถูกยุบเลิกไปเมื่อมีการประกาศผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครและสมาชิกสภาเชียงใหม่มหานครอย่างเป็นทางการ และให้ทรัพย์สิน หนี้สินและบุคคลากรของจังวัดเชียงใหม่และองค์องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ตกเป็นของเชียงใหม่มหานคร
       
       ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
       
       นายกรัฐมนตรี
       ________________________________________
       หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการจัดรูปแบบการบริหารราชการจังหวัดเชียงในรูปแบบการบริหาราชการส่วนภูมิภาคมีความไม่เหมาะสมกับกาลสมัย ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการเชียงใหม่มหานครมีความเหมาะสมและคล่องตัว สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้ โดยสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
       -----------------------------


 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544