หน้าแรก บทความสาระ
833 เรื่อง หน้าที่ 42 จากทั้งหมด 167 หน้า
41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50
 
   
 
 
การตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
02 กรกฎาคม 2555
 
 
การตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการของศาลโดยประชาชนตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้นเป็นหลักคิดที่ยอมรับกันในระดับนานาชาติ แต่กลับนำมาปฏิบัติน้อยมาก นอกจากนี้การศึกษายังพบว่า การตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีปัญหาที่เกิดจากการขาดความชัดเจนในด้านแนวคิด รูปแบบ กระบวนการตรวจสอบ และภาคประชาชนที่ใช้สิทธิในการตรวจสอบค่อนข้างน้อย
ลาภมิควรได้ในกฎหมายปกครองฝรั่งเศส
02 กรกฎาคม 2555
 
 
ทฤษฎีเรื่องลาภมิควรได้ (l’enrichissement sans cause) ในกฎหมายฝรั่งเศสเป็นการวางหลักของศาลยุติธรรมที่มีเนื้อหาสาระกำหนดให้โจทก์สามารถอ้างสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย (une indemnité) จากจำเลยได้โดยอ้างเงื่อนไขว่าตนมีการลดน้อยถอยลง (appauvrir) ในขณะที่อีกฝ่ายได้รับสิ่งใดเพิ่มเติม (enrichir) ซึ่งการลดน้อยถอยลงและการได้รับสิ่งใดเพิ่มเติมนี้จะต้องมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การได้รับสิ่งใดเพิ่มเติมจะต้องเป็นไปด้วยความชอบธรรมในการนั้น และส่งผลให้ผู้ฟ้องคดีจะสามารถเรียกร้องให้มีการชดใช้ความเสียหายจากการลดน้อยถอยลงของตนได้
แนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล
02 กรกฎาคม 2555
 
 
นับแต่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ ๑๒/๒๕๕๕ ว่ามาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่บัญญัติให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลซึ่งกระทำความผิดและต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตน มิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น เป็นอันขัดต่อมาตรา ๓๙ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ความเสมอภาคในสถาบันอุดมศึกษา: มองนโยบายและกฎหมายสหภาพยุโรปเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
17 มิถุนายน 2555
 
 
การศึกษาระดับอุดมศึกษาของสหภาพยุโรป (Higher education in Europe Union) มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพประชาชนของประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป เพื่อให้ประชาชนกลายมาเป็นแรงงานที่มีคุณภาพทางความรู้และทักษะขั้นสูงในอนาคต นอกจากนี้ การศึกษาระดับอุดมศึกษายังมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆ ไปยังนักศึกษาที่เข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากสถาบันการศึกษาไปถ่ายทอดหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับสังคมและประเทศที่ตนอาศัย
กฎหมายปรองดองในแอฟริกาใต้
17 มิถุนายน 2555
 
 
เมื่อกล่าวถึงวิธีการสร้างความสงบให้เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ วิธีการที่ได้รับความนิยมในหลาย ๆ ประเทศ คือ การออกกฎหมายนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดอันมีเหตุจูงใจทางการเมือง เพื่อสร้างบรรยากาศความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมอีกครั้ง ประเทศแอฟริกาใต้ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้ใช้วิธีการดังกล่าว โดยได้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมครั้งสำคัญในยุคที่ได้ล้มล้างลัทธิแบ่งแยกสีผิว (Apartheid) ในปี ค.ศ. ๑๙๙๕ ลัทธิแบ่งแยกสีผิวได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในประเทศแอฟริกาใต้ในปี ค.ศ. ๑๙๔๘
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544