หน้าแรก สัมภาษณ์
26 เรื่อง หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 6 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6
 
   
 
 
บทสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2546
29 มกราคม 2546
 
 
ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ เป็นนักกฎหมายมหาชนที่มีชื่อเสียงที่สุดของวงการกฎหมายไทยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ท่านเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดและหลักการในทางกฎหมายมหาชนในสังคมไทยโดยเริ่มตั้งแต่การทำให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 เป็นองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกครองที่แยกออกจากระบบศาลยุติธรรมอันนับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของการมีศาลปกครองในประเทศไทยในปัจจุบัน ไปจนถึงการเขียนเอกสารวิชาการด้านกฎหมายมหาชนเผยแพร่ตลอดช่วงระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา
บทสัมภาษณ์ คุณนพดล เฮงเจริญ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ณ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2545
16 มกราคม 2545
 
 
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ มีบทบาทหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ 4 ประการด้วยกัน คือ ในประการแรก จะมีบทบาทในด้านงานธุรการทั่วไปของศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่สองจะมีบทบาทที่สำคัญเกี่ยวกับการศึกษารวบรวมข้อมูล คำสั่งและคำวินิจฉัยต่างๆเกี่ยวกับงานของศาลรัฐธรรมนูญและของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในประการที่สาม มีบทบาทในการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยและเผยแพร่กิจการของศาลรัฐธรรมนูญ และประการที่สี่ คือ การปฏิบัติภารกิจอื่นตามที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มอบหมาย แต่โดยสรุปอาจกำหนดภารกิจจากกรอบที่กฎหมายได้มอบหมายมาสี่ประการ ได้ในสามภารกิจที่สำคัญ คือ ในด้านแรก ภารกิจด้านการบริหารจัดการซึ่งก็เปรียบเหมือนภารกิจของแม่บ้านของหน่วยงานที่จะดูแลให้การทำงานของคณะตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเรียบร้อย มีความสะดวก และมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่ งานสถานที่ งานยานพาหนะ งานงบประมาณ งานแผนงานโครงการต่างๆ ภารกิจที่สอง คือ ภารกิจทางด้านคณะตุลาการและงานคดี สำนักงานจะเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะเป็นฝ่ายเลขานุการของที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่การจัดวาระการจัดทำบันทึกการประชุม การจัดทำรายงานการพิจารณา รวมตลอดทั้งการจัดเตรียมสรุปวาระในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ภารกิจที่สามเป็นภารกิจทางด้านวิจัยและวิชาการ ภารกิจในส่วนนี้จะมุ่งเน้นในการจัดให้มีการศึกษาวิจัยในประเด็นที่สำคัญตามรัฐธรรมนูญเพื่อสนับสนุนทางคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้ประโยชน์และขณะเดียวกันก็เพื่อเผยแพร่ผลงานทางด้านการวิจัยออกไปสู่สาธารณะ เป็นการเผยแพร่ความรู้ในส่วนนี้ด้วย งานวิชาการในส่วนที่สำคัญก็จะเป็นเรื่องการจัดสัมมนาทางวิชาการในประเด็นหัวข้อต่างๆซึ่งจุดเน้นที่ทางสำนักงานฯได้ให้ความสำคัญจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญได้รับรอง นี่ก็เป็นภารกิจในภาพรวมครับ
บทสัมภาษณ์ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ณ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย วันที่ 11 ธันวาคม 2544
11 ธันวาคม 2544
 
 
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับกฎหมายที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ รัฐเป็นผู้ออกกฎหมาย กฎหมายนั้นออกในนามของรัฐมาแต่ไหนแต่ไรแล้วสุดแล้วแต่ว่าลักษณะของรัฐจะเป็นอย่างไรและใครคือกลไกในรัฐที่จะเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายนั้น ในสมัยโบราณรัฐในสมัยนั้นอาจไม่มีตัวตนหรือไม่ได้มีองคาพยพหรือไม่ได้มีกลไกและกระบวนการที่แยกออกมาอย่างเด็ดขาดกับสถาบันทางสังคมอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางศาสนา ถ้าพูดถึงเรื่องกฎหมายที่เป็นกฎแล้ว แรกๆไม่ได้ออกมาจากรัฐแต่ออกมาจากอำนาจที่คนยอมรับว่าสูงสุดและใช้บังคับในรูปของศาสนา แต่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับกฎหมายที่เห็นชัดเจนก็คือ เมื่อมีกำเนิดของรัฐเกิดขึ้นมา รัฐในรูปขององคาพยพ ในรูปของกลไก กระบวนการและในลักษณะของการใช้อำนาจเป็นการทั่วไปที่ให้มีการยอมรับกัน เพราะฉะนั้นรัฐกับกฎหมายพูดง่ายๆก็แยกกันไม่ออก ตราบใดที่ในสังคมเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีใดที่จะมีการแยก สังคมจะมีการแบ่งแยกออกชัดเจน เช่นระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักร เป็นต้น เพราะฉะนั้นมันก็เริ่มแยกโดยเรื่องอาณาจักรก็เป็นเรื่องของกฎหมาย ดังนั้นพัฒนาการของรัฐกับพัฒนาการของกฎหมายเราจะเห็นว่ามีควบคู่กันไป อันนี้ก็เป็นความสัมพันธ์ที่มีมาแต่ดั้งเดิม
บทสัมภาษณ์ รศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 กันยายน 2544
25 กันยายน 2544
 
 
ผู้สัมภาษณ์ : อยากให้อาจารย์อธิบายถึงวัตถุประสงค์ในการจัดทำ pub-law.net ครับเพื่อให้ผู้ใช้บริการwebsiteที่เพิ่งเข้ามาชมเป็นครั้งแรกหรือให้ผู้ใช้บริการที่ไม่ได้อ่านวัตถุประสงค์ที่อาจารย์ได้เคยบอกไว้แล้วในตอนแรกได้ทราบครับ
บทสัมภาษณ์ รศ.ดร.อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 8 กันยายน 2544
08 กันยายน 2544
 
 
คำว่ากฎหมายการคลัง หมายถึง กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารการเงินการคลังของประเทศใดประเทศหนึ่งซึ่งอาจเป็นหลักกฎหมายทั่วไปทางการคลังและที่เป็นตัวบทกฎหมายที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรโดยเริ่มตั้งแต่รัฐธรรมนูญ โดยอาจกล่าวได้ว่าที่มาของกฎหมายการคลังได้แก่ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และกฎ ข้อบังคับต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณหรือในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเรื่องอื่นๆในทางการคลังซึ่งถ้าพิจารณากฎหมายของไทยแล้วจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญบัญญัติไว้น้อยมากในส่วนที่เกี่ยวกับรายได้ภาษีรวมทั้งรายจ่ายด้วย แม้จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ก็ไม่มีการแก้ไขในเรื่องการคลังเพราะว่าเราขาดนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ มีการเปลี่ยนแปลงมากในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแต่ส่วนที่เกี่ยวกับรายจ่าย รายได้ ภาษีไม่มีการแตะต้อง ยกเว้นบางเรื่องที่เป็นปัญหาเช่นงบ ส.ส.จะเห็นได้ชัดว่าไม่มีการปรับปรุงคำจำกัดความของกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินเพราะว่าต้องศึกษากันจริงๆต้องใช้เวลาจึงไม่มีการแก้ไข ในการศึกษากฎหมายการคลังไม่อาจศึกษาได้เฉพาะตัวบทกฎหมาย ดังนั้นจึงนิยมเรียกว่าการคลังมหาชนเป็นคำกว้างคือเป็นเรื่องระบบการคลังของมหาชนหรือของสาธารณะ ของประเทศซึ่งจะศึกษาตัวบทกฎหมายและหลักการทางทฤษฎี แนวความคิด ที่มา รวมถึงประวัติศาสตร์และลักษณะทางสังคมวิทยาของคนแต่ละชาติว่าเขามีความคิดอย่างไรถึงใช้กฎหมายการคลังแบบนี้ แล้วคนไทยมีนิสัยอย่างนี้จะเอากฎหมายของเขามาใช้ได้หรือไม่ จุดนี้ต้องศึกษาทางสังคมวิทยาและหลักการทางด้านเศรษฐศาสตร์ด้วย จะศึกษาเฉพาะตัวบทกฎหมายก็แคบไปเพราะฉะนั้นจึงใช้คำกว้างว่า การคลังมหาชน แต่การศึกษาวิชานี้ในคณะกฎหมายซึ่งในที่สุดแล้วก็ต้องไปดูตัวบทกฎหมายว่าเป็นไปตามนโยบายตั้งแต่ต้นหรือไม่ เป็นไปตามหลักการคลังทั่วไปหรือไม่ ยอมรับหลักการตรวจเงินแผ่นดินสากลหรือปฏิญญาสากลว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินหรือไม่ เรารับมา เรายึดหลักนั้นเราก็รับมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือแก้ในรัฐธรรมนูญ แสดงว่ากฎหมายสารบัญญัติเราเป็นไปตามหลักกฎหมายการคลังมหาชนสากล ในยุโรปเขาใช้คำว่า การคลังมหาชน ในคณะนิติศาสตร์อาจจะไม่ได้พิจารณาไปขนาดนั้นเขาก็ใช้คำว่ากฎหมายการคลังและการภาษีอากรไป แต่ว่าเวลาสอนก็จะสอนการคลังมหาชนหรือการคลังสาธารณะในมุมกว้างกว่ากฎหมายค่ะ
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544