[1] ‘สิทธิในน้ำ’ (Water Rights) หมายถึง กรรมสิทธิ์ในน้ำ (Ownership of water) และสิทธิในการใช้ การได้รับ และการเข้าถึงทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ ทะเลสาบ ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ที่ทำให้ปริมาณน้ำลดลงหรือไม่ลดลงก็ตามของผู้ใช้น้ำต่างๆ ซึ่งผู้ใช้น้ำ ในที่นี้หมายรวมทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคลและกลุ่ม องค์กร หรือชุมชนด้วย
[2] อันที่จริง ในส่วนนี้ การนำเสนอจะแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1)แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนกับลักษณะของการเมืองภาคประชาชน 2)ที่มาและความจำเป็นในการจัดทำ พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. … และ 3)การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการร่าง พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ ทั้งนี้ เพื่อให้การนำเสนอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ด้วยข้อจำกัดของจำนวนหน้ากระดาษ ผู้เขียนจึงขออนุญาตอธิบายแนวคิดบางส่วนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมตลอดจนการเมืองภาคประชาชนไว้ในภาคผนวก
[3] ในเอกสารฉบับนี้ ‘คณะผู้จัดทำ’ หมายถึง กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์