|
|
|
|
|
"ปัญหาการสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งสำคัญ"
ข่าวการ สรรหา คณะกรรมการการเลือกตั้งและสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นับเป็นข่าวสำคัญข่าวหนึ่งที่เกิดขึ้นในรอบสองสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยในการนำเสนอข่าวนั้นคงเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปว่ามีทั้งแง่บวกและแง่ลบ
กระบวนการ สรรหา บุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันได้สร้างขึ้นและมีผู้กล่าวอ้างว่าเป็นกระบวนการที่โปร่งใสและเป็นกลางที่สุดได้สร้างข้อสงสัยให้กับบุคคลทั่วไปว่า กระบวนการเหล่านั้นยังสามารถใช้เลือกคนที่เหมาะสมที่สุดเข้ามาในระบบได้หรือไม่ บทเรียนต่างๆที่เกิดขึ้นมาในช่วงระยะเวลา 3 ปี 9 เดือนภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้บังคับจึงสมควรเป็นสิ่งที่พึงรวบรวมและนำมาวิเคราะห์เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญในอีกปีเศษข้างหน้าดังที่บัญญัติไว้ในมาตราสุดท้ายของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ในสัปดาห์นี้ เรามีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เริ่มจากในห้องสมุดกฎหมายนั้น pub-law.netได้นำเอารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับตั้งแต่ฉบับชั่วคราว
พุทธศักราช 2475 ที่มีขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนกระทั่งถึงฉบับสุดท้ายก่อนปี พ.ศ.2540 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2534 รวมทั้งสิ้น 30 ฉบับ มาลงไว้สำหรับผู้ที่สนใจจะได้เข้าใช้บริการค้นคว้าข้อมูลได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวปัจจุบันนับได้ว่าเป็นข้อมูลที่หาได้ยากพอสมควร
นอกจากนี้ pub-law.net ยังได้รับความกรุณาจาก ศาสตราจารย์ ดร.อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุดให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับศาลปกครองและบทบาทของนักกฎหมายมหาชนไทยซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ที่มีความสำคัญสำหรับวงการนักกฎหมายมหาชนเป็นอย่างยิ่ง ส่วนอื่นๆก็มีการแนะนำหนังสือใหม่สองรายการในหนังสือตำรา รวมทั้งมีบทความของผมเองที่นำมาลงเพื่อให้สอดคล้องกับการนำเอารัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับมาไว้ใน pub-law.net โดยบทความดังกล่าวมีชื่อว่า ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย
จำนวนผู้ใช้บริการและผู้ถามคำถามในเวทีทรรศนะที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆเป็นกำลังใจของผู้จัดทำที่จะนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อวงการกฎหมายมหาชนต่อไปในอนาคต
พบกันใหม่ในอีกสองสัปดาห์ คือวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม 2544
รองศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|