หน้าแรก
1 มกราคม 0544 00:00 น.
 
ทรรศนะของ ศาตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ ต่อข้อเสนอของนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ให้เดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 แม้ฝ่ายค้านจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้รัฐสภาต้องระงับการลงมติในวาระ 3 จะเสนอเปิดการประชุมรัฐสภาเพื่อยืนยันสิทธิของรัฐสภาในการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ
       
       ส่วนตัวคิดว่าในตอนนี้เราใช้กระบวนการศาลรัฐธรรมนูญมาเป็นกระบวนการต่อสู้ทางการเมืองมากเกินไป เเล้วศาลรัฐธรรมนูญจริงๆ ตอนที่ตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญปี 2540 คนที่ก่อตั้งคงไม่ได้คิดว่าจะตั้งศาลรัฐธรรมนูญมาเพื่อเป็นเครื่องมือของฝ่ายค้าน เครื่องมือของประชาชนที่ไม่ชอบรัฐบาลเเละรัฐสภา ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลายเป็นกลไกต่อต้านกระบวนการนิติบัญญัติ
       
       สมัยก่อนในสภา การประชุมทุกครั้ง เวลาเสียงข้างมากมีความคิดเห็นว่าอย่างไร ทุกคนก็เคารพตามเสียงข้างมาก เเต่วันนี้พอเสียงข้างมากชนะทุกคนก็บอกว่า เสียงข้างมากไม่ดี เเละเอากลไกอื่นมาสกัดกั้นเสียงข้างมากเอาไว้ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้เสียงข้างมากไม่มีความหมายอะไรอีกแล้ว เพราะต่อให้มีเสียงข้างมากมากเท่าไร เสียงข้างน้อยก็ไปยื่นศาล ศาลก็รับไว้พิจารณาหมดทุกครั้ง ผมคิดว่าในการเเก้ไขรัฐธรรมนูญ งวดหน้าเลี่ยงไม่ได้เลยที่ควรจะปรับหรือเเก้บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ หรือเเม้กระทั่งอาจจะไปไกลถึงขนาดที่ว่าควรให้มีศาลรัฐธรรมนูญอยู่หรือไม่ เพราะในส่วนหนึ่งเเล้วศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นอุปสรรคในการทำงานของทั้งรัฐบาลเเละฝ่ายนิติบัญญัติ
       
       ในความเป็นจริงตามรัฐธรรมนูญ อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีอำนาจมากถึงขนาดนี้ เเต่ศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายอำนาจของตัวเอง รวมไปถึงการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้พิจารณาโดยที่ไม่ดูเลยว่าตัวเองไม่มีอำนาจตั้งเเต่ต้น หมายความว่าพอศาลรับเอาไว้ ทุกอย่างหยุดชะงักไปหมด ทุกคนไม่พอใจสิ่งที่ฝ่ายไหน
       
       ทำก็วิ่งไปศาลรัฐธรรมนูญหมด เพราะคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญคือองค์กรที่จะระงับทุกอย่างได้ ซึ่งจริงๆ เเล้วไม่ใช่อย่างนั้น
       
       ส่วนประเด็นอำนาจของประธานสภา ในระบอบประชาธิปไตยเเล้วจริงๆ คุณต้องรับฟัง ในการประชุมทุกครั้งถ้าใครพูดเยิ่นเย้อ ประธานก็มีหน้าที่ตะล่อมให้เข้าสู่ประเด็น เเต่ไม่ใช่ตัดสิทธิไม่ให้เค้าพูด คุณควรจะรับฟังความคิดเห็นคนอื่น เพราะในระบอบประชาธิปไทยทุกคนมีสิทธิที่จะพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกรัฐสภาคุณจะไม่ให้สิทธิพวกเขาพูดได้อย่างไร โดยระบอบโดยมารยาทประธานต้องเปิดให้ทุกคนได้พูด เพราะเเต่ละคนได้ลงชื่อ ต่อคิวไว้ตั้งเเต่ต้น เเละหากพูดนอกประเด็น ต้องบอกให้กลับมาพูดให้ถูกต้อง หากพูดยาวเกินไป ประธานสภามีหน้าที่ทำให้ทุกอย่างดำเนินไปตามระบบ ทำให้ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลมีสิทธิที่จะพูดได้เท่าๆ กัน ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยึดพื้นที่ไปได้โดยตลอด


 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544