นโยบายของพรรคการเมือง(พรรคใหม่)

1 ตุลาคม 2549 21:33 น.

       นโยบายของพรรคการเมือง (พรรคใหม่)
       
       ****************
       
       นโยบายของพรรคการเมืองควรมี “สาระ” อย่างไร?
       
       ****************
       
       (1) นโยบายปฏิรูปการเมือง
       Old paradigm – New paradigm
       
       นโยบายของพรรคการเมืองพรรคใหม่ ควรจะต้องเน้นที่ “องค์กรระหว่างรัฐธรรมนูญ โดยทบทวนกรอบวิธีคิด(กระบวนทัศน์ – paradigm) ที่เคยล้มเหลวมาแล้ว
       โดยการจัดตั้ง “สภาร่างรัฐธรรมนูญ - สสร.” ในอดีต และแสวงหามีการ new paradigm – กระบวนทัศน์ใหม่ / ที่หวังผลสำเร็จของการปฏิรูปการเมือง คือ เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข และมีกระบวนสถาบันการเมืองที่มีประสิทธิภาพ โดยมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพและมีสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกมีความอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความรู้สึกรับผิดชอบได้ตามนโยบายของตน ส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่จะตราขึ้นใหม่ในระยะ 1 ปีครึ่งข้างหน้า ว่าจะมีสาระสำคัญอย่างไร / จะจัด “ระบบสถาบันการเมือง” อย่างไร / จะมีองค์กรอิสระอย่างไร / ฯลฯ จะเป็นหน้าที่ของ “องค์กรยกร่างรัฐสภา” (ดังกล่าวที่จะยกร่างขึ้นตามกระบวนการ – process) ของการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามที่จะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่จะตราขึ้นหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า (..................) โดยพรรคการเมือง(พรรคใหม่) จะบอกกว่าให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบได้เพียงว่า แนวทางของการเขียนรัฐธรรมนูญศตวรรษที่ 21 ที่เป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล มีอย่างไร
       
        
       
       (2) การปรับเปลี่ยน “กระบวนทัศน์"(paradigm)
       
       อะไรคือ old paradigm และอะไรคือ new paradigm
       
กระบวนทัศน์เก่า (old paradigm) ได้แก่ ความคิดของนักการเมืองไทยที่ปฏิเสธ ไม่ยอมรับบทบาทของกษัตริย์ในกระบวนการการยกร่างรัฐธรรมนูญและสงวนอำนาจนี้ไว้กับตัวเอง (นักการเมือง)
       กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) ได้แก่ ความคิดของนักวิชาการ(บางกลุ่ม)
       ที่กำหนดบทบาทของกษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐและเป็น stateman ได้ มีส่วนร่วมในการพระราชทานคำแนะนำถ้ามีพระประสงค์(โดยผ่านประธานองคมนตรี) ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ
       
       Old paradigm, มาจากไหน (?)
       คนไทยได้รับการสั่งสอนมาจากนักการเมืองไทยตั้งแต่สมัย “คณะราษฎร” ที่ทำการปฏิวัติเปลี่ยนการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง” และคนไทยก็ต้องขึ้นกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2549 เป็นเวลา 75 ปี
       ในตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ใช้สอบกันอยู่ในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยจะกล่าวเพียงว่า ประเทศอังกฤษเป็นประเทศต้นแบบของระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และไม่ปรากฏว่ามีตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญในมหาวิทยาลัยของไทยได้สอนและอธิบายให้นักศึกษามองเห็นถึงวิวัฒนาการของการถ่ายทอดอำนาจของกษัตริย์อังกฤษในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่อำนาจของกษัตริย์ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยโดยไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรของอังกฤษได้อย่างไร และไม่มีตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยที่กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ของประเทศต่าง ๆ ของทวีปยุโรปที่มีบทบาทในการช่วยพัฒนาระบอบประชาธิปไตยโดยการเขียนรัฐธรรมนูญ(ลายลักษณ์อักษร)
       ความล้มเหลวของการศึกษาวิชานิติศาสตร์ในระดับปริญญาตรี ทำให้ผู้จบวิชากฎหมายไม่รู้จักหลักการของระบอบประชาธิปไตย และทำให้คนไทยทั้งประเทศเชื่อว่าการเป็นประชาธิปไตย ได้แก่ การไปออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง เพื่อให้ได้ตัวบุคคลที่จะเป็นผู้แทนราษฎร แม้ว่าผู้แทนราษฎรที่ตนเลือกนั้นมีฐานะ(ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน) เป็นเพียงตัวแทนของพรรคการเมืองต้องปฏิบัติตามมติของพรรคการเมืองที่ส่งคนเข้าเลือกตั้งโดยตนเองไม่มีสิทธิปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. ได้ตามความรู้สึกผิดชอบและมโนธรรมของตนเอง
       
       องค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญ” ที่จัดตั้งตามกรอบ old paradigm
       
องค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งขึ้นตามกรอบความคิดเก่า (old paradigm) โดยปฏิเสธไม่ยอมรับบทบาทของกษัตริย์ มีอยู่ 2 ตัวอย่าง คือ “สภาร่างรัฐธรรมนูญ สส.ร.” ที่เคยจัดตั้งมาแล้วในปี พ.ศ. 2539 และ “สภาปฏิรูปการเมือง” ที่เสนอโดยพรรคไทยรักไทย
       ตัวอย่างนี้ เสนอโดยนักการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร “องค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญ” มีโครงสร้างและวิธีการยกร่าง สรุปได้ดังนี้
       “ผลงาน” ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ – สส.ร. คือ ระบอบเผด็จการโดยพรรคการเมือง นายทุนธุรกิจ” อำนาจระบบรัฐสภา – prairie moiety system
       ตัวอย่างที่ 2 (เสนอโดยพรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2549) “องค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญ” มีโครงสร้างและวิธีการยกร่าง สรุปได้ดังนี้
       โครงสร้างและวิธีการยกร่างรัฐธรรมนูญของสภาที่เรียกชื่อว่า “ภาปฏิรูปการเมือง ไม่มีความแตกต่างในสาระสำคัญไปจาก “สภาร่างรัฐธรรมนูญ”
       
       องค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญ ตามกรอบ mem paradigm
       เมื่อประเทศไทยประสบความล้มเหลวจากการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2539) นักวิชาการ(ระบอบหนึ่ง) จึงได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์(parading) ในการจัดรูปแบบ “องค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญ” ใหม่ โดยจัดโครงสร้างขององค์กรฯที่เปิดโอกาสให้พระมหากษัตริย์ทรงสามารถมีบทบาทในการพระราชทานคำแนะนำได้ (ถ้ามีพระราชประสงค์) โดยมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและรับผิดชอบถูกต้องามหลักวิชาการ
       ตัวอย่างที่ 1 (เสนอโดยนักวิชาการ – บางกลุ่ม พ.ศ. 2547) องค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญมีโครงสร้างและวิธีการยกร่าง สรุปได้ดังนี้
       
       แนวทางการเขียนรัฐธรรมนูญในยุคศตวรรษที่ 2 ที่ยอมรับกันเป็นสากล
       นอกเหนือจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในการให้หลัก ......สิทธิเสรีภาพของประชาชนในฐานะปัจเจกชน (ภายใต้ข้อจำกัดเพื่อประโยชน์ส่วนรวม) แล้ว จะเห็นได้ว่า จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญสมัยใหม่(rationalized system) ต่าง ๆ แนวทางการเขียนรัฐธรรมนูญ
       ในยุคศตวรรษที่ 21 จะให้ความสำคัญอยู่ที่ “ระบบสถาบันการเมือง” ที่ “ฝ่ายบริหาร” จะต้องมีหัวหน้า(ผู้นำ) ที่มีอำนาจพอที่จะสร้างเสถียรภาพให้แก่รัฐบาลได้ แต่ในขณะเดียวกัน จะต้องมี
       ฝ่ายนิติบัญญัติ(สภา) จะต้องเป็นอิสระที่สามารถกำกับและถ่วงดุลกับฝ่ายบริหาร (โยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและความครอบงำของหัวหน้าฝ่ายบริหาร (ผู้นำ) คนไทยจะทำได้สำเร็จหรือไม่


พิมพ์จาก http://public-law.net/view.aspx?ID=979
เวลา 25 พฤศจิกายน 2567 21:52 น.
Pub Law Net (http://www.pub-law.net)