ส่วนที่ 1 เอกสารวิชาการหมายเลข 1

1 ตุลาคม 2549 21:36 น.

       ส่วนที่ 1
       
       ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนรัฐธรรมนูญ
       
       สำหรับการปฏิรูปการเมือง ครั้งที่ ๒ – พ.ศ.๒๕๔๙
       
       *********************
       
       เอกสารทางวิชาการ
       
       ประกอบการอภิปรายของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
       
       ในการสัมมนาโต๊ะกลม
       
       จัดโดย สมาคมนิติศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       
       ( วันที่ 13 เดือน กันยายน พ.ศ. 2549 )
       
       *********************
       
       สารบัญ
       
       เอกสารหมายเลข ๑ หลักการของการเป็น “ระบอบประชาธิปไตย” (ความเป็นอิสระของ ส.ส.ใน การปฏิบัติหน้าที่ได้ตามมโนธรรมของตน)
       (๑.๑) รัฐธรรมนูญต่างประเทศ(เยอรมันนี / ฝรั่งเศส / เกาหลีใต้ / เดนมาร์ก / สเปน)
       (๑.๒) วิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย ไปสู่“ระบบเผด็จการโดยพรรค การเมือง" จาก รธน.พ.ศ. ๒๕๑๗ (ฉบับที่ ๑๐) ถึง รธน.ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๔๐ (ฉบับที่ ๑๖)
       เอกสารหมายเลข ๒ รัฐธรรมนูญเผด็จการ 2 กลุ่ม
       (๒.๑) รัฐธรรมนูญเผด็จการโดยพรรคคอมมิวนิสต์ (จีน / เวียดนามใต้ / เกาหลีเหนือ / คิวบา ฯลฯ)
       (๒.๒) รัฐธรรมนูญที่เผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนธุรกิจ (มีประเทศ ไทยเพียงประเทศเดียว)
       เอกสารหมายเลข ๓ บทบาทของกษัตริย์ใน “ระบบรัฐสภา- parliamentary system” ๒ แบบ
       
(๓.๑) พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารภายใต้การถ่วงดุลของสภาผู้แทนฯ (เดนมาร์ก / เบลเยี่ยม / สวีเดน / นอร์เวย์ / เนเธอร์แลนด์ส / ลักซัมเบอร์ก)
       (๓.๒) รัฐธรรมนูญไทย (ฉบับแรก) พ.ศ.๒๔๗๕ (“คณะราษฎร”ปฏิเสธไม่ยอมรับบทบาทของพระมหากษัตริย์ในการช่วยพัฒนาระบอบประชาธิปไตย)
       (๓.๓) พระราชหัตถเลขา สละราชสมบัติของรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ.๒๔๗๗)
       เอกสารหมายเลข ๔ เทคนิคการเขียน (ออกแบบ – design) รัฐธรรมนูญในยุคปัจจุบัน (การ rationalization การเขียน รธน. ในกลางศตวรรษที่ 20 เพื่อแก้ระบบเผด็จการใน ระบบรัฐสภา - การผูกขาดอำนาจรัฐ (บริหาร-นิติบัญญัติ)
       (๔.๑) ระบบกึ่งรัฐสภา (semi – parliamentary system) : รัฐธรรมนูญ เยอรมัน ค.ศ. ๑๙๔๘
       (๔.๒) ระบบกึ่งประธานาธิบดี (semi – presidential system) : เกาหลีใต้ / ฝรั่งเศส / รัสเซีย ฯลฯ
       เอกสารหมายเลข ๕ “ความด้อยพัฒนา” ของวงการวิชาการไทยในการเขียนรัฐธรรมนูญ ก่อนการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕
       (๕.๑) รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นในสมัยเมจิ (ค.ศ.๑๘๘๙ - พ.ศ.๒๔๓๒)
       (๕.๒) ร่างรัฐธรรมนูญของไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗)
       - ฉบับแรก พ.ศ.๒๔๖๙ ร่าง รธน.ของ พระยากัลยาณไมตรี (12 มาตรา)
       - ฉบับที่สอง พ.ศ.๒๔๗๔ (๙ มีนาคม) ร่าง รธน.ของนาย Raymond B.Stevens และพระยาศรีวิสารวาจา (กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ) [หมายเหตุ :- รัชกาลที่ ๗ กำหนดพระราชทาน รธน. ในวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕]
       เอกสารหมายเลข ๖ “ความสำเร็จ” หรือ “ความล้มเหลว” ในการปฏิรูปการเมืองของไทย
       (๖.๑) “Old Paradigm” ในอดีต (พ.ศ.2539)
       - สภาร่างรัฐธรรมนูญ (รธน.พ.ศ.๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๖ พ.ศ.๒๕๓๙)
       [ความล้มเหลวของการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๔๐) : รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๔๐) ได้ก่อให้เกิดระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนธุรกิจ]
       (๖.๒) “Old Paradigm” ในอนาคต (พรรคการเมืองเสนอเพื่อการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๙ - พ.ศ.๒๕๕๐) 
       - “(ร่าง) สภาปฏิรูปการเมือง” เสนอโดยพรรคไทยรักไทย 
       
- “(ร่าง) คณะกรรมการพิเศษเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ” เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์
       
(๖.๓) “New Paradigm” สำหรับการปฏิรูปการเมือง
       - “(ร่าง) คณะกรรมการพิเศษเพื่อยกร่าง รธน.แห่งชาติ” เสนอโดยนักวิชาการ(บางกลุ่ม)
       
       เอกสารหมายเลข 1
       
       เอกสารวิชาการ
       
       (1) หลักการของการเป็น“ระบอบประชาธิปไตย”
       
       ************************
       
       ความเป็นประชาธิปไตยอยู่ที่ ความเป็นอิสระของ ส.ส.ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมโนธรรมของตน
       
       ************************
       
       ส่วนที่ 1.1 ตัวอย่าง รธน. ต่างประเทศ (เยอรมันนี / ฝรั่งเศส / เกาหลีใต้ / เดนมาร์ก / สเปน)
       
       (1) รธน. เยอรมนี (ค.ศ. 1947)
       Article 38 (Elections)
       (1) The Member of the German Bundestag shall be elected in general, direct, equal and secret elections. They shall be representatives of the whole people; they shall not be bound by any instructions, only by their conscience.
       
(2) Anybody who has reached the age of eighteen is entitled to vote; anybody of majority age is eligible for election.
       (3) Details shall be the subject of a federal law.
       
       (2) รธน. ฝรั่งเศส (ค.ศ. 1958)
       Article 27
       Any binding instruction is void.
       The right to vote of members of Parliament is personal.
       
An organic law can authorize, in exceptional cases, voting by proxy (délégation de vote). In such a case, no member can receive more than one vote.
       
       (3) รธน. เกาหลีใต้ (ค.ศ. 1988)
       Article 46
       (1) Members of the National Assembly shall have the duty to maintain high standards of integrity.
       (2) Members of the National Assembly shall give preference to national interests and shall perform their duties in accordance with conscience.
       
(3) Members of the National Assembly shall not acquire, through abuse of their positions, rights and interests in property or positions, or assist other persons to acquire the same, by means of contracts with or dispositions by the State, public organizations or industries.
       
       (4) รธน. เดนมาร์ก (ค.ศ.1953)
       Article 56
       The Members of the Folketing shall be bound solely by their own consciences and not by any directions given by their electors.
       
       (5) รธน. สเปน (ค.ศ.1978)
       Article 66
       1. The Cortes Generales represent the Spanish people and are formed by the Congress of Deputies and the Senate.
       2. The Cortes Generales exercise the legislative power of the State, approve its budgets, control the action of the Government and have the other competences granted them by the Constitution.
       3. The Cortes Generales are inviolable.
       
       Article 67
       2. The members of the Cortes Generales are not bound by an imperative mandate.
       ************************
       ส่วนที่ 1.2 วิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย ไปสู่ “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมือง นักธุรกิจนายทุน (จาก พ.ศ.2517 ถึงปัจจุบัน พ.ศ.2549)
       
       
(1) ก่อน พ.ศ. 2517 : เช่น รัฐธรรมนูญไทย (ฉบับที่ 8) รธน. (พ.ศ. 2511) จะมีบทบัญญัติดังนี้
       - สถานภาพของ ส.ส. สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนย่อมเป็นผู้แทนปวงชน ชาวไทยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาว ไทย (มาตรา 97) 
       - คำปฏิญาณ ... “ข้าพเจ้า (ผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ตาม ความเห็นของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาว ไทยทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุก ประการ” (มาตรา 98) 
       - (ไม่มีการบังคับ ส.ส.สังกัดพรรค)
       - (ไม่มีการพ้นจากสมาชิกภาพของ ส.ส. เพราะพ้นจากสมาชิกของพรรคการเมือง)
       
       (2) พ.ศ. 2517 (รธน. ฉบับที่ 10 ยกร่างโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ ที่แต่งตั้งโดย“สภานิติ บัญญัติแห่งชาติ” ตามธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2515 - คณะปฏิวัติ) 
       - สถานภาพของ ส.ส. สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ย่อมเป็นผู้แทน ปวงชนชาวไทย (มาตรา 127) 
       - คำปฏิญาณ ...“ข้าพเจ้า (ผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ตาม ความเห็นของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชน ชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยทุกประการ” (มาตรา 128)
       - การบังคับสังกัดพรรค ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้อง เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว (มาตรา 117 (3))
       - การพ้นจากสมาชิกภาพของ ส.ส. ส.ส. ต้องพ้นจากสมาชิกภาพเมื่อ (1) ลาออกจาก การเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง และ (2) เมื่อพรรคการเมืองมีมติให้พ้น จากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองและไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรค การเมืองอื่นได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พรรคการเมืองมีมติ (มาตรา 124(7)(8))
       
       (3) พ.ศ. 2521 (รธน. ฉบับที่ 13 ยกร่างโดยคณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งโดย “สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ” ตามธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2520 - คณะปฏิวัติ)
       - สถานภาพของ ส.ส. มาตรา 106 สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย (มาตรา 106)
       - คำปฏิญาณ ... “ข้าพเจ้า (ผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะ รักษาไว้ และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” (มาตรา 107)
       - การบังคับสังกัดพรรค ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งฯ พรรคใดพรรคหนึ่ง แต่พรรคเดียว (มาตรา 94 (3))
       - การพ้นจากสมาชิกภาพของ ส.ส. ส.ส.ต้องพ้นจากสมาชิกภาพเมื่อ (1) ลาออกจาก พรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก (2) พรรคการเมืองมีมติให้พ้นจากการเป็น สมาชิกของพรรคการเมือง (มาตรา 103 (7) (8))
       

       (4) พ.ศ. 2534 (รธน. พ.ศ. 2534 ยกร่างขึ้นโดยคณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งโดย“สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ” ” ตามธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2534 - คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) 
       - สถานภาพของ ส.ส. สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ย่อมเป็นผู้แทน ปวงชนชาวไทย และต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชน ชาวไทย (มาตรา 117 หรือ version 2 – แก้ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2538) มาตรา 123) 
       - คำปฏิญาณ ... “ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะ รักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” (มาตรา 118 หรือ version 2 แก้ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2538) มาตรา 124)
       - การบังคับสังกัดพรรค ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง (มาตรา 105 (3) หรือ version 2 มาตรา 111)
       - การพ้นสมาชิกภาพของ ส.ส. ส.ส.จะพ้นจากสมาชิกภาพเมื่อ (1) ลาออกจากพรรค การเมืองที่ตนเป็นสมาชิก และ (2) พรรคการเมืองมีมติให้พ้นจากสมาชิก ของพรรคการเมือง (มาตรา 114 (7) (8) หรือ version 2 แก้ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2538) มาตรา 120(7) (8)) 
       - นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.(เพิ่มเติมหลังพฤษภาทมิฬโดย รธน.แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่4 พ.ศ.2535 มาตรา 159 หรือ version 2 แก้ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2538) มาตรา 163)
       
       (5) พ.ศ. 2540 (รธน. ฉบับปัจจุบัน ยกร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ- สสร. ตาม รธน.พ.ศ.2534 แก้ไขโดย ส.ส.และ ส.ว. ได้แก่“ระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยพรรคการเมือง”)
       - สถานภาพของ ส.ส. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยและ ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อส่วนรวมของปวงชนชาวไทย (มาตรา 149)
       - คำปฏิญาณ “ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตาม ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ (มาตรา 150) 
       - การบังคับสังกัดพรรค ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน (มาตรา 107 (4)) 
       - การพ้นจากสมาชิกภาพของ ส.ส. ส.ส. ต้องพ้นจากสมาชิกภาพเมื่อ (1) ลาออกจาก พรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก (2) พรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติ ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก (มาตรา 118 (8) (9)) 
       - นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.(มาตรา 201)
       
       ************************
       
       รัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540) ไม่ใช่ "ระบอบประชาธิปไตย"
       
       ************************
       
       สภาร่างรัฐธรรมนูญ – ส.ส.ร.(พ.ศ.2539) ได้ทำให้การเลือกตั้งของไทย
       
       ไม่ใช่การเลือกตั้ง “ผู้แทนราษฎร”
       
       แต่
       
       เป็นการเลือกตั้ง “ตัวแทน(ของพรรคการเมือง(นายทุนธุรกิจ)”
       
       เพื่อยกมือตามมติของพรรคการเมือง
       


พิมพ์จาก http://public-law.net/view.aspx?ID=971
เวลา 25 พฤศจิกายน 2567 21:53 น.
Pub Law Net (http://www.pub-law.net)