นิติศาสตร์ชายขอบ และนิติศาสตร์นอกคอก

27 พฤศจิกายน 2548 22:53 น.

       หนังสือทั้งสองเล่มนี้มีชื่อและหน้าปกที่ “น่ารัก” ครับ และเมื่อพลิกเข้าไปดูเนื้อหาสาระ ก็พบว่าเป็นหนังสือที่ “น่าสนใจ” มากด้วยครับ
       หนังสือ 2 เล่มเป็นการรวบรวมผลงานจำนวน 8 เรื่องของอาจารย์สมชายฯ ที่ได้เผยแพร่ไปแล้วในที่ต่าง ๆ โดยหนังสือเล่มแรกคือ นิติศาสตร์ชายขอบนั้นมีผลงานจำนวน 4 เรื่องคือ กำเนิดและความเปลี่ยนแปลงของสัญชาติไทย (ชาว)เขาถูกบังคับให้เป็นคนต่างด้าว ชุมชนและการจัดการทรัพยากรป่าในระบบกฎหมายไทย และชนพื้นเมืองและการจัดการทรัพยากร : บทเรียนจากมาเลเซีย ส่วนในเล่มที่สองคือนิติศาสตร์นอกคอก ก็มีบทความจำนวน 4 เรื่อง คือ น้ำยาวิชานิติศาสตร์ไทย การดื้อแพ่งต่อกฎหมาย ศาลรัฐธรรมนูญพิทักษ์รัฐหรือรัฐธรรมนูญ และการข่มขืนโดยกระบวนการยุติธรรม
       จริงอยู่ที่บทความทั้งหมดไม่ได้เป็นบทความด้านกฎหมายมหาชน แต่เมื่ออ่านจนจบแล้วก็จะพบว่าได้ความรู้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังเห็นภาพเพิ่มขึ้นมาอีกด้วยว่า บรรดาเรื่องยุ่ง ๆ ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสังคมของเรานั้นเกิดขึ้นจากเหตุที่ว่าเรามีกฎหมายเป็น “ตัวกำหนด” สถานะต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งในบางครั้งกฎหมายนี้เองเป็น “ตัวสร้างปัญหา” ในสังคมด้วยครับ!
       ลองอ่านหนังสือทั้งสองเล่มนี้ดู แล้วจะรู้สึกเหมือน ๆ กันคือชื่นชมผู้เขียนที่เขียนได้ดีและค้นข้อมูลมาก แถมยังอ่านแล้วรู้สึกน่าสนใจติดตามด้วยครับ
       ขอขอบคุณสำนักพิมพ์วิญญูชนสำหรับหนังสือเล่มนี้ครับ


พิมพ์จาก http://public-law.net/view.aspx?ID=845
เวลา 3 พฤษภาคม 2567 11:16 น.
Pub Law Net (http://www.pub-law.net)