สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540)

21 ธันวาคม 2547 11:25 น.

                   
        หลังจากที่รอคอยมาเป็นเวลากว่า 2 ปี ในที่สุด สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ซึ่งทยอยออกมาเผยแพร่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็ออกมาครบถ้วนจำนวน 43 เล่ม
                   
        สารานุกรมทั้ง 43 เล่มนับเป็นเอกสารความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันที่ดีที่สุดและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะหาได้ในปัจจุบัน มีการแบ่งสาระสำคัญออกเป็น 6 หมวด และในแต่ละหมวดก็จะเป็นคำอธิบายหัวข้อในหมวดเล่มละเรื่อง โดยมีรายละเอียดของเรื่องและผู้เขียน ดังนี้ คือ
                   
        หมวดทั่วไป
                   
        1. เจตนามรณ์รัฐธรรมนูญ โดย ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
                   
       2. พระมหากษัตริย์ โดย รองศาสตราจารย์ธงทอง จันทรางศุ
                   
       3. การปฏิรูปราชการตามรัฐธรรมนูญ โดย ดร.พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
                   
       4. การปกครองส่วนท้องถิ่น โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
                   
       5. สิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญ โดย คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม
                   
       หมวดรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
                   
       1. กระบวนการตรากฎหมาย โดย กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์
                   
       2. ประเภทและศักดิ์กฎหมายในรัฐธรรมนูญ โดย มานิตย์ จุมปา
                   
       3. กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
                   
       4. การจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดย กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์
                   
       หมวดสิทธิเสรีภาพ
                   
       1. หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดย ดร.บรรเจิด
       สิงคะเนติ
                   
       2. หลักความเสมอภาค โดย ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
                   
       3. สิทธิเสรีภาพเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และสิทธิเสรีภาพในคดีอาญา โดย ดร.ฤทัย หงส์สิริ
                   
       4. สิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ โดย ปกรณ์ นิลประพันธ์
                   
       5. สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ทางสังคม โดย คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม
                   
       6. สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดย ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
                   
       7. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดย ดร.เชาวนะ ไตรมาศ
                   
       หมวดองค์กรทางการเมือง
                   
       1. รัฐสภา โดย วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์
                   
       2. สภาผู้แทนราษฎร โดย วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์
                   
       3. วุฒิสภา โดย วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์
                   
       4. หลักการใหม่ในกระบวนการนิติบัญญัติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
                   
       5. ระบบการเลือกตั้ง โดย รองศาสตราจารย์โคทม อารียา
                   
       6. การอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดย มานิตย์ จุมปา
                   
       7. การยุบสภา โดย มานิตย์ จุมปา
                   
       8. คณะกรรมาธิการ โดย กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์
                   
       9. เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน โดย มานิตย์ จุมปา
                   
       10. คณะรัฐมนตรี โดย ดร.อัครเมศวร์ ทองนวล
                   
       11. ความสัมพันธ์ระหว่างคณะรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี โดย ดร.อัครเมศวร์ ทองนวล
                   
       12. การออกเสียงประชามติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
                   
       13. พรรคการเมือง โดย มานิตย์ จุมปา
                   
        หมวดองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
                   
       1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง โดย รองศาสตราจารย์โคทม อารียา
                   
       2. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา โดย ชูเกียรติ รัตนชัยชาญ
                   
       3. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดย เสรี นนทสูติ
                   
       4. ศาลรัฐธรรมนูญ โดย ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
                   
       5. ศาลยุติธรรม โดย วรรณชัย บุญบำรุง
                   
       6. ศาลปกครอง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์
                   
       7. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดย ดร.ฤทัย
       หงส์สิริ
                   
       8. การตรวจเงินแผ่นดิน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
                   
       หมวดการตรวจสอบ
                   
       1. การตรวจสอบคณะรัฐมนตรีโดยรัฐสภา โดย ดร.อัครเมศวร์ ทองนวล
                   
       2. การตรวจสอบรัฐสภา โดย ดร.อัครเมศวร์ ทองนวล
                   
       3. การตรวจสอบศาล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์
                   
       4. การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน โดย รองศาสตราจารย์
       ดร. นันทวัฒน์ บรมานันท์
                   
       5. การถอดถอนจากตำแหน่ง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
                   
       6. การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
                   
        ในตอนท้ายของสารานุกรมแต่ละเล่ม ยังมีคำถามและคำตอบที่เป็นสาระสำคัญของเรื่องในแต่ละเล่ม พร้อมทั้งรายชื่อหนังสืออ้างอิงที่ผู้สนใจสามารถไปค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมต่อไปได้ รวมทั้งในบางเล่มยังมีภาคผนวกที่นำเอาสาระสำคัญที่อาจเป็นร่างกฎหมาย หรือบทความอื่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระของแต่ละเล่มมานำเสนอไว้ด้วย
                   
        pub-law.net ขอแนะนำหนังสือชุดนี้อย่างจริงจังว่าเหมาะสำหรับห้องสมุดทุกระดับ รวมทั้งผู้สนใจในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ควรมีไว้เป็น "คัมภีร์" ประจำห้องทำงานครับ


พิมพ์จาก http://public-law.net/view.aspx?ID=253
เวลา 25 พฤศจิกายน 2567 10:24 น.
Pub Law Net (http://www.pub-law.net)