การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 10 ประจำปี 2551เรื่อง “การเมืองและวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม”

17 สิงหาคม 2551 15:59 น.

       กิจกรรมหลัก
       (1) ปาฐกถานำ เรื่อง “บทบาทองค์กรระหว่างประเทศกับวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม”
       โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ, เลขาธิการอาเซียน
       (2) ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การเมืองไทยและวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม”
       โดย ท่านผู้หญิง ดร. สุธาวัลย์ เสถียรไทย, สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
        (3) อภิปราย เรื่อง “ธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อม ในมุมมองเชิงเปรียบเทียบจากประสบการณ์ต่างประเทศ”
        (4) อภิปราย เรื่อง “นโยบายสาธารณะของไทย: การเชื่อมผสานระหว่างสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา” โดยนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิชาวไทย
       (5) ประชาเสวนากลุ่มย่อย 7 กลุ่ม ดังนี้
        (5.1) กลุ่มย่อยที่ 1 เรื่อง กระบวนการตัดสินใจทางการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม
        (5.2) กลุ่มย่อยที่ 2 เรื่อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ชุมชน และวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก
        (5.3) กลุ่มย่อยที่ 3 เรื่อง การสร้างวัฒนธรรมธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย
        (5.4) กลุ่มย่อยที่ 4 เรื่อง ความยุติธรรม และการจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม
        (5.5) กลุ่มย่อยที่ 5 เรื่อง การเมืองว่าด้วยการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม
        (5.6) กลุ่มย่อยที่ 6 เรื่อง บทบาทของสื่อกับวิกฤตสิ่งแวดล้อม
        (5.7) กลุ่มย่อยที่ 7 เรื่อง ประชาสังคมกับการสร้างธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
       (6) ปาฐกถาปิด เรื่อง “การสร้างเสริมสันติภาพในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้าน สิ่งแวดล้อม” โดย Dr. Shirin Ebadi, ผู้ได้รับรางวัล Nobel Peace ปี ค.ศ.2003 ประเทศอิหร่าน
       
       เชิญชวนส่งบทความวิชาการนำเสนอในการประชาเสวนากลุ่มย่อย
       1. การแสดงความจำนงเสนอบทความวิชาการ
       ผู้สนใจส่งบทความวิชาการ ซึ่งมีเนื้อหาสาระตามกรอบและเป้าหมายที่กำหนด (เอกสารแนบ 1) เพื่อเผยแพร่ในการประชาเสวนากลุ่มย่อย โปรดกรอกแบบแสดงความจำนง (เอกสารแนบ 2) และส่งกลับมายังสถาบันพระปกเกล้า ภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2551
       - โทรศัพท์ 02-527-7830-9 ต่อ 2402, 2404, 2405 โทรสาร 02-527-7824
       (นางสาวณัฎฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี / นางสาวปัทมา สูบกำปัง สำนักวิจัยและพัฒนา)
       
       2. การส่งบทคัดย่อ (Abstract) และบทความ
       ส่งบทคัดย่อ (Abstract) ภายในวันที่ 25 สิงหาคม 2551 และส่งบทความฉบับสมบูรณ์ ภายในวันที่ 5 กันยายน 2551 จำนวนรวมประมาณ 15-20 หน้า A4, ตัวอักษร Eucrosia หรือ Angsana ขนาด 16 ด้วยแผ่นบันทึกข้อมูล หรือจดหมายอิเล็คทรอนิคส์ มาที่ pattama@kpi.ac.th, patt.s@hotmail.com , prap62@hotmail.com, prapaporn@kpi.ac.th, namphueng@kpi.ac.th,
       
       3. บทคัดย่อและบทความซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาเอกสารวิชาการ จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมนำเสนอบทความในการประชาเสวนากลุ่มย่อยตามกลุ่มย่อยที่แสดงความจำนงไว้ ภายในเวลาประมาณ 10 นาที วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2551 ระหว่างเวลา 13.30 – 17.00 น. และได้รับค่าตอบแทนเขียนบทความ
       
       เอกสารแนบ 1
       บทความวิชาการ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเป็นไปตามกรอบและเป้าหมาย
       1. กลุ่มย่อยที่ 1 กระบวนการตัดสินใจทางการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม
       
       กรอบและเป้าหมาย: กระบวนการตัดสินใจทางการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม อย่างมีดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ส่วนบุคคล เพื่อทำให้การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างสมดุลและยั่งยืน
       ประเด็นย่อย
       1. บทบาทของภาครัฐ และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในกระบวนการตัดสินใจทางการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
       2. ปัจจัยและบริบทแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจเรื่องสิ่งแวดล้อม
       3. ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในกระบวนการตัดสินใจทางการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม
       4. กระบวนการตัดสินใจทางการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศ
       2. กลุ่มย่อยที่ 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนและวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก
       
       กรอบและเป้าหมาย: การส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระดับโลก (Think Globally, Act Locally)
       ประเด็นย่อย
       1. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักธรรมาภิบาล
       2. การสร้างธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
       3. ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในการจัดการสิ่งแวดล้อม
       4. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างประเทศในการบริหารจัดการและสร้างธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
       5. บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก
       3. กลุ่มย่อยที่ 3 การสร้างวัฒนธรรมธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย
       
       กรอบและเป้าหมาย: แนวทางการเสริมสร้างคุณค่าสิ่งแวดล้อม การปลูกฝังวิถีชีวิตให้ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทย
       ประเด็นย่อย
       1. มุมมอง มโนทัศน์ และการดำเนินชีวิตซึ่งมีผลต่อสิ่งแวดล้อม
       2. แนวทางการเสริมสร้าง ปลูกฝังวิถีชีวิตของบุคคล วิถีชุมชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาให้เป็นวัฒนธรรมของสังคมไทย
       2. แนวทางการเสริมสร้างและพัฒนา วิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทยกับสิ่งแวดล้อม
       3. แนวคิด ตัวแบบรวมทั้งเครื่องมือในการเสริมสร้างวิถีชีวิต ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศ
       4. กลุ่มย่อยที่ 4 ความยุติธรรม และการจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม
       
       กรอบและเป้าหมาย: กฎหมาย และกระบวนการการจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม ที่สร้างความเป็นธรรมและยุติธรรมให้กับทุกฝ่ายอย่างสมดุล
       ประเด็นย่อย
       1. การจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการยุติธรรมและกลไกอื่นๆ
       2. กระบวนการทางเลือก หรือกลไกพิเศษสำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล
       3. กฎหมายในฐานะเป็นกลไกการป้องกันและการจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม
       4. การเข้าถึงความเป็นธรรมและความยุติธรรม และการจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ
       5. กลุ่มย่อยที่ 5 การเมืองว่าด้วยการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม
       
       กรอบและเป้าหมาย: แนวทางการสร้างระบบการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้จริง
       ประเด็นย่อย
       1. ปัญหาที่เกิดในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม จากมุมมองของภาคส่วนต่างๆ
       2. บทบาทภาครัฐในการจัดให้มีหลักประกันความเป็นอิสระและปลอดจากการแทรกแซงของทุกฝ่าย (จัดตั้งองค์กร ผู้รับผิดชอบรวมทั้งกองทุนฯ เพื่อใช้ในการประเมินผลกระทบฯ) และการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่นๆ ในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม
       3. แนวทางการพัฒนา ปรับปรุงระบบการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคมตาม
       4. รูปแบบ ระบบการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและสังคมที่ดีของต่างประเทศ
       6. กลุ่มย่อยที่ 6 บทบาทของสื่อกับวิกฤตสิ่งแวดล้อม
       
       กรอบและเป้าหมาย: บทบาทสื่อในการเป็นสื่อกลางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ให้ความรู้ รวมทั้งเฝ้าระวัง เพื่อสร้างจิตสำนึก และเป็นกลไกช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
       ประเด็นย่อย
       1. บทบาทสื่อต่อกระบวนการนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม
       2. บทบาทสื่อในการสื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจ
       3. หลักประกันความเป็นอิสระ และจรรยาบรรณของสื่อในการนำเสนอเรื่องสิ่งแวดล้อม
       4. การเปิดพื้นที่ในสื่อสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม
       5. รูปแบบและกลไกการสื่อสารของสื่อต่างประเทศในเรื่องสิ่งแวดล้อม
       7. กลุ่มย่อยที่ 7 ประชาสังคมกับการสร้างธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
       
       กรอบและเป้าหมาย: บทบาทภาคประชาสังคมในการมีส่วนร่วมเสริมสร้างธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมกับภาครัฐและภาคเอกชนอย่างสมดุลและสร้างสรรค์
       ประเด็นย่อย
       1. บทบาทของภาคประชาสังคมในการสร้างธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อม
       2. ช่องทางและกลไกภาครัฐในการส่งเสริมภาคประชาสังคมในการมีส่วนร่วมจัดการสิ่งแวดล้อม
       3. บทบาทของภาคประชาสังคมของต่างประเทศในการสร้างธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน


พิมพ์จาก http://public-law.net/view.aspx?ID=1255
เวลา 22 พฤศจิกายน 2567 19:40 น.
Pub Law Net (http://www.pub-law.net)