รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
_________________
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ตราไว้ ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๑
เป็นปีที่ ๒๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

            ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค ๒๕๑๑ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม กปิสมพัตสร เชฏฐมาส กาฬปักษ์ ทสมีดิถี สุริยคติกาล มิถุนายนมาส วีสติมสุรทิน พฤหัสบดีวาร โดยกาลบริเฉท
            พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิต ลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรม นาถบพิตร เสด็จออก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ท่ามกลางอุดม สันนิบาต พระบรมวงศานุวงศ์ ทูตานุทูตผู้แทนนานาประเทศ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและเสนามาตยราชบริพาร เฝ้าเบื้อง บาทบงกชพรั่งพร้อมกันโดยอนุกรม
            ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ตาม ที่สมเด็จพระบรมปิตุลาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ณ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ นั้น เป็นการสถาปนา การปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย โดยมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งมาจาก ปวงชนชาวไทยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ทรง ใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะ รัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
            การปกครองระบอบประชาธิปไตยดังกล่าว ได้วิวัฒนาการ มาโดยลำดับ ภาวะการณ์บ้านเมืองผันแปรไป เป็นเหตุให้ต้อง เปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายครั้งหลายคราว เพื่อให้ เหมาะสมกับกาลสมัย
            ตามวิวัฒนาการ ปรากฏว่า ระบอบการปกครองที่มีพระ มหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น เป็นที่เลื่อมใสศรัทราของปวงชน ชาวไทย เป็นการถาวรมั่นคงตลอดมา ข้อที่จำต้องเปลี่ยนแปลง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้แก่สัมพันธภาพระหว่างรัฐสภากับคณะ รัฐมนตรีและรูปของรัฐสภาเป็นสำคัญ ถ้าอำนาจนิติบัญญัติและ อำนาจบริหารอยู่ในฐานะที่คานกัน และสมดุลกันตามควรแล้ว บ้านเมืองก็จะอยู่ในเสถียรภาพตามที่ต้องการ
            วิธีที่จะให้มีการคานกันและสมดุลกันดังกล่าว เคยใช้วิธีให้ มีสมาชิกสองประเภทอยู่ในสภาเดียวกัน คือ สมาชิกที่ราษฎร เลือกตั้ง และสมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง แล้วใช้วิธีให้ มีสองสภา คือ สภาที่ราษฎรเลือกตั้ง และสภาที่เลือกตั้งอย่างอื่น หรือสภาที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง แล้วกลับไปใช้วิธีเดิม แต่ก็รักษาเสถียรภาพไว้ไม่ได้
            คณะปฏิวัติสังเกตเห็นว่า มีความอลเวงไม่สงบเรียบร้อย บ้านเมืองอาจประสบอันตรายได้อย่างมาก ถ้าจะให้การปกครอง ประเทศเป็นไปโดยเรียบร้อย และจะให้การปกครองระบอบ รัฐธรรมนูญเป็นการมั่นคงถาวรโดยแท้แล้ว จะต้องสร้างรากฐาน ของระบอบนั้น โดยพัฒนาการศึกษาและการเศรษฐกิจของชาติ ตามแผนและโครงการที่แน่นอน กับทั้งจัดให้มีรัฐธรรมนูญที่ เหมาะสม จึ่งได้ทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑ และ คณะปฏิวัติได้ประกาศให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕
            การที่จะให้รัฐธรรมนูญที่เหมาะสมนั้น หัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้นำความกราบบังคมทูลว่า สมควรจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ และมีธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรเพื่อใช้ไปพลางก่อน ทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๐๒ จึ่งได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร จนกว่าจะได้ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญซึ่งสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้จัดร่างขึ้น
            สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญโดยละเอียด ถี่ถ้วน กล่าวคือ ได้ตั้งคณะกรรมาธิการฟังความคิดเห็นประชาชน มีหน้าที่รวบรวมพิจารณาความคิดเห็นของประชาชน คณะ กรรมาธิการระเบียบวาระ มีหน้าที่ค้นคว้าและรวบรวมหลักสาร สำคัญอันควรพิจารณา และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ และในการนี้ เฉพาะหลักสารสำคัญ ให้ถือตามมติของสภา
            ในการร่างรัฐธรรมนูญนี้ ทั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะ กรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาดูบทรัฐธรรมนูญที่มีมาแล้วใน ประเทศไทย กับทั้งบทรัฐธรรมนูญของนานาประเทศประกอบ ด้วย แต่ความมุ่งหมายโดยเฉพาะ ก็คือ จะบัญญัติบทรัฐธรรมนูญ ให้เหมาะสมกับความต้องการของประเทศชาติ เพื่อให้ตั้งอยู่ใน เสถียรภาพและความเจริญก้าวหน้าสืบไป
            สภาร่างรัฐธรรมนูญลงมติกำหนดหลักสารสำคัญเป็นการ ทั่วไปว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และได้กำหนดหลักสารสำคัญใน เรื่องอื่น ๆ อาทิ เรื่องรูปรัฐสภา และเรื่องสัมพันธภาพระหว่าง รัฐสภากับคณะรัฐมนตรี กล่าวคือ ให้รัฐสภามีสองสภา สภาหนึ่ง ประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้ง อีกสภาหนึ่งประกอบด้วย สมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง รัฐสภามีอำนาจในทาง นิติบัญญัติ และควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินได้ด้วยวิธีการ ตั้งกระทู้ถามรัฐบาล เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ หรือเปิด อภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ
            เมื่อรัฐสภามีอำนาจในทางนิติบัญญัติ และควบคุมการ บริหารราชการแผ่นดินดังกล่าวแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณา เห็นว่า เพื่อดุลแห่งอำนาจอันจะยังระบอบรัฐธรรมนูญให้ตั้งอยู่ ในเสถียรภาพ สมควรที่อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารจะ แยกจากกันให้มากยิ่งขึ้น จึ่งได้ลงมติในหลักสารสำคัญว่า นายก รัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีอื่นซึ่งเป็นฝ่ายบริหารจะเป็นสมาชิกแห่ง รัฐสภาในขณะเดียวกันมิได้
            คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ยกร่างรัฐธรรมนูญ ตามหลักสารสำคัญซึ่งสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ลงมติไว้ และได้ เสนอเพื่อให้สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณา
            สภาร่างรัฐธรรมนูญได้พิจารณาเป็นสามวาระ ในวาระที่ ๑ ได้รับร่างรัฐธรรมนูญไว้พิจารณา ในวาระที่ ๒ ได้ตั้งคณะกรรมา ธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญนั้น กับคำแปรญัตติ ภายใต้บังคับแห่งหลักสารสำคัญที่สภาร่าง รัฐธรรมนูญได้ลงมติไว้ และสภาร่างรัฐธรรมนูญได้พิจารณาร่าง รัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว เริ่มต้นด้วยชื่อ รัฐธรรมนูญ คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา ในวาระที่ ๓ ได้ลงมติให้เสนอร่างรัฐธรรมนูญนั้นต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญใน ฐานะรัฐสภา
            สภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ได้พิจารณาร่างรัฐ ธรรมนูญตามมาตรา ๑๐ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร แล้ว ลงมติให้นำร่างรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูนเกล้าทูนกระหม่อม ถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยให้ประกาศ ใช้ต่อไป
            ครั้นเมื่อได้นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูนเกล้าทูนกระหม่อม ถวายแล้ว ได้ทรงพระราชวิจารณ์โดยตลอด และทรงพระราช ดำริเห็นพ้องต้องตามมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา แล้ว จึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้ แทนธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๒ นั้น ตั้งแต่วันประกาศนี้ เป็นต้นไป
            ขอให้ปวงชนชาวไทยร่วมแรงร่วมใจกันสนับสนุน ส่งเสริม และรักษาปฏิบัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ ให้เป็น หลักสถิตสถาพร ขอให้ราษฎรใช้สิทธิของตนให้เป็นผลตาม ระบอบประชาธิปไตย ขอให้รัฐสภากับรัฐบาลปฏิบัติหน้าที่ตาม บทแห่งรัฐธรรมนูญนี้ โดยเจตจำนงตรงกันในอันที่จะจรรโลง ประเทศชาติให้มั่นคงเจริญก้าวหน้า จรรโลงประชาชนให้เกษม สุขสวัสดี จรรโลงวิถีรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์ด้วยเสถียรภาพ ตราบ เท่านิรันดรกาล สมดังพระบรมราชปณิธานทุกประการ เทอญ

หมวด ๑
บททั่วไป

            มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
            มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
            มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระ มหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นแต่โดยบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญ

หมวด ๒
พระมหากษัตริย์

            มาตรา ๔ องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่ เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
            มาตรา ๕ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ใน ทางใด ๆ มิได้
            มาตรา ๖ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรง เป็นอัครศาสนูปถัมภก
            มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทาง รัฐสภา
            มาตรา ๘ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะ รัฐมนตรี
            มาตรา ๙ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
            มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย
            มาตรา ๑๑ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะ สถาปนาฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
            มาตรา ๑๒ พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรง คุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีก ไม่มากกว่าแปดคน ประกอบเป็นคณะองคมนตรี
            คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และ มีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
            มาตรา ๑๓ การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีก็ดี การให้ องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งก็ดี ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
            ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราช โองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรี พ้นจากตำแหน่ง และให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น หรือให้องคมนตรีอื่น พ้นจากตำแหน่ง
            มาตรา ๑๔ องคมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ รัฐมนตรี หรือข้าราชการเมืองอื่น สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทน หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และต้องไม่แสดง การฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ
            มาตรา ๑๕ ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
            “ข้าพระพุทธเจ้า ( ชื่อผู้ปฏิญาณ ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณ ว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศ และประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติซึ่งรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
            มาตรา ๑๖ องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือ มีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
            มาตรา ๑๗ การแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการในพระองค์ และสมุหราชองครักษ์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
            มาตรา ๑๘ ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราช อาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใด ก็ตาม จะได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
            มาตรา ๑๙ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๘ ก็ดี ในกรณีที่พระมหา กษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่นใดก็ดี ให้คณะ องคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งที่สมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐ สภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาประกาศในพระ ปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์
            มาตรา ๒๐ ในระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ให้ประธาน องคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพลางก่อน
            ในกรณีที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง ตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว
            ในระหว่างที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ตามวรรคหนึ่งก็ดี ในระหว่างที่ประธานองคมนตรีทำ หน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคสองก็ดี ประธาน องคมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นประธานองคมนตรีมิได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้คณะองคมนตรีเลือกองคมตรีคนหนึ่งขึ้น ทำหน้าที่ประธานองคมนตรีชั่วคราว
            มาตรา ๒๑ ก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ต้องปฏิญาณ ตนในที่ประชุมรัฐสภา ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
            "ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะจงรัก ภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ( พระปรมาภิไธย ) และจะปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยทุกประการ"
            มาตรา ๒๒ การสืบราชสมบัติให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎ มณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ และประกอบด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา
            การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบ ราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ให้กระทำได้โดยวิธีการ อย่างเดียวกันกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
            มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลง ให้คณะองค มนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่า ด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ต่อรัฐสภาเพื่อ ขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วให้ประธาน รัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็น พระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศเพื่อให้ ประชาชนทราบ
            ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ตาม วรรคหนึ่ง ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ไปพลางก่อน แต่ในกรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลงในระหว่าง ที่ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไว้ตามมาตรา ๑๘ หรือ มาตรา ๑๙ หรือระหว่างเวลาที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง ก็ให้ผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์นั้น ๆ แล้วแต่กรณี เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ต่อไป ทั้งนี้จนกว่าจะได้ประกาศองค์ผู้สืบราช สันตติวงศ์
            ในกรณีที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง ไว้และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อไปตามวรรคสอง ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว
            ในกรณีที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์วรรคสอง หรือทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ชั่วคราวตามวรรคสาม ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐ วรรคสาม มาใช้บังคับ

หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

            มาตรา ๒๔ บุคคลไม่ว่าเหล่ากำเนิดเหนือศาสนาใด ย่อมอยู่ ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญเสมอกัน
            มาตรา ๒๕ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ฐานันดรศักดิ์ โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี โดยประการอื่นใดก็ดี ไม่กระทำให้ เกิดเอกสิทธิอย่างใดเลย
            มาตรา ๒๖ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมี เสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่ เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
            ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวในวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับ ความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใด ๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือ เสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือว่าศาสนา นิกายของ ศาสนาหรือลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความ เชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น
            มาตรา ๒๗ บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้ กระทำการอันกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็น ความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะ หนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในเวลาที่กระทำ ความผิดมิได้
            มาตรา ๒๘ ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา หรือจำเลยไม่มีความผิด
            ก่อนที่จะมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้ กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำ ความผิดมิได้
            คำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา จะต้องได้รับ การพิจารณา และจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิได้ การไม่ให้ประกันต้องอาศัยเหตุตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้โดย เฉพาะในกฎหมาย และจะต้องแจ้งเหตุที่ไม่ให้ประกันแก่ผู้ ต้องหาหรือจำเลยทราบ
            บุคคลผู้ถูกคุมขังหรือถูกจำคุก ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการ เยี่ยมตามสมควร
            มาตรา ๒๙ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย
            การจับกุมคุมขังหรือตรวจค้นตัวบุคคลไม่ว่าในกรณีใด ๆ จะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่ผู้ถูกจับกุมหรือถูกตรวจค้นจะต้องได้รับแจ้งเหตุพร้อมด้วย รายละเอียดตามสมควรในการที่ถูกจับหรือถูกตรวจค้นโดยไม่ ชักช้า และผู้ถูกคุมขังย่อมมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ เป็นการเฉพาะตัวได้
            ในกรณีที่มีการคุมขังตัวบุคคล ผู้ถูกคุมขังเองก็ดี พนักงาน อัยการก็ดี บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขังก็ดี มีสิทธิ ร้องต่อศาลท้องที่ซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาว่าการคุมขังเป็น การมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อมีคำร้องเช่นว่านี้ ให้ศาลดำเนินการ ไต่สวนฝ่ายเดียวโดยด่วน ถ้าเห็นว่าคำร้องนั้นมีมูล ศาลมีอำนาจ สั่งผู้คุมขังให้นำตัวผู้ถูกคุมขังมาศาลโดยพลัน และถ้าผู้ถูกคุมขัง แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลไม่ได้ว่าการคุมขังเป็นการชอบด้วย กฎหมาย ก็ให้ศาลสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปทันที
            มาตรา ๓๐ การเกณฑ์แรงงาน จะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัย อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการ ป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาเป็นการฉุกเฉิน หรือโดยอาศัย อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งบัญญัติให้กระทำได้ใน ระหว่างเวลาที่มีประเทศอยู่ในภาวะการรบหรือการสงคราม หรือ ในระหว่างเวลาที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือในระหว่าง เวลาที่มีประกาศใช้กฎอัยการศึก
            มาตรา ๓๑ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในเคหสถาน
            บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัย และ ครอบครองเคหสถานโดยปรกติสุข การเข้าไปในเคหสถานโดย ปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครองก็ดี การตรวจค้น เคหสถานก็ดี จะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย
            มาตรา ๓๒ สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความ คุ้มครอง ขอบเขตและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามบท บัญญัติแห่งกฎหมาย
            การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง สิทธิของบุคคลใน การสืบมรดกย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
            การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัย อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการอันเป็น สาธารณูปโภค หรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศโดยตรง หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์แก่การ ผังเมืองหรือประโยชน์ของรัฐอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทำขวัญ อันเป็นธรรมแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ทรงสิทธิตามที่ระบุไว้ใน กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ บรรดาที่ได้รับความ เสียหายในการเวนคืนนั้นด้วย
            มาตรา ๓๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการพูด การ เขียน การพิมพ์และการโฆษณา
            การจำกัดเสรีภาพเช่นว่านี้ จะกระทำได้ก็แต่โดยบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อคุ้มครองเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะคับขัน หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันความเสื่อม ทรามทางจิตใจของยุวชน
            การให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์ของ เอกชน รัฐจะกระทำมิได้
            มาตรา ๓๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษา อบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของ พลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรม และไม่ขัดต่อ กฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรสถานศึกษา
            มาตรา ๓๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการชุมนุมโดย สงบและปราศจากอาวุธ
            การจำกัดเสรีภาพเช่นว่านี้ จะกระทำได้ก็แต่โดยบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อ คุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ใน ภาวะการรบหรือการสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศใช้กฎ อัยการศึก
            มาตรา ๓๖ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการรวมกัน เป็นสมาคม เมื่อมีวัตถุประสงค์ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
            การจัดตั้งและการดำเนินกิจการของสมาคมย่อมเป็นไปตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
            มาตรา ๓๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการรวมกัน เป็นพรรคการเมือง เพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองโดยวิถี ทางประชาธิปไตย และไม่ขัดต่อระบอบการปกครองตาม รัฐธรรมนูญนี้
            การจัดตั้งและการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองย่อม เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง
            มาตรา ๓๘ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดย ทางไปรษณีย์หรือทางอื่นที่ชอบด้วยกฎหมาย
            การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยจดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ หรือสิ่งสื่อสารอื่นใดที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน จะกระทำ ได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
            บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอภาคในการใช้การสื่อสารที่จัดไว้เป็น บริการสาธารณะ
            มาตรา ๓๙ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการเลือกถิ่น ที่อยู่ภายในราชอาณาจักรและในการประกอบอาชีพ
            การจำกัดเสถียรภาพเช่นว่านี้ จะกระทำได้ก็แต่โดยบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อความปลอดภัยของประเทศ เศรษฐกิจ แห่งชาติ หรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อรักษาความ สัมพันธ์ในครอบครัว
            การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร จะกระทำมิได้
            มาตรา ๔๐ บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันย่อมมีสิทธิ เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมาย บัญญัติ
            มาตรา ๔๑ สิทธิของบุคคลในครอบครัวย่อมได้รับความ คุ้มครอง
            มาตรา ๔๒ สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการซึ่งเป็น นิติบุคคล ให้รับผิดเพื่อการกระทำของเจ้าพนักงานในฐานะ เสมือนเป็นตัวการหรือนายจ้าง ย่อมได้รับความคุ้มครอง
            มาตรา ๔๓ บุคคลซึ่งเป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการประจำ อื่น และข้าราชการส่วนท้องถิ่น ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตาม รัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันประชาชนพลเมือง เว้นแต่ที่จำกัดใน กฎหมาย หรือกฎหรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพหรือวินัย
            มาตรา ๔๔ บุคคลจะใช้สิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้เป็นปฏิปักษ์ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และรัฐธรรมนูญ มิได้

หมวด ๔
หน้าที่ของชนชาวไทย

            มาตรา ๔๕ บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ
            มาตรา ๔๖ บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหารตามที่กฎหมาย บัญญัติ
            มาตรา ๔๗ บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้
            มาตรา ๔๘ บุคคลมีหน้าที่เคารพต่อกฎหมาย
            มาตรา ๔๙ ในการใช้สิทธิเลือกตั้ง และสิทธิออกเสียง ประชามติ บุคคลมีหน้าที่ต้องกระทำโดยสุจริต และมุ่งถึง ประโยชน์ส่วนรวม
            มาตรา ๕๐ บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมาย บัญญัติ
            มาตรา ๕๑ บุคคลมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการตามที่กฎหมาย บัญญัติ
            มาตรา ๕๒ บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถม ศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ

หมวด ๕
แนวนโยบายแห่งรัฐ

            มาตรา ๕๓ บทบัญญัติในหมวดนี้มีไว้เพื่อเป็นแนวทาง สำหรับการตรากฎหมายและการบริหารราชการตามนโยบายดัง กำหนดไว้ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องร้องรัฐ
            มาตรา ๕๔ รัฐจะต้องรักษาไว้ซึ่งเอกราช
            มาตรา ๕๕ รัฐพึงส่งเสริมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ และถือหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
            มาตรา ๕๖ รัฐพึงร่วมมือกับนานาประเทศในการรักษา ความยุติธรรมระหว่างประเทศ และผดุงสันติสุขของโลก
            มาตรา ๕๗ กำลังทหารพึงมีโดยเหมาะสมแก่ความจำเป็น สำหรับรักษาเอกราช ความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติ
            มาตรา ๕๘ กำลังทหารเป็นของชาติ พึงใช้เพื่อการรบหรือ การสงคราม หรือเพื่อปราบปรามการจลาจล
            การใช้กำลังทหารเพื่อการอื่น ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมาย
            มาตรา ๕๙ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม
            การจัดระบบการศึกอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ
            การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษา ดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
            มาตรา ๖๐ การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษา ของรัฐ จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
            รัฐพึงช่วยเหลือให้ได้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามควร
            มาตรา ๖๑ รัฐพึงสนับสนุนการวิจัยในศิลปวิทยา และวิทยา ศาสตร์
            มาตรา ๖๒ รัฐพึงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประจำชาติ แต่ต้อง ไม่กระทำโดยวิธีการอันเป็นการบังคับฝืนใจบุคคล
            มาตรา ๖๓ รัฐพึงบำรุงรักษาสถานที่และวัตถุอันมีค่าในทาง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศิลปกรรม
            มาตรา ๖๔ รัฐพึงสนับสนุนให้เอกชนได้มีการริเริ่มในทาง เศรษฐกิจ
            การประกอบกิจการอันมีลักษณะเป็นสาธารณูปโภค รัฐพึง จัดให้ประสานกันกับการดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจส่วนเอกชน ในทางที่จะให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนเป็นส่วนรวม
            การประกอบกิจการอันมีลักษณะเป็นสาธารณูปโภคโดย เอกชนก็ดี กิจการอันเป็นการผูกขาดตัดตอนก็ดี จะกระทำได้ ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
            มาตรา ๖๕ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการประกอบเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มพูนผลิตผลทั้งในทางปริมาณและคุณภาพ
            มาตรา ๖๖ รัฐพึงสนับสนุนการค้าและการประกอบการผลิต ส่วนเอกชน ทั้งในเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
            มาตรา ๖๗ รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการสังคมสงเคราะห์ เพื่อสวัสดิภาพและความผาสุกของประชาชน
            มาตรา ๖๘ รัฐพึงส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำตาม ควรแก่อัตภาพ และคุ้มครองแรงงานให้เป็นไปโดยเป็นธรรม
            มาตรา ๖๙ รัฐพึงส่งเสริมการสาธารณสุข
            มาตรา ๗๐ รัฐพึงส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสนับสนุนให้ท้องถิ่นสามารถดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ได้ เป็นผลดี

หมวด ๖
อำนาจนิติบัญญัติ
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป

            มาตรา ๗๑ รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภา และสภาผู้แทน
            รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน ย่อมเป็นไปตามบท บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
            มาตรา ๗๒ ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา ประธาน สภาผู้แทนเป็นรองประธานรัฐสภา
            ประธานรัฐสภามีหน้าที่ดำเนินกิจการของรัฐสภาในกรณี ประชุมร่วมกันให้เป็นไปตามระเบียบ และมีหน้าที่อื่นตามที่ บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
            ในกรณีที่ประธานรัฐสภาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รอง ประธานรัฐสภาทำหน้าที่แทน
            มาตรา ๗๓ ร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็ แต่โดยคำแนะนำและคำยินยอมของรัฐสภา
            มาตรา ๗๔ ร่างพระราชบัญญัติซึ่งได้รับความหมายเห็นชอบของ รัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูนเกล้า ฯ ถวายเพื่อพระ มหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราช กิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
            มาตรา ๗๕ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ไม่ทรง เห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือมิได้พระ ราชทานคืนมาภายในเก้าสิบวัน รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราช บัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่ต่ำกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูนเกล้า ฯ ถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมา ภิไธยพระราชทานลงมาภายในสามสิบวัน ก็ให้นายกรัฐมนตรีนำ พระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็น กฎหมายได้ เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมา ภิไธยแล้ว
            มาตรา ๗๖ บุคคลจะเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภา ผู้แทนในขณะเดียวกันมิได้
            มาตรา ๗๗ สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนสภาใด สภาหนึ่งไม่น้อยกว่าห้าคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานแห่งสภา ที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภา นั้นสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และให้ประธาน แห่งสภาที่ได้รับคำร้องส่งคำร้องนั้นไปยังคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัย
            คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นเด็ดขาด และให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธาน แห่งสภาที่ได้รับคำร้องดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
            คำวินิจฉัยขณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ว่าสมาชิกภาพของ สมาชิกคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลง ย่อมไม่กระทบกระทั่งกิจการที่ สมาชิกคนนั้นได้กระทำไปในหน้าที่สมาชิกก่อนที่ประธานแห่ง สภาที่ผู้แทนนั้นเป็นสมาชิกได้รับแจ้งคำวินิจฉัย

ส่วนที่ ๒
วุฒิสภา

            มาตรา ๗๘ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาการหรือกิจการต่าง ๆ อันจะ ยังประโยชน์ให้เกิดแก่การปกครองแผ่นดิน มีสัญชาติไทยโดย กำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
            สมาชิกวุฒิสภาให้มีจำนวนสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้ง หมดของสภาผู้แทน หากจำนวนที่คำนวณได้มีเศษให้ปัดเศษทิ้ง
            มาตรา ๗๙ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภามีวาระคราวละ หกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
            ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนดสามปีนับแต่วันที่พระมหา กษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกเป็นครั้งแรก ให้มีการจับสลากเพื่อให้ สมาชิกพ้นจากตำแหน่งเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก ทั้งหมด และให้ถือว่าการสิ้นสุดแห่งสมาชิกภาพโดยการจับสลาก เป็นการออกตามวาระด้วย
            พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะแต่งตั้งผู้ที่ ออกตามวาระ เป็นสมาชิกอีกได้
            มาตรา ๘๐ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง เมื่อ
            (๑) ถึงคราวออกตามวาระ
            (๒) ตาย
            (๓) ลาออก
            (๔) เสียสัญชาติไทย
            (๕) มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๖ (๑) (๒) (๓) หรือ (๕) หรือมาตรา ๘๙ (๑) (๒) หรือ (๓)
            (๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาโทษจำคุก เว้นแต่ในความ ผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือ ความผิดที่มีกำหนดโทษชั้นลหุโทษ
            มาตรา ๘๑ ถ้าตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงเพราะเหตุอื่น ใด นอกจากถึงคราวออกตามวาระ พระมหากษัตริย์จะได้ทรง แต่งตั้งบุคคลผู้มีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๘ เข้า มาเป็นสมาชิกแทน สมาชิกซึ่งเข้ามาแทนนั้นย่อมอยู่ในตำแหน่ง ได้เพียงครบตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน

ส่วนที่ ๓
สภาผู้แทน

            มาตรา ๘๒ สภาผู้แทนประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎร เลือกตั้ง มีจำนวนตามเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๓
            การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนน โดยตรงและลับ และให้ถือเขตจังหวัดเป็นเกณฑ์
            การเลือกตั้งจะใช้วิธีรวมเขตหรือแบ่งเขต ให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
            มาตรา ๘๓ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนให้ถือเกณฑ์ จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัด ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง หนึ่งแสนห้าหมื่นคน ต่อสมาชิกสภาผู้แทนหนึ่งคน จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงหนึ่งแสน ห้าหมื่นคนให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนในจังหวัดนั้นได้ หนึ่งคน ถ้าจังหวัดใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนห้าหมื่นคนก็ให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อ จำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนห้าหมื่นคน เศษของหนึ่งแสนห้าหมื่น ถ้าถึงเจ็ดหมื่นห้าพันหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสนห้าหมื่น
            มาตรา ๘๔ บุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๘๕ และไม่เป็น บุคคลต้องห้ามตามมาตรา ๘๖ ย่อมมีสิทธิเลือกตั้ง
            มาตรา ๘๕ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
            (๑) สัญชาติไทยตามกฎหมาย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวก็ดี บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยการแปลง ชาติก็ดี ต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนอีกด้วย
            (๒) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคมของ ปีที่มีการเลือกตั้ง
            (๓) คุณสมบัติอื่น หากมีกำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
            มาตรา ๘๖ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็น บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ
            (๑) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
            (๒) หูหนวกและเป็นใบ้ ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียน หนังสือได้
            (๓) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช
            (๔) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
            (๕) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยคำ พิพากษา
            มาตรา ๘๗ บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๘๔ และมี คุณสมบัติตามมาตรา ๘๘ ทั้งไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามมาตรา ๘๙ ย่อมมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน แต่บท บัญญัติมาตรา ๘๖ ( ๔ ) มิให้นำมาใช้บังคับในกรณีที่ยังมิได้มีคำ พิพากษาของศาลใดศาลหนึ่งให้จำคุกต้องคุมขัง
            มาตรา ๘๘ ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
            (๑) สัญชาติไทยตามกฎหมาย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวก็ดี บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยการแปลง ชาติก็ดี ต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนอีกด้วย
            (๒) อายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
            (๓) มาตราฐานการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่า ด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
            (๔) คุณสมบัติอื่น หากมีกำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วย การเลือกตั้งสภาผู้แทน
            มาตรา ๘๙ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้อง ห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คือ
            (๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
            (๒) ตาบอดทั้งสองข้าง
            (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
            (๔) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดย ได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิด อันได้กระทำโดยประมาท
            (๕) เป็นข้าราชการหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งมี เงินเดือนและตำแหน่งประจำ นอกจากข้าราชการการเมือง
            (๖) ลักษณะอื่น หากมีกำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
            มาตรา ๙๐ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ หลัก เกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือก ตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
            มาตรา ๙๑ อายุสภาผู้แทนมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่ วันเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก
            มาตรา ๙๒ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน จะกระทำได้ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนแล้ว พระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุระยะเวลารับสมัครผู้สมัครรับเลือก ตั้งและวันเลือกตั้งด้วย ในกรณีการเลือกตั้งทั่วไป ให้กำหนดวัน เลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
            มาตรา ๙๓ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะ ยุบสภาผู้แทนเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งสมาชิกใหม่
            การยุบสภาผู้แทนให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้อง กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ภายในเก้าสิบวัน
            มาตรา ๙๔ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนเริ่มแต่วันเปิด ประชุมรัฐสภาครั้งแรก
            มาตรา ๙๕ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนสิ้นสุดลง เมื่อ
            (๑) ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทน หรือมีการยุบ สภาผู้แทน
            (๒) ตาย
            (๓) ลาออก
            (๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๘๕ หรือมาตรา ๘๘
            (๕) มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๖ (๑) (๒) (๓) หรือ (๕) หรือมาตรา ๘๙ (๑) (๒) (๓) (๕) หรือ (๖)
            (๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาโทษจำคุก เว้นแต่ในความ ผิดอันกระทำโดยประมาท หรือความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือ ความผิดที่มีกำหนดโทษชั้นลหุโทษ
            มาตรา ๙๖ ถ้าตำแหน่งสมาชิกว่างลง เพราะเหตุอื่นใดนอก จากถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทน หรือเมื่อมีการยุบสภา ผู้แทน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกขึ้นแทนภายในเก้าสิบวัน เว้นแต่ อายุของสภาผู้แทนจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
            สมาชิกภาพของสมาชิกผู้เข้ามาแทนนั้นเริ่มแต่วันเข้ารับ หน้าที่ และอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภาที่เหลืออยู่

ส่วนที่ ๔
บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง

            มาตรา ๙๗ สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนย่อมเป็น ผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบ หมายใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดย บริสุทธิ์ใจ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
            มาตรา ๙๘ ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิก สภาผู้แทน ต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
            "ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติ หน้าที่ตามความเห็นของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อประโยชน์ ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ "
            มาตรา ๙๙ วุฒิสภาและสภาผู้แทนแต่ละสภา มีประธาน สภาคนหนึ่งและรองประธานสภาคนหนึ่งหรือสองคน ซึ่งพระ มหากษัตริย์แต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ ตามมติของสภา
            มาตรา ๑๐๐ ประธานและรองประธานวุฒิสภาดำรงตำแหน่ง จนถึงวันก่อนวันเลือกประธานและรองประธานวุฒิสภาใหม่ ซึ่ง จะต้องกระทำเมื่อถึงคราวที่มีการเปลี่ยนสมาชิกกึ่งหนึ่ง
            ประธานและรองประธานสภาผู้แทนดำรงตำแหน่งจนสิ้น อายุของสภา หรือมีการยุบสภา
            ประธานและรองประธานวุฒิสภา และประธานและรอง ประธานสภาผู้แทน ย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระพ้นจาก ตำแหน่งตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อ
            (๑) ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก
            (๒) ลาออกจากตำแหน่ง
            มาตรา ๑๐๑ ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนมี หน้าที่ดำเนินกิจการของสภานั้น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบ รอง ประธานมีหน้าที่ทำกิจการแทนประธานเมื่อประธานไม่สามารถ ปฏิบัติหน้าที่ได้
            มาตรา ๑๐๒ ในเมื่อประธานและรองประธานวุฒิสภาหรือ ประธานและรองประธานสภาผู้แทนไม่อยู่ในที่ประชุม ให้สมาชิก แห่งสภานั้น ๆ เลือกตั้งกันขึ้นเองเป็นประธานในคราวประชุมนั้น
            มาตรา ๑๐๓ การประชุมวุฒิสภาก็ดี การประชุมสภาผู้แทน ก็ดี ต้องมีสมาชิกประชุมไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสามของจำนวน สมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
            มาตรา ๑๐๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๗๕ มาตรา ๑๒๑ มาตรา ๑๔๙ และมาตรา ๑๖๙ การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือ เอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
            สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่ม ขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
            มาตรา ๑๐๕ ในที่ประชุมวุฒิสภาก็ดี ที่ประชุมสภาผู้แทน ก็ดี ที่ประชุมรัฐสภาก็ดี สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใด ๆ ในทาง แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลง คะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิโดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุ ฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้
            เอกสิทธินี้ย่อมคุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงาน การประชุมโดยคำสั่งของสภา และคุ้มครองไปถึงบุคคลซึ่ง ประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความ คิดเห็นในที่ประชุมด้วย
            มาตรา ๑๐๖ สมัยประชุมของวุฒิสภาและสภาผู้แทนย่อม เริ่มต้นและสิ้นสุดลงพร้อมกัน ตามสมัยประชุมของรัฐสภา
            มาตรา ๑๐๗ ในระหว่างที่สภาผู้แทนถูกยุบ จะมีการ ประชุมวุฒิสภามิได้
            มาตรา ๑๐๘ ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภา สมัยหนึ่งหรือหลายสมัยแล้วแต่สภาผู้แทนจะกำหนด การ ประชุมครั้งแรกต้องให้สมาชิกได้มาประชุมภายในสามสิบวัน นับแต่วันเลือกตั้ง
            วันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปี ให้สภาผู้แทนเป็นผู้ กำหนด
            มาตรา ๑๐๙ สมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่ง ๆ ให้มีกำหนด เวลาเก้าสิบวัน แต่พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้า ฯ ให้ขยาย เวลาออกไปก็ได้
            ในระหว่างเวลาดังกล่าวในวรรคหนึ่ง จะโปรดเกล้า ฯ ให้ ปิดประชุมก็ได้
            มาตรา ๑๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรง เปิดและปิดประชุม
            พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำพิธีเปิด ประชุมด้วยพระองค์เอง หรือจะโปรดเกล้า ฯ ให้รัชทายาทซึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้วหรือผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้แทนพระองค์มาทำพิธี ก็ได้
            มาตรา ๑๑๑ เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พระ มหากษัตริย์จะทรงเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัย วิสามัญก็ได้
            มาตรา ๑๑๒ สมาชิกวุฒิและสมาชิกสภาผู้แทนทั้งสอง สภารวมกัน หรือสมาชิกของแต่ละสภา ไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสาม ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอ ให้นำความกราบบังคมทูล เพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศ เรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญก็ได้
            คำร้องขอดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นของสมาชิกทั้งสอง สภาให้ยื่นต่อประธานรัฐสภา ถ้าเป็นของสมาชิกสภาใดให้ ยื่นต่อประธานสภานั้น
            ให้ประธานสภาผู้ได้รับคำร้องขอนำความกราบบังคมทูลและ รับสนองพระบรมราชโองการ
            มาตรา ๑๑๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๑๒ การเรียกประชุม การขยายเวลาประชุม และการปิดประชุมรัฐสภา ให้กระทำโดย พระราชกฤษฎีกา
            มาตรา ๑๑๔ ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับหรือคุม ขังหรือหมายเรียกตัวสมาชิกวุฒสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนไป ทำการสอบสวน ในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือใน กรณีที่จับในขณะกระทำความผิด
            ในกรณีที่มีการจับสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนใน ขณะกระทำความผิด ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็น สมาชิดโดยด่วน และประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกอาจสั่ง ปล่อยผู้ถูกจับให้พ้นจากการคุมขังได้
            มาตรา ๑๑๕ ในกรณีที่มีการฟ้องสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิก สภาผู้แทนในคดีอาญา ไม่ว่าจะได้ฟ้องนอกหรือในสมัยประชุม ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมมิได้ เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก แต่กระนั้นการพิจารณาคดีก็ ต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่สมาชิกผู้นั้นจะมาเข้าประชุม สภา
            การพิจารณาที่ศาลได้กระทำไปก่อนมีคำอ้างว่าจำเลยเป็น สมาชิกของสภาใดสภาหนึ่ง ย่อมเป็นอันใช้ได้
            มาตรา ๑๑๖ ถ้าสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนถูก คุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาอยู่ก่อนสมัยประชุม เมื่อ ถึงสมัยประชุม พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี ต้อง สั่งปล่อยทันที ถ้าหากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้ร้องขอ
            คำสั่งปล่อยตามวรรคหนึ่งให้มีผลบังคับตั้งแต่วันสั่งปล่อย จนถึงวันสุดท้ายแห่งสมัยประชุม
            มาตรา ๑๑๗ ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยคณะ รัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทน แต่ร่างพระราช บัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
            ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน หมายความถึงร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อความต่อไปนี้ทั้งหมด หรือแต่ข้อใด ข้อหนึ่ง กล่าวคือ การตั้งขึ้นหรือยกเลิกหรือลดหรือเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือผ่อนหรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรือ อากร การจัดสรรหรือรับหรือรักษาหรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือ การกู้เงิน หรือการค้ำประกันหรือการใช้เงินกู้ หรือร่างพระราช บัญญัติว่าด้วยเงินตรา
            ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราช บัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของประธานแห่ง สภาที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากคณะรัฐมนตรี สมาชิก วุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้วินิจฉัย
            มาตรา ๑๑๘ ร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี และ ร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทน ให้เสนอต่อสภาผู้แทน ร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกวุฒิสภา ให้เสนอต่อวุฒิสภา
            มาตรา ๑๑๙ เมื่อสภาผู้แทนหรือวุฒิสภาได้พิจารณาร่าง พระราชบัญญัติที่เสนอตามมาตรา ๑๑๘ และลงมติให้ใช้ได้แล้ว ให้สภาผู้แทน หรือวุฒิสภาเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภา หรือสภาผู้แทน แล้วแต่กรณี วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนต้องพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่อีกสภาหนึ่งเสนอมานั้นให้เสร็จภายใน หกสิบวัน แต่ถ้าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวด้วยการเงิน ต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสามสิบวัน ทั้งนี้ เว้นแต่สภาผู้แทนหรือวุฒิสภาที่เสนอร่างพระราชบัญญัติมานั้นจะ ได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นพิเศษ กำหนดวันดังกล่าวให้ หมายถึงวันในสมัยประชุม และให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างพระราช บัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภาหรือสภาผู้แทน แล้วแต่กรณี
            ถ้าวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนไม่ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ให้เสร็จภายในกำหนดเวลาที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ก็ให้ถือว่าวุฒิสภา หรือสภาผู้แทนได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น
            ในการที่สภาผู้แทนเสนอร่างพระราชบัญญัติไปยังวุฒิสภา หรือวุฒิสภาเสนอร่างพระราชบัญญัติไปยังสภาผู้แทน ตามวรรค หนึ่ง ให้ประธานแห่งสภาที่เสนอร่างพระราชบัญญัติไปยังอีกสภา หนึ่งนั้น แจ้งไปตามความเห็นของประธานแห่งสภานั้นด้วย ว่า ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอไปนับเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินหรือไม่ คำแจ้งของประธานแห่งสภาให้ถือเป็นเด็ดขาด
            ในกรณีที่ประธานแห่งสภามิได้แจ้งไป ว่าร่างพระราชบัญญัติ ใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ให้ถือว่าร่าง พระราชบัญญัตินั้นมิใช่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
            มาตรา ๑๒๐ เมื่อวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนได้พิจารณาร่าง พระราชบัญญัติเสร็จแล้ว
            (๑) ถ้าเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนหรือวุฒิสภาที่เสนอ ร่างพระราชบัญญัตินั้นมา ก็ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๗๔
            (๒) ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนหรือวุฒิสภาที่เสนอ ร่างพระราชบัญญัตินั้นมา ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็น ร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนเสนอมา ก็ให้ยับยั้งร่างพระราช บัญญัตินั้นไว้ก่อน และส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนไปยังสภา ผู้แทน ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติ ที่วุฒิสภาเสนอมา ก็ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไป
            (๓) ถ้าแก้ไขเพิ่มเติม ก็ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติตามที่ แก้ไขเพิ่มเติมนั้นไปยังสภาผู้แทนหรือวุฒิสภาที่เสนอร่างพระ ราชบัญญัตินั้นมา แล้วแต่กรณี ในกรณีเช่นว่านี้ ให้สภาทั้งสอง ต่างตั้งบุคคลที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ มีจำนวน เท่ากันตามที่วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ นั้นกำหนด ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พระราชบัญญัตินั้น แล้วให้คณะกรรมาธิการร่วมกันนั้นรายงาน และเสนอร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้ พิจารณาแล้วต่อสภาทั้งสอง ถ้าสภาทั้งสองต่างเห็นชอบด้วยร่าง พระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้วนั้น ก็ ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๗๔ ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็น ชอบด้วย ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติ ของสภาผู้แทน ก็ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน ในกรณี ที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติวุฒิสภา ก็ให้ ร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไป
            คณะกรรมาธิการร่วมกันย่อมมีอำนาจเรียกบุคคลใด ๆ มา แถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในการพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติได้ และเอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๕ นั้น ให้คุ้มครองถึงบุคคลผู้กระทำหน้าที่ตามมาตรานี้ด้วย
            การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมกัน ต้องมีกรรมาธิการ ประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ ประชุม และให้นำข้อบังคับการประชุมปรึกษาของวุฒิสภาใน ส่วนที่เกี่ยวกับกรรมาธิการมาใช้บังคับโดยอนุโลม
            มาตรา ๑๒๑ ร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้โดยบท บัญญัติมาตรา ๑๒๐ นั้น เมื่อเวลาหนึ่งปีได้ล่วงพ้นไปนับแต่วัน ที่วุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัติกลับคืนมายังสภาผู้แทน สภา ผู้แทนอาจยกร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นพิจารณาใหม่ได้ ในกรณี เช่นว่านี้ ถ้าสภาผู้แทนลงมติยืนยันร่างเดิมหรือร่างที่คณะกรรมา ธิการร่วมกันพิจารณาด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งจำนวนสมาชิก ทั้งหมดของสภาแล้ว ก็ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอัน ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และให้ดำเนินการต่อไปตาม มาตรา ๗๔
            ถ้าร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้เป็นร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวด้วยการเงิน สภาผู้แทนอาจยกร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้น พิจารณาใหม่ได้ทันที ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าสภาผู้แทนลงมติยืนยัน ร่างเดิมหรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาด้วยคะแนน เสียงมากกว่ากึ่งจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาแล้ว ก็ให้ถือว่า ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๗๔
            มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่สภาผู้แทนสิ้นอายุหรือมีการยุบสภา ผู้แทน บรรดาร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็น ชอบ หรือที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นชอบด้วย หรือมิได้ พระราชทานคืนมาภายในเก้าสิบวัน ให้เป็นอันตกไป
            มาตรา ๑๒๓ งบประมาณแผ่นดินประจำปีให้ทำเป็น พระราชบัญญัติ ถ้าพระราชบัญญัติออกไม่ทันปีใหม่ ให้ใช้ พระราชบัญญัติงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลาง
            มาตรา ๑๒๔ การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้ อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ เว้นแต่ในกรณีจำเป็น รีบด่วนจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธี การที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นว่านี้ ต้องขออนุมัติจากรัฐสภา ในโอกาสแรกที่พึงกระทำได้
            คำอนุมัติของรัฐสภาให้ทำเป็นพระราชบัญญัติเฉพาะเรื่อง หรือรวมลงไว้ในพระราชบัญญัติโอนเงินในงบประมาณ หรือ พระราชบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติ งบประมาณประจำปีถัดไป
            มาตรา ๑๒๕ วุฒิสภาและสภาผู้แทนมีอำนาจควบคุมราชการ แผ่นดินโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
            มาตรา ๑๒๖ ในที่ประชุมวุฒิสภาหรือสภาผู้แทน สมาชิก ทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานใน หน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้น ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์ สำคัญของแผ่นดิน
            มาตรา ๑๒๗ สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนไม่ต่ำ กว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของแต่ละสภา มีสิทธิ เข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป ในที่ประชุมวุฒิสภา หรือสภาผู้แทน แล้วแต่กรณี เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อ เท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหาร ราชการแผ่นดิน
            ญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่งเป็นของสมาชิกสภาใดให้ยื่นต่อ ประธานสภานั้น และให้ประธานสภาผู้ได้รับญัตติแจ้งไปยัง นายกรัฐมนตรี เพื่อกำหนดเวลาสำหรับการเปิดอภิปรายทั่วไป ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสามสิบวันนับแต่วันที่นายกรัฐมนตรีได้รับแจ้ง แต่คณะรัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ระงับการเปิดอภิปรายทั่วไป นั้นเสียได้ เมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องที่ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยว กับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน
            ในการเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้ สภาจะลงมติใน ปัญหาที่อภิปรายมิได้
            มาตรา ๑๒๘ สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนทั้งสอง สภารวมกันหรือสมาชิกของแต่ละสภา ไม่ต่ำกว่าหนึ่งในห้าของ จำนวนสมาชิก ทั้งหมดของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายตัว หรือทั้งคณะ
            ญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นของสมาชิกของทั้งสอง สภาให้ยื่นต่อประธานรัฐสภา ถ้าเป็นของสมาชิกสภาใดให้ยื่นต่อ ประธานสภานั้น
            การเปิดอภิปรายทั่วไปตามญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้กระทำในที่ประชุมรัฐสภา
            เมื่อการเปิดอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลง โดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่าน ระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไป ให้ที่ประชุมรัฐสภาลงมติ ไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ แต่การลงมติในกรณีเช่นว่านี้ มิให้ กระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุด
            มาตรา ๑๒๙ ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับราชการแผ่นดินที่คณะ รัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภาและ สมาชิกสภาผู้แทน นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอ ให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภาก็ได้ ในกรณีเช่นว่า นี้รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
            มาตรา ๑๓๐ การประชุมวุฒิสภาและสภาผู้แทน ย่อมเป็น การเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของแต่ละสภา แต่หากคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกของแต่ละสภาไม่น้อยกว่า ยี่สิบห้าคนร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ
            มาตรา ๑๓๑ วุฒิสภาและสภาผู้แทนมีอำนาจเลือกสมาชิก ของแต่ละสภา ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจ เลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมา ธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนเรื่องใด ๆ อันอยู่ในวงงานของสภาแล้วรายงานต่อสภา คณะกรรมาธิการที่ กล่าวนี้ย่อมมีอำนาจเรียกบุคคลใด ๆ มาแถลงข้อเท็จจริงหรือ แสดงความคิดเห็นในการที่กระทำหรือเรื่องที่พิจารณาอยู่นั้นได้
            เอกสิทธิที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๕ นั้น ให้คุ้มครองถึง บุคคลผู้กระทำหน้าที่ตามมาตรานี้ด้วย
            มาตรา ๑๓๒ การประชุมคณะกรรมาธิการ ต้องมีกรรมาธิการ ประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ ประชุม
            มาตรา ๑๓๓ วุฒิสภาและสภาผู้แทนมีอำนาจตั้งข้อบังคับ การประชุมปรึกษาของแต่ละสภา เกี่ยวกับการเสนอร่างพระราช บัญญัติ การเสนอญัตติ การประชุม การปรึกษาและกิจการอื่น เพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

ส่วนที่ ๕
การประชุมร่วมกันของสภารัฐสภา

            มาตรา ๑๓๔ ในกรณีต่อไปนี้ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน
            (๑) การให้ความเห็นชอบในการตั้งผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ตามมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙
            (๒) การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อ รัฐสภาตามมาตรา ๒๑
            (๓) การให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติตามมาตรา ๒๓
            (๔) การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติใหม่ตามมาตรา ๗๕
            (๕) การเปิดประชุมรัฐสภาตามมาตรา ๑๑๐
            (๖) การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙
            (๗) การแถลงนโยบายตามมาตรา ๑๔๑
            (๘) การให้ความยินยอมในการประกาศสงครามตาม มาตรา ๑๔๙
            (๙) การให้ความเห็นชอบแก่หนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๕๐
            (๑๐) การแต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๑๖๔
            (๑๑) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๑๖๙
            (๑๒) การตีความรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๑๗๓
            (๑๓) การให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้และเลิกใช้อำนาจ นิติบัญญัติทางคณะรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๗๖ วรรคหนึ่ง
            มาตรา ๑๓๕ ในการประชุมรัฐสภา ให้ใช้ข้อบังคับการ ประชุมปรึกษาของวุฒิสภาโดยอนุโลม
            มาตรา ๑๓๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๗๓ วรรคสอง ในการ ประชุมรัฐสภา ให้นำบทที่ใช้แก่สภาทั้งสองมาใช้บังคับโดย อนุโลม

หมวด ๗
อำนาจบริหาร

            มาตรา ๑๓๗ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คนหนึ่ง และรัฐมนตรีอีกไม่น้อยกว่าสิบห้าคนและไม่มากกว่า สามสิบคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการ แผ่นดิน
            ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
            มาตรา ๑๓๘ ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
            "ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและ ประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยทุกประการ"
            มาตรา ๑๓๙ รัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิก สภาผู้แทนในขณะเดียวกันมิได้
            มาตรา ๑๔๐ รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิเข้าประชุมและแถลงข้อ เท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมวุฒิสภา ที่ประชุม สภาผู้แทน หรือที่ประชุมรัฐสภา แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลง คะแนน
            เอกสิทธิที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๕ ให้นำมาใช้บังคับโดย อนุโลม
            มาตรา ๑๔๑ คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ
            มาตรา ๑๔๒ ในการบริหารราชการแผ่นดิน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีผู้ได้รับแต่งตั้งให้ว่าการกระทรวง ต้องรับผิดชอบต่อ รัฐสภาในหน้าที่ของตน และรัฐมนตรีทุกคนต้องรับผิดชอบ ร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี
            มาตรา ๑๔๓ รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
            (๑) รัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา ๑๒๘
            (๒) สภาผู้แทนสิ้นอายุหรือมีการยุบสภาผู้แทน
            (๓) คณะรัฐมนตรีลาออก
            (๔) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตาม มาตรา ๑๔๔
            คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อ ดำเนินงานไปจนกว่าจะตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่
            มาตรา ๑๔๔ ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ
            (๑) ตาย
            (๒) ลาออก
            (๓) ขาดคุณสมบัติสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนตามมาตรา ๘๘ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ ในมาตรา ๘๖ (๑) (๒) (๓) หรือ (๕) หรือมาตรา ๘๙ (๑) (๒) หรือ (๓)
            (๔) รัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา ๑๒๘
            (๕) มีพระบรมราชโองการตามมาตรา ๑๔๕
            มาตรา ๑๔๕ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจใน การให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรี ถวายคำแนะนำได้
            มาตรา ๑๔๖ ในเหตุฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอัน จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และไม่สามารถจะเรียกประชุมรัฐสภาได้ทันท่วงทีก็ดี เมื่อกรณี เช่นว่านั้นเกิดขึ้นในระหว่างสภาผู้แทนถูกยุบก็ดี พระมหากษัตริย์ จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ ก็ได้
            ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ให้เสนอพระราชกำหนด นั้นต่อรัฐสภาโดยไม่ชักช้า ถ้ารัฐสภาอนุมัติแล้ว ให้พระราช กำหนดนั้นมีผลเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติ ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระทั่งกิจการที่ได้ เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น
            คำอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ทำเป็นพระราชบัญญัติ
            มาตรา ๑๔๗ ในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีความจำเป็นต้อง มีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่น พระราชบัญญัติก็ได้
            พระราชกำหนดที่ได้ตราขึ้นตามวรรคหนึ่ง จะต้องนำเสนอ ต่อรัฐสภาภายในสองวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔๖ วรรคสองและ วรรคสามใช้บังคับโดยอนุโลม
            มาตรา ๑๔๘ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจใน การประกาศใช้กฎอัยการศึกตามลักษณะและวิธีการ ตาม กฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก
            ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะ แห่งเป็นการรีบด่วน เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารย่อมกระทำได้ตาม กฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก
            มาตรา ๑๔๙ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจใน การประกาศสงคราม เมื่อได้รับความยินยอมของรัฐสภาแล้ว
            มติให้ความยินยอมของรัฐสภา ต้องมีเสียงไม่ต่ำกว่าสอง ในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา
            มาตรา ๑๕๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจใน การทำหนังสือสัญญาสันติภาพสงบศึก และทำหนังสือสัญญาอื่น กับนานาประเทศ
            หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือจะ ต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา ต้องได้ รับความเห็นชอบของรัฐสภา
            มาตรา ๑๕๑ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจใน การพระราชทานอภัยโทษ
            มาตรา ๑๕๒ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจใน การถอดถอนฐานันดรศักดิ์และเรียกคืนเครื่องอิสริยาภรณ์
            มาตรา ๑๕๓ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ ในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
            มาตรา ๑๕๔ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอน ข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า
            มาตรา ๑๕๕ การกำหนดคุณสมบัติ การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน และการลงโทษข้าราชการ ให้เป็นไปตามบท บัญญัติแห่งกฎหมาย
            มาตรา ๑๕๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๓๗ และมาตรา ๑๗๐ วรรคสอง บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใด ๆ อันเกี่ยวกับ ราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราช โองการ

หมวด ๘
อำนาจตุลาการ

            มาตรา ๑๕๗ การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของ ศาลโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องดำเนินตามกฎหมายและในพระ ปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
            มาตรา ๑๕๘ บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดย พระราชบัญญัติ
            มาตรา ๑๕๙ การตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดี ใดคดีหนึ่งหรือที่มีข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะ แทนศาล ธรรมดาที่มีอยู่ตามกฎหมายสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้น จะ กระทำมิได้
            มาตรา ๑๖๐ การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยน แปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลหรือวิธี พิจารณา เพื่อใช้แก่คดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะ จะกระทำมิได้
            มาตรา ๑๖๑ ผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาพิพากษา อรรถคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย
            มาตรา ๑๖๒ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ย้ายและถอดถอน ผู้พิพากษา
            มาตรา ๑๖๓ การแต่งตั้ง การย้ายและการถอดถอนผู้ พิพากษา จะต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการก่อน แล้วจึง นำความกราบบังคมทูล
            การเลื่อนตำแหน่งและการเลื่อนเงินเดือนผู้พิพากษา จะ ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ

หมวด ๙
ตุลาการรัฐธรรมนูญ

            มาตรา ๑๖๔ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธาน วุฒิสภา ประธานสภาผู้แทน ประธานศาลฎีกา อธิบดี ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ อธิบดีกรมอัยการ และบุคคลอื่นอีกสี่คน ซึ่งรัฐสภาแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฎหมาย
            ประธานวุฒิสภาเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ
            มาตรา ๑๖๕ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ตามที่บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญนี้ วิธีการพิจารณาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น
            มาตรา ๑๖๖ ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ให้รัฐสภาแต่ง ตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญจากผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันเปิดสมัยประชุมรัฐสภาครั้งแรก
            กำหนดวันดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้หมายถึงวันในสมัยประชุม
            ในการแต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง รัฐสภาจะ แต่งตั้งผู้ที่พ้นจากตำแหน่งให้เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญใหม่อีกได้
            มาตรา ๑๖๗ ตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งรัฐสภาแต่งตั้งพ้นจาก ตำแหน่ง เมื่อ
            (๑) เปิดสมัยประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังจากการเลือกตั้ง ทั่วไป
            (๒) ตาย
            (๓) ลาออก
            (๔) ขาดคุณสมบัติสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนตามมาตรา ๘๘ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๘๖ (๑) (๒) (๓) หรือ (๕) หรือมาตรา ๘๙ (๑) (๒) หรือ (๓)
            มาตรา ๑๖๘ ถ้าตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งรัฐสภา แต่งตั้งว่างลงเพราะเหตุอื่นใด นอกจากถึงคราวออกตามาตรา ๑๖๗ (๑) ให้รัฐสภาแต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญเข้ามาแทน ภายในสามสิบวัน
            กำหนดวันดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้หมายถึงวันในสมัย ประชุม

หมวด ๑๐ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

            มาตรา ๑๖๙ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะกระทำได้ก็ แต่โดยหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
            (๑) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือ จากสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนทั้งสองสภารวมกัน หรือจากสมาชิกของแต่ละสภา ไม่ต่ำกว่าหนึ่งในห้าของจำนวน สมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา
            (๒) ญัตติแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม และให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ
            (๓) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อ และต้องมีเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติม นั้นไม่ต่ำกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้ง สองสภา
            (๔) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณา เรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
            (๕) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้วให้รอไว้ สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สาม ต่อไป
            (๖) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ ใช้วิธีเรียกชื่อ และต้องมีเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้ เป็นรัฐธรรมนูญไม่ต่ำกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ของทั้งสองสภา
            (๗) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวข้างบนนี้แล้ว ให้ นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูนเกล้าฯ ถวาย และให้นำ บทบัญญัติมาตรา ๗๔ และมาตรา ๗๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
            มาตรา ๑๗๐ ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงพระราชดำริเห็นว่า ร่าง รัฐธรรมนูญที่นำขึ้นทูนเกล้า ฯ ถวายตามมาตรา ๑๖๙ กระทบถึง ประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศหรือประชาชน และทรง พระราชดำริเห็นสมควรให้ประชาชนได้วินิจฉัย พระมหากษัตริย์ ย่อมทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะให้ประชาชนทั่วประเทศ ออกเสียงเป็นประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยร่าง รัฐธรรมนูญนั้น
            ในการให้ประชาชนออกเสียงเป็นประชาชาติ จะได้มีประกาศ พระบรมราชโองการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่นำร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นทูนเกล้า ฯ ถวาย และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับ สนองพระบรมราชโองการ
            เมื่อมีประกาศพระบรมราชโองการตามวรรคสอง ให้ตรา พระราชกฤษฎีกากำหนดวันให้ประชาชนออกเสียงเป็นประชามติ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศพระบรมราชโองการ และวัน ออกเสียงประชามติต้องเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
            ในเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจตามมาตรานี้ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๖๙ ( ๗ ) มาใช้บังคับ
            มาตรา ๑๗๑ บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนย่อม มีสิทธิออกเสียงประชามติ
            หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น
            มาตรา ๑๗๒ ในการให้ประชาชนออกเสียงตามมาตรา ๑๗๐ ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ถ้ามีประชามติเห็นชอบด้วย ร่างรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลประชามติ และเมื่อได้ ประกาศรัฐธรรมนูญนั้นในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ ถ้ามีประชามติไม่เห็นด้วยร่างรัฐธรรมนูญ ให้ร่างรัฐธรรมนูญ นั้นตกไป

หมวด ๑๐
บทสุดท้าย

            มาตรา ๑๗๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๗๕ ถ้ามีปัญหาการตี ความรัฐธรรมนูญอันอยู่ในวงงานของวุฒิสภา สภาผู้แทนหรือที่ ประชุมรัฐสภา ให้เป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะตีความ และให้ถือ ว่าการตีความรัฐสภาเป็นเด็ดขาด
            ในการตีความรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ต้องมีสมาชิก ประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา จึงจะ เป็นองค์ประชุม
            มาตรา ๑๗๔ บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความแย้ง หรือขัดต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
            มาตรา ๑๗๕ ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย บังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้อง ด้วยบทบัญญัติมาตรา ๑๗๔ ก็ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดี ไว้ชั่วคราว แล้วส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการ เพื่อคณะ ตุลาการรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย
            คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นเด็ดขาด และให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระทั่งคำพิพากษาของ ศาลอันถึงที่สุดแล้ว
            คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ประกาศในราช กิจจานุเบกษา
            มาตรา ๑๗๖ ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะคับขัน ถึงขนาดอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และ การใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาตามปรกติอาจขัดข้องหรือไม่ เหมาะสมกับสถานการณ์ เมื่อคณะรัฐมนตรีเสนอ รัฐสภาจะมี มติให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางคณะรัฐมนตรี โดยประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราช บัญญัติก็ได้ มติดังกล่าวรัฐสภาจะมีมติเลิกเสียเมื่อใดก็ได้
            หากสถานะสงครามหรือภาวะคับขันดังกล่าวในวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในระหว่างสภาผู้แทนถูกยุบก็ดี หรือไม่สามารถ จะเรียกประชุมรัฐสภาได้ทันท่วงทีก็ดี พระมหากษัตริย์ทรงใช้ อำนาจนิติบัญญัติทางคณะรัฐมนตรีได้ โดยประกาศพระบรม ราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ

บทเฉพาะกาล

            มาตรา ๑๗๗ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนหนึ่งร้อย ยี่สิบคน เมื่อได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนแล้ว ให้เพิ่ม หรือลดจำนวนสมาชิกวุฒิสภาให้มีจำนวนเท่าที่กำหนดใน มาตรา ๗๘ การเพิ่มหรือลดจำนวนสมาชิกวุฒิสภาตามวรรคหนึ่ง ให้ กระทำให้เสร็จก่อนวันเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก ในกรณีเพิ่ม พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งเพิ่ม ในกรณีลด ให้สมาชิก วุฒิสภาพ้นจากสมาชิกภาพเท่าจำนวนที่ลด โดยวิธีจับสลาก
            มาตรา ๑๗๘ ในวาระเริ่มแรกก่อนเปิดประชุมรัฐสภาครั้ง แรกภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนตามมาตรา ๑๘๐ ให้ วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
            มาตรา ๑๗๙ การเรียกประชุมวุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาตาม มาตรา ๑๗๘ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา ภายในสิบห้าวันนับแต่วันแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
            มาตรา ๑๘๐ ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนตาม เกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๓ ให้เสร็จสิ้นภายในสองร้อยสี่สิบวัน นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้
            มาตรา ๑๘๑ ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ใน วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ หรือคณะรัฐมนตรีใหม่หากจะมีขึ้น ภายหลัง เป็นคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินตาม รัฐธรรมนูญนี้
            เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนเข้ารับหน้าที่แล้ว ให้คณะรัฐมนตรี ตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่ง และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔๓ วรรคสอง มาใช้บังคับอนุโลม
            มาตรา ๑๘๒ ในระหว่างวุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาตามมาตรา ๑๗๘ ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุธรณ์ อธิบดีกรมอัยการ และบุคคลอื่นอีกสามคนซึ่งวุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาตามมาตรา ๑๗๘ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฎหมาย ภายในสามสิบวัน นับแต่วันเปิดประชุมรัฐสภาตามมาตรา ๑๗๙
            มาตรา ๑๘๓ บรรดาคำสั่งซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการโดย อ้างมาตรา ๑๗ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ให้คง มีผลใช้บังคับต่อไป

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นายทวี บุณยเกตุ
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

เล่ม ๘๕ ตอนพิเศษ ราชกิจจานุเบกษา ๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๑