พระบรมราชโองการ

พระราชบัญญัติ
รักษาคลอง
รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕)

           มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า การเพาะปลูกก็ดี การค้าขายไปมาก็ดี ในพระราชอาณาเฃตร์นี้ ทางน้ำลำคลองเปนสำคัญ แลในเวลานี้คลองก็มีอยู่แล้วเปนอันมากแต่ชำรุดตื้นเขินไปเสียโดยมาก เหตุเพราะยังมิได้จัดการรักษาให้พอเพียง ทรงพระราชดำริห์จะบำรุงแลรักษาคลองเก่าที่มีอยู่แล้ว แลที่จะขุดขึ้นใหม่ให้เรียบร้อยถาวร เพื่อให้เปนประโยชน์แลสดวกแก่ธุระของราษฎรยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้ดังนี้
           มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่าพระราชบัญญัติรักษาคลองรัตนโกสินทรศก ๑๒๑
           มาตรา ๒ เมื่อจะใช้พระราชบัญญัตินี้สำหรับคลองใดจะได้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา
           (มาตรา ๒ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติรักษาคลอง (ฉะบับที่ ๒)พุทธศักราช.๒๔๘๓]
           มาตรา ๓ เมื่อได้ใช้พระราชบัญญัตินี้ในคลองใดแล้ว ให้ยกเลิกพระราชกำหนดกฎหมายเดิมที่ขัดกับพระราชบัญญัตินี้เสีย มิให้ใช้ในคลองนั้นสืบไป
           มาตรา ๔ ให้เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการมีอำนาจที่จะตั้งเจ้าพนักงานสำหรับรักษาคลองตามพระราชบัญญัตินี้ได้
           มาตรา ๕ ถ้าเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการเห็นว่าคลองใดสมควรจะมีถนนหลวงริมคลองเพื่อให้มหาชนสัญจรไปมา หรือเพื่อเปนทางโยงเรือได้ โดยสดวกฝั่งละเท่าใด ให้เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการมีอำนาจที่จะยกเว้นที่ริมคลองนั้นแต่ฝั่งเดียวก็ดี หรือทั้ง ๒ ฝั่งก็ดี ไว้เปนถนนหลวงได้ตามเห็นสมควร จะกำหนดเนื้อที่ยืนขึ้นไปเท่าใด ถ้าและที่ที่ต้องการตามความในมาตรานี้เปนที่มีเจ้าของถือกรรมสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนแล้ว ก็ให้เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการมีอำนาจที่จะจัดซื้อที่นั้นได้อย่างซื้อที่ทำการหลวง เช่นที่ทำทางรถไฟเปนต้น
           มาตรา ๖ ถ้าหากว่าสามารถจะทำได้อย่างอื่นแล้ว ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเอาหยากเยื่อฝุ่นฝอยหรือสิ่งโสโครกเททิ้งในคลอง แลห้ามมิให้เททิ้งสิ่งของดังกล่าวมาแล้วลงในทางน้ำลำคู ซึ่งเลื่อนไหลมาลงคลองได้ ถ้าผู้ใดกระทำผิดต่อมาตรานี้ ให้ปรับผู้นั้นไม่เกิน ๒๐ บาท ฤาจำคุกไม่เกินเดือนหนึ่ง ฤาทั้งปรับแลจำทั้งสองสถาน
           มาตรา ๗ การที่จะพาสัตว์พาหนะ คือ ช้าง, ม้า, โค, กระบือข้ามคลองนั้น ให้ขึ้นลงได้ที่ท่าซึ่งกำหนดไว้ให้เปนที่สำหรับข้ามสัตว์พาหนะ ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดพาสัตว์พาหนะขึ้นลงในคลองนอกจากท่าข้ามเปนอันขาด ถ้าผู้ใดกระทำผิดต่อมาตรานี้ผู้นั้นมีโทษ ให้ปรับผู้นั้นรายตัวสัตว์พาหนะ เปนเงินไม่เกินตัวละ ๑๐ บาท
           มาตรา ๘ ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดละเลยปล่อยให้สัตว์พาหนะมาทำแปลงในถนนหลวง ให้ปรับผู้นั้น ๆ รายตัวสัตว์เปนเงินไม่เกินตัวละ ๑ บาท
           มาตรา ๙ ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดกระทำให้คลองและฝั่งคลอง หรือถนนหลวงเสียไปด้วยประการใด ๆ ถ้าผู้ใดกระทำผิดต่อมาตรานี้ ให้ปรับผู้นั้นไม่เกิน ๒๐ บาท ฤาจำคุกไม่เกินเดือนหนึ่ง ฤาทั้งปรับแลจำด้วยทั้งสองสถาน แลต้องทำสิ่งซึ่งเสียหายให้คืนดีด้วยอีกโสด ๑
           มาตรา ๑๐ ถ้าคลองใดได้จัดการซ่อมแซม แลรักษาให้เปนการสดวกแก่การไปมาของมหาชนแล้ว ให้เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการมีอำนาจที่จะตั้งกฎข้อบังคับกำหนดพิกัดอัตรา เก็บค่ารักษาคลองนั้น ๆ จากเรือแพที่อาไศรย์ในคลองนั้นได้ตามเห็นสมควร แลให้มีอำนาจที่จะเลิกหรือจะเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตรานั้นเมื่อใดอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร
           มาตรา ๑๑ ให้เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการมีอำนาจที่จะตั้งกฎข้อบังคับในการที่จะทำสะพานข้ามคลอง หรือสะพานท่าน้ำในคลอง แลกำหนดขนาดแพที่จะล่องในคลอง แลกำหนดให้จอดเรือแพในลำคลอง เพื่ออย่าให้กีดขวางแก่การไปมาของมหาชนได้
           มาตรา ๑๒ ให้เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ มีอำนาจที่จะตั้งกฎข้อบังคับสำหรับรักษาการให้เปนไปตามพระราชบัญญัตินี้
           บรรดากฎข้อบังคับเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้งขึ้นประกอบกับพระราชบัญญัตินี้ เมื่อได้ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้ได้เหมือนเปนส่วนหนึ่งแห่งพระราชบัญญัตินี้
           มาตรา ๑๓ ให้เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการเปนเจ้าน่าที่รักษาแลจัดการให้เปนไปตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี

(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๙ หน้า ๙ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕)

             หมายเหตุ
             เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติขึ้นเป็นส่วนราชการระดับกรมในสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายพลังงานของประเทศ ในการนี้สมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติการพลังงานแห่งชาติ พ.ศ.๒๔๙๖ เพื่อให้สอดคล้องกัน โดยเปลี่ยนให้สำนักงานพลังงานแห่งชาติ เป็นกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน และกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานให้รับผิดชอบเฉพาะในด้านการค้นคว้า พัฒนา กำกับดูแลและปฏิบัติการเกี่ยวกับการผลิต การส่งและการจำหน่ายพลังงาน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
             ประกาศมา ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๒๑ เปนวันที่ ๑๒๓๙๐ ในรัชกาลปัจจุบัน